คนทีเขมา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Lamiales
วงศ์: Lamiaceae
สกุล: Vitex
สปีชีส์: V.  negundo
ชื่อทวินาม
Vitex negundo
L.
ชื่อพ้อง
  • Vitex cannabifolia Siebold & Zucc.
  • Vitex incisa Lam.
  • Vitex incisa var. heterophylla Franch.
  • Vitex negundo var. heterophylla (Franch.) Rehder

คนทีเขมา (/คนทีขะเหฺมา/, ชื่อวิทยาศาสตร์: Vitex negundo) เป็นพืชในวงศ์กะเพรา ลักษณะเป็นไม้พุ่มกึ่งผลัดใบสูงประมาณ 3–6 เมตร ลำต้นสีเทาปนน้ำตาล ตามกิ่งก้านมีขนสีขาวสั้น ๆ ปกคลุม ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือออกเรียงตรงข้าม มีใบย่อย 5 ใบ ขนาด 1–3 × 4–10 เซนติเมตร ใบย่อยลักษณะรูปหอก ปลายใบยาวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือหยัก ดอกสีขาวแกมม่วงอ่อน ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็กมีจำนวนมาก กลีบดอกมี 5 กลีบ เชื่อมติดกันที่โคน มีเกสรเพศผู้ 4 อัน ออกดอกตลอดปี ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ทรงกลมหรือรูปไข่กลับ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 มิลลิเมตร สีน้ำตาล ภายในมี 1 เมล็ด[1][2] ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ปักชำหรือตอนกิ่ง[3]

คนทีเขมามีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตะวันออกถึงเอเชียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน[4] นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเนื่องจากใบและดอกมีกลิ่นหอม โดยปลูกบนดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ความชื้นพอสมควร[5] ใบมีสรรพคุณแก้หวัดและเจ็บคอ ดอกแก้ท้องเสีย ผลขับเสมหะ รากแก้ลมและขับเหงื่อ[6][7]

อ้างอิง แก้

  1. "สมุนไพรไม้เป็นยา: "คนทีเขมา" สมุนไพรเพื่อสตรี ช่วยให้เลือดลมดี ผิวพรรณผุดผ่อง". ผู้จัดการออนไลน์. June 3, 2015. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020.
  2. "คนทีเขมา (Vitex negundo L.)". Klong Phai Botanical Garden. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020.
  3. "คนทีเขมา พืชศักดิ์สิทธิ์พิชิตโรคภัย". มติชนสุดสัปดาห์. June 14, 2017. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020.
  4. "Vitex negundo L. - Plants of the World Online". Kew Science. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020.
  5. "'คนทีเขมา' ไม้ประดับเป็นยา". คมชัดลึกออนไลน์. January 8, 2013. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020.
  6. "คนทีเขมา (Vitex negundo)". ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020.
  7. "สมุนไพรมหิดล: คนทีเขมา". มติชนสุดสัปดาห์. June 24, 2016. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ คนทีเขมา
  •   ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Vitex negundo ที่วิกิสปีชีส์