ข่าวลวงเรื่องไดไฮโดรเจนมอนอกไซด์
ไดไฮโดรเจนมอนอกไซด์ (อังกฤษ: dihydrogen monoxide: DHMO) เป็นชื่อวิทยาศาสตร์หนึ่งของน้ำ ใช้ในการหลอกลวงหรือล้อเลียนทางวิทยาศาสตร์ เพื่อแสดงว่าข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์หรือเพียงด้านเดียวสามารถสร้างความกลัวอย่างผิดๆได้อย่างไร การหลอกลวงนี้เริ่มต้นโดย Eric Lechner, Lars Norpchen และ Matthew Kaufman ในปี พ.ศ. 2532 ปรับปรุงโดย Craig Jackson ในปี พ.ศ. 2537 และเป็นที่กล่าวถึงในปี พ.ศ. 2540 จากการที่ Nathan Zohner วัย 14 ปีสามารถรวบรวมรายชื่อของนักเรียนมัธยมที่ต้องการแบนสารนี้ และสรุปลงในโครงงานที่ชื่อว่า "How Gullible Are We?" (เราโดนหลอกง่ายแค่ไหน?) [1]
การหลอกลวงนี้กล่าวถึงผลกระทบด้านลบของน้ำ เช่นการจมน้ำ และ การกัดกร่อน ไดไฮโดรเจนมอนอกไซด์มีความหมายถึงสารที่มีไฮโดรเจนสองอะตอมและออกซิเจนหนึ่งอะตอม (H2O)
ชื่อทางเคมีอื่น ๆ ที่ถูกใช้เป็นข่าวลวงเช่น กรดไฮดรอกซิล (hydroxyl acid) และ ไฮโดรเจนออกไซด์ (hydrogen oxide) ก็หมายถึงน้ำเช่นกัน
อ้างอิง
แก้- ↑ Dihydrogen Monoxide จาก Urban Legends Reference Pages เรียกข้อมูลวันที่ 2007-10-30 (อังกฤษ)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- DHMO.org – หน่วยงานวิจัย DHMO (อังกฤษ)
- ข้อความที่ใช้ในการหลอกลวง เก็บถาวร 2008-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- การตอบสนองจากนักศึกษาวิทยาลัย เก็บถาวร 1997-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- Friends of Hydrogen Hydroxide – ข้อความส่งเสริมการใช้ DHMO (อังกฤษ)
- บทความ About.com (อังกฤษ)
- บทความ How Gullible Are We? (อังกฤษ)
- ภาพยนตร์ Dihydrogen Monoxide ของ Kate Dalgleish และ Mikael Sydor เก็บถาวร 2009-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)