คลองพระยาสมุทร (หรือเรียกว่า คลองนิยมยาตรา โดยเฉพาะช่วงกลางคลองและปลายคลอง) เป็นคลองแยกจากคลองประเวศบุรีรมย์ไปบรรจบคลองฉะบังและคลองต้นโพธิ์ มีความยาว 7.2 กิโลเมตร[1] ระยะทางส่วนใหญ่ของคลองเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ กับอำเภอบ้านโพธิ์และอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อราว พ.ศ. 2430–2435 พระยาสมุทบุรานุรักษ์ (สิน) ผู้ว่าราชการเมืองสมุทปราการและเมืองฉะเชิงเทรา ได้เป็นแม่กองดำเนินการขุดคลองนี้ขึ้นโดยขอแรงประชาชนทั่วไปมาช่วยขุดและใช้เวลาขุดนานถึง 3 ปี เมื่อแล้วเสร็จจึงชักชวนประชาชนจากบ้านบางพระ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และชาวมอญจากบ้านบางเหี้ย บางเพรียง และคลองด่านที่ต้องการหาที่ทำการเกษตรแหล่งใหม่ที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์เข้ามาตั้งหลักปักฐาน[2]

บริเวณริมคลองพระยาสมุทรแต่เดิมมีชาวมอญอาศัยอยู่กันมาก มีวัดมอญคือ วัดพิมพาวาส (เหนือ) และวัดพิมพาวาส (ใต้)

อ้างอิง แก้

  1. ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล. "นิเวศวิทยากับประวัติการพัฒนาที่ดินบริเวณทุ่งรังสิต" (PDF). p. 106.
  2. "ประวัติความเป็นมา". องค์การบริหารส่วนตำบลคลองนิยมยาตรา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-21. สืบค้นเมื่อ 2022-08-21.