ควทซ์เกอซาคท์

ช่องยูทูบ

ควทซ์เกอซาคท์ (เยอรมัน: Kurzgesagt; แปลว่า "กล่าวโดยย่อ") เป็นสตูดิโอออกแบบและแอนิเมชันจากเยอรมนีที่ก่อตั้งโดยฟิลลิพ เด็ทเมอร์ ช่องยูทูบของสตูดิโอมุ่งเน้นเกี่ยวกับเนื้อหาแอนิเมชันเพื่อการศึกษาแบบมินิมอล[3] โดยใช้รูปแบบสามมิติที่เรียบง่าย วิดีโอของช่องมักกล่าวถึงเนื้อหาวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, การเมือง, ปรัชญา และจิตวิทยา[4] แต่ละวิดีโอจะมีความยาวประมาณ 4–16 นาที ซึ่งบรรยายโดยสตีฟ เทย์เลอร์ และมีหลายวิดีโอที่ปรากฏในชองภาษาเยอรมันที่มีชื่อว่า ดิงเงอแอร์แคลร์ท – ควทซ์เกอซาคท์ (Dinge Erklärt – Kurzgesagt)[5]

ควทซ์เกอซาคท์ – อินอะนัตเชลล์
คําขวัญอินอะนัตเชลล์ (กล่าวโดยย่อ)
ก่อตั้ง9 กรกฎาคม 2013; 10 ปีก่อน (2013-07-09)
ผู้ก่อตั้งฟิลลิพ เด็ทเมอร์
ประเภทบริษัทเอกชน
วัตถุประสงค์ศึกษาบันเทิง
ที่ตั้ง
เจ้าของฟิลลิพ เด็ทเมอร์
พนักงาน (ค.ศ. 2022)
53[2]
เว็บไซต์kurzgesagt.org
ข้อมูลยูทูบ
ปีที่มีการเคลื่อนไหวค.ศ. 2013–ปัจจุบัน
ประเภท
  • แอนิเมชัน
  • การศึกษา
  • วิทยาศาสตร์
  • ปรัชญา
จำนวนผู้ติดตาม18.7 ล้าน
จำนวนผู้เข้าชม2.0 พันล้าน
ผู้ติดตาม 100,000 คน 2014
ผู้ติดตาม 1,000,000 คน 2015
ผู้ติดตาม 10,000,000 คน 2019
ยอดผู้ติดตามและผู้เข้าชม ณ วันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2022

ด้วยจำนวนผู้ติดตามมากกว่า 18 ล้านคน และวิดีโอมากกว่า 150 วิดีโอ ทำให้ช่องในภาษาอังกฤษของสตูดิโอติดอันดับช่องที่มีผู้ติดตามมากเป็นอันดับ 338 ของโลกในวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2022[6]

ศัพทมูลวิทยา แก้

ชื่อของช่องมาจากวลีภาษาเยอรมันว่า "ควทซ์เกอซาคท์" (kurz-gesagt, ออกเสียง: [ˈkʊɐ̯ts gəˈzaːkt])[7] ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่า "กล่าวโดยย่อ" ความหมายเทียบเท่าของวลีในภาษาอังกฤษอาจแปลได้เป็น 'in a few words' หรือ 'in a nutshell' โดยความหมายหลังถูกใช้เป็นชื่อของช่องในฉบับภาษาอังกฤษ[8]

ประวัติ แก้

 
Patrizia Mosca หัวหน้าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการที่ควทซ์เกอซาคท์ กล่สวปราศรัยในดิอินเทอร์เน็ตเดย์ในสต็อกโฮล์ม ค.ศ. 2018

ช่องควทซ์เกอซาคท์สร้างขึ้นในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 หลังจากฟิลลิพ เด็ทเมอร์ ผู้ก่อตั้งช่อง จบจากมหาวิทยาลัยมิวนิก สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ได้ไม่นาน[9]

ใน ค.ศ. 2015 ควทซ์เกอซาคท์ได้รับหน้าที่สร้างวิดีโอเกี่ยวกับจุดจบของโรคให้แก่มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์[10]

จากนีันในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2020 ได้มีการเผยแพร่วิดีโอเกี่ยวกับการระบาดทั่วของโควิด-19 ที่มีชื่อว่า The Coronavirus Explained & What You Should Do ในสามช่อง โดยเล่าถึงร่างกายมนุษย์ว่าตอบสนองต่อโควิด-19 อย่างไร และมาตรการหลี่กเลี่ยง SARS-CoV-2 ได้ผลเพียงใด[11] วิดีโอนี้เผยแพร่ในช่วงแรกของการแพร่ระบาดทั่ว และมีข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสและมาตรการป้องกันที่จำเป็นที่เข้าถึงได้ กระจ่าง และน่าเชื่อถือ วิดีโอฉบับภาษาอังกฤษมีผู้เข้าชมมากกว่า 87 ล้านครั้ง ทำให้เป้นวิดีโอที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดของช่อง[12] งานวิจัยที่เผยแพร่ใน Visual Resources กล่าวถึงวิดีโอว่า "เป็นตัวอย่างคำอธิบายที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระบวนการทางชีววิทยาของการติดเชื้อโควิด" และ "ได้รวมการพรรณนาที่น่าอัศจรรย์ในผ่านการสื่อข้อความในลักษณะตรงไปตรงมามากขึ้น"[13]

นอกจากรายได้จากผู้อุปถัมภ์แล้ว ควทซ์เกอซาคท์ในสาขาภาษาเยอรมันได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากเครือข่าย Funk ของ ARD และ ZDF ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2017[14][15][16]

ควทซ์เกอซาคท์ได้รับรางวัลหลายรายการ โดยใน ค.ศ. 2019 ควทซ์เกอซาคท์กลายเป็นช่องเยอรมันช่องแรกที่มีผู้ติดตามมากกว่า 10 ล้านคนบนยูทูบ[17] และในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2020 Marques Brownlee ยูทูบเบอร์คนหนึ่ง ยกย่องควทซ์เกอซาคท์ด้วยรางวัล "Streamys Creator Honor" ของเขาในสตรีมมีอะวอร์ดครั้งที่ 10[18]

ความน่าเชื่อถือของวิดีโอ แก้

แม้ว่ามีหลายวิดีโอของควทซ์เกอซาคท์ได้รับเสียงชื่นชมจากความน่าเชื่อถือและผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริง[19] บางผลงานในช่วงแรกได้รับเสียงวิจารณ์ ใน ค.ศ. 2016 สมาคมห้องสมุดศิลปะแห่งอเมริกาเหนือวิจารณ์สตูดิโอถึงการขาดแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและการให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพเป็นครั้งคราว และใช้ภาษาที่เร้าอารมณ์[20] ใน ค.ศ. 2019 ควทซ์เกอซาคท์ได้เผยแพร่วิดีโอที่ว่า ถึงแม้ในตอนนี้เราได้ส่งข้อคิดเห็นทั้งหมดไปให้ผู้เชี่ยวชาญไปตวรจสอบข้อเท็จจริง ในอดีตไม่ได้ทำเช่นนั้นตลอด และกล่าวเพิ่มเติมว่าช่องนี้ได้ลบสองวิดีโอใน ค.ศ. 2015 ที่ไม่ผ่านมาตรฐานปัจจุบัน หนึ่งในนั้นมีชื่อว่า "การเสพติด" (Addiction)[7] ซึ่งเป็นหนึ่งในวิดีโอยอดนิยมที่สุดในเวลานั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นหนึ่งในวิดีโอที่ถูกวิจารณ์ก็ตาม[21] วิดีโอถูกกล่าวหาว่าตั้งข้อสรุปที่ทำให้เข้าใจผิดจากการทดลอง Rat Park[21] ควทซ์เกอซาคท์ยอมรับว่าตนได้เสนอข้อคิดเห็นเดียวเป็นข้อเท็จจริง และไม่ได้พิจารณาทฤษฎีอื่นในเรื่องนั้นด้วย[7]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Jackson, Ryan (April 28, 2021). "The 'ultimate guide to black holes' will spaghettify your brain". CNET. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 29, 2021.
  2. "About". Kurzgesagt (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ June 17, 2022.
  3. Lucas, Terry; Abd Rahim, Ruslan (March 15, 2017). "The Similarities and Nuances of Explicit Design Characteristics of Well-Received Online Instructional Animations". Animation (ภาษาอังกฤษ). SAGE Publishing. 12 (1): 80–99. doi:10.1177/1746847717690671. ISSN 1746-8477.
  4. Dubovi, Ilana; Tabak, Iris (2020-10-01). "An empirical analysis of knowledge co-construction in YouTube comments". Computers & Education (ภาษาอังกฤษ). Elsevier. 156: 7. doi:10.1016/j.compedu.2020.103939. ISSN 0360-1315.
  5. "Dinge Erklärt – Kurzgesagt - YouTube". www.youtube.com. สืบค้นเมื่อ 2022-03-19.
  6. "Kurzgesagt – In a Nutshell". Social Blade. สืบค้นเมื่อ September 1, 2021.
  7. 7.0 7.1 7.2 "Can You Trust Kurzgesagt Videos?", Kurzgesagt channel on YouTube (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ June 26, 2021
  8. Holgate, Matilda (2020). "5 YouTube channels to keep you learning". University of Canberra. สืบค้นเมื่อ October 2, 2020.
  9. "Youtube: Kurzgesagt – In a Nutshell knackt als erster deutscher Kanal die 10-Millionen-Marke". t3n.de (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ November 3, 2019.
  10. "OPP1139276". www.gatesfoundation.org (ภาษาอังกฤษ). 2001-01-01. สืบค้นเมื่อ 2021-03-14.
  11. "A Look at How the Virus that Causes COVID-19 Infects People". Nerdist.
  12. "Video explainer on the coronavirus has more than 17.5 million views". CochraneToday.ca.
  13. Ehrlich, Nea (2020-07-02). "Viral Imagery: The Animated Face of Covid-19". Visual Resources. Routledge. 36 (3): 247–261. doi:10.1080/01973762.2021.1960777. ISSN 0197-3762.
  14. Germany, Braunschweiger Zeitung, Braunschweig (2020-11-18). "funk-Format "Kurzgesagt" fragt: "Brauchen wir Atomkraft, um den Klimawandel zu stoppen?"". www.braunschweiger-zeitung.de (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-22. สืบค้นเมื่อ 2020-11-21.
  15. Fehrensen, Täubner; Täubner, Mischa. "Acht Minuten Welterklärung - brand eins online". brandeins (ภาษาเยอรมัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2021. สืบค้นเมื่อ August 4, 2021.
  16. "So hat Kurzgesagt-Gründer Philipp Dettmer mit Erklärvideos eine Milliarde Views gemacht". Daily (ภาษาเยอรมัน). 2020-06-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-11-21.
  17. Weil, Andrew (December 5, 2019). "YouTube's 2019 Rewind focuses on the basics after 2018 video fiasco". Wusa9. สืบค้นเมื่อ February 27, 2020.
  18. Hale, James (December 12, 2020). "Here Are Your 2020 Streamy Award Winners". Tubefilter.
  19. Humprhies, Suzanne (January 9, 2021). "What We're Watching: Kurzgesagt Explores Big Questions with Bite-Size Videos". Review Geek (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2021.
  20. Gumb, Lindsey (April 2016). "Multimedia Technology Review — Kurzgesagt". Art Libraries Society of North America. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 15, 2021.
  21. 21.0 21.1 Stenn, Lili (March 14, 2019). "YouTuber Coffee Break Accuses Kurzgesagt of Being Untrustworthy, Founder Responds". Rogue Rocket (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 23, 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้