กูฟีย์เทียม (อังกฤษ: Pseudo-Kufic) หรือ กูเฟสก์ (อังกฤษ: Kufesque; ลวดลายกูฟีย์) เป็นรูปแบบการตกแต่งที่ปรากฏใช้ในยุคกลางและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา[1] ประกอบด้วยการลอกเลียนแบบอักษรอาหรับกูฟีย์หรือบางครั้งเป็นอักษรอาหรับลายตวัดในบริบทที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาหรับ หรือโดยทั่วไปใช้เรียกการเลียนแบบศิลปะอาหรับในศิลปะของยุโรป[2] กูฟีย์เทียมสามารถพบได้เป็นพิเศษในศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาโดยเฉพาะในภาพเขียนที่แสดงแม่พระมารีย์พรหมจารีย์ กูฟีย์เทียมถือเป็นส่วนหนึ่งของอิทธิพลของศิลปะอิสลามต่อศิลปะตะวันตก

ซ้าย: อักษรกูฟีย์เทียมบนขลิบริมของผ้าคลุมแม่พระมารีย์ จาก Pala Barbadori ภาพเขียนปี 1438 โดย ฟิลิปโป ลิปปี ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์
ขวาบน: รายละเอียดขลิบริมของผ้าคลุมแม่พระมารีย์ จาก Saint Louis de Toulouse ภาพเขียนปี 1450 โดยอันโตนิโอ วิวารินี, ขวาล่าง: รายละเอียดขลิบริมของผ้าคลุมแม่พระมารีย์ จาก Virgin of Humility ภาพเขียนปี 1440 โดย เยคอโป เบลลินี ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์

ตัวย่างของกูฟีย์เทียมในศิลปะตะวันตกส่วนใหญ่มาจากศตวรรษที่ 10-15 โดยมักปรากฏในรูปอักษรสิจิตรกูฟีย์เทียมตามบนแถบเพื่อตกแต่งในสถาปัตยกรรมของกรีกไบแซนไทน์ นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 11 ถึงกลางศตวรรษที่ 12 ไปจนถึงแถบประดับตกแต่งล้อมรอบวัตถุทางศาสนาในฝรั่งเศสและเยอรมนี[3] และบนวงแหวนเหนือศีรษะกับกรอบของภาพในจิตรกรรมคริสเตียน[4]

อ้างอิง แก้

  1. Encyclopaedia Britannica. Beautiful Gibberish: Fake Arabic in Medieval and Renaissance Art
  2. Mack, p.51
  3. Mack, p.68
  4. "Beautiful Gibberish: Fake Arabic in Medieval and Renaissance Art". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-05-30.

บรรณานุกรม แก้