ข้อตกลงเขตแดนทางทะเลของสหภาพโซเวียต–สหรัฐ

65°30′00″N 168°58′37″W / 65.50000°N 168.97694°W / 65.50000; -168.97694

ภาพร่างเขตแดนทางทะเล
ภาพร่างเขตแดนทางทะเล

เขตแดนทางทะเลของรัสเซีย–สหรัฐ (อังกฤษ: Russia–United States maritime boundary) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1990 หรือ ข้อตกลงเขตแดนทางทะเลของสหรัฐ/สหภาพโซเวียต (อังกฤษ: USA/USSR Maritime Boundary Agreement)[1] (เนื่องจากรัสเซียประกาศตัวเป็นผู้สืบทอดของ สหภาพโซเวียต) วุฒิสภาสหรัฐให้คำแนะนำและยินยอมให้สัตยาบันตั้งแต่แรกในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1991 แต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติจากสภาดูมารัสเซีย เส้นแบ่งนี้เรียกอีกอย่างว่า เส้นเบเกอร์-เชวาร์ดนาดเซ (อังกฤษ: Baker-Shevardnadze line) หรือ ข้อตกลงเบเกอร์-เชวาร์ดนาดเซ (อังกฤษ: Baker-Shevardnadze agreement) ตามชื่อเจ้าหน้าที่ที่ลงนามในข้อตกลง ได้แก่ เอดูอาร์ด เชวาร์ดนัดเซ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหภาพโซเวียตและเจมส์ เบเกอร์ เลขาธิการแห่งรัฐของสหรัฐ [2] ในแนวคิดทั่วไป เส้น 1990 อ้างอิงตามอนุสัญญาสหรัฐ–รัสเซีย 1867 ที่ว่าด้วยการซื้ออะแลสกาของสหรัฐ จากพิกัด 65° 30' N, 168° 58' 37" W ขอบเขตทางทะเลทอดตัวไปทางเหนือตามเส้นเมริเดียนที่ 168° 58' 37" W ผ่านช่องแคบแบริ่งและทะเลชุกชี ลงสู่มหาสมุทรอาร์กติกระยะทางเท่าที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาต จากจุดเดียวกันไปทางทิศใต้ เขตแดนทอดไปตามเส้นที่ระบุโดยตำแหน่งของภูมิศาสตร์ทางทะเลที่ระบุในข้อตกลง[1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Depts/los/LEGISLATIONANDTREATIES/PDFFILES/TREATIES/USA-RUS1990MB.PDF 1990 USSR/USA Maritime Boundary Agreement
  2. "European press review", September 4, 2002, BBC News (สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน ค.ศ. 2009)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้