ขุชชุตตรา เป็นอัครอุบาสิกาในพระโคตมพุทธเจ้า ในอรรถกถาของพระบาลีปิฎกระบุว่าพระนางขุชชุตตราเป็นนางรับใช้ในพระนางสามาวตี หนึ่งพระสนมของกษัตริย์อุเทนะแห่งโกสัมพี เนื่องจากพระนางสามาวดีไม่สามารถเดินทางไปเข้าเฝ้าเพื่อสดับฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าได้ พระนางได้มอบหมายให้นางขุชชุตตราเข้ารับฟังและนำกลับมาถ่ายทอดต่อให้กับพระนางและสตรีอีก 500 นางในราชสำนัก เนื่องจากนางขุชชุตตราเป็นผู้มีสติปัญญาดี จากการฟังธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์นั้นทำให้นางขุชชุตตรา พระนางสามาวตี และนางรับใช้อีก 500 คนในราชสำนัก เข้าถึงมรรคผลบรรลุโสดาบัน[1] ในอังคุตตรนิกาย 1.14 วรรค 260[2] ระบุว่าพระพุทธเจ้าทรงประกาศให้นางขุชชุตตราเป็นอุบาสิกาผู้มีปัญญาเลิศที่สุด

ขุชชุตตรา
คำนำหน้าชื่ออัครอุปัฏฺฐิกาอุบาสิกา
ส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
ศาสนาศาสนาพุทธ
อาชีพนางรับใช้ของพระนางสามาวตี
ตำแหน่งชั้นสูง
ครูพระโคตมพุทธเจ้า

ในขุททกนิกาย มีคัมภีร์เล่มอิติวุตตกะ เป็นเนื้อหารวมคำสอนอย่างสั้น 112 บทที่ระบุว่ามาจากการจดจำของนางขุชชุตตรา[1]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Ireland (1999); Thanissaro (2001).
  2. AN 1.14 (trans. by Sister Upalavanna, retrieved 9 December 2008 from "Metta Net" at http://www.metta.lk/tipitaka/2Sutta-Pitaka/4Anguttara-Nikaya/Anguttara1/1-ekanipata/014-Etadaggapali-e.html เก็บถาวร 18 มิถุนายน 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน).

บรรณานุกรม

แก้
  • ภิกษุโพธิ (แปล.) (2000). The Connected Discourses of the Buddha: A Translation of the Samyutta Nikaya. Boston:Wisdom Publications. ISBN 0-86171-331-1.
  • Ireland, John (trans. & intro.) (1999). Itivuttaka: The Buddha's Sayings (excerpts). Article's "Introduction" is available on-line at http://www.accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.intro.irel.html#intro.
  • ฐานิสโรภิกษุ (แปล. & คำนำ.) (2001). Itivuttaka: This Was Said by the Buddha. "Translator's Introduction" is available on-line at http://www.accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.intro.than.html#intro.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้