คตินิยมการมีส่วนร่วม
คตินิยมการมีส่วนร่วม (อังกฤษ: activism) ประกอบด้วยความพยายามที่จะส่งเสริม ขัดขวาง ควบคุม หรือแทรกแซง การปฏิรูป ทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ หรือสิ่งแวดล้อม โดยมีความปรารถนาที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน รูปแบบของการมีส่วนร่วมมีตั้งแต่การประกาศ (รวมถึงการเขียนจดหมายถึงหนังสือพิมพ์) การร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ การดำเนินการหรือมีส่วนสนับสนุนการ รณรงค์ทางการเมือง การอุปถัมภ์ (หรือการคว่ำบาตร) ธุรกิจต่าง ๆ และรูปแบบการเคลื่อนไหวเชิงแสดงออก เช่น การชุมนุม การเดินขบวนบนท้องถนน การหยุดงาน การนั่งประท้วง หรือการอดอาหารประท้วง
การมีส่วนร่วมสามารถดำเนินการได้ในแบบวันต่อวันในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย รวมถึงผ่านการสร้างสรรค์งานศิลปะ (artivism) การแฮ็กคอมพิวเตอร์ (hacktivism) หรือเพียงแค่การเลือกใช้จ่ายเงิน (economic activism) ตัวอย่างเช่น การปฏิเสธที่จะซื้อเสื้อผ้าหรือสินค้าอื่น ๆ จากบริษัทเพื่อประท้วงการเอารัดเอาเปรียบคนงาน โดยบริษัทนั้นอาจถือเป็นการว่ามีส่วนร่วมใด ๆ อย่างไรก็ตาม คำดังกล่าวโดยทั่วไปจะหมายถึงรูปแบบของการกระทำร่วมกันซึ่งบุคคลจำนวนมากประสานงานกัน[1] การกระทำร่วมกันที่มีจุดมุ่งหมาย เป็นระเบียบและยั่งยืน ตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่ง ที่เรียกว่า การเคลื่อนไหวทางสังคม[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ Tarrow, Sidney (1998). Power in Movement: Social Movements and Contentious Politics (2nd ed.). Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 9781139076807. OCLC 727948411.
- ↑ Goodwin, Jeff; Jasper, James (2009). The Social Movements Reader: Cases and Concepts (2nd ed.). Wiley-Blackwell. ISBN 9781405187640.