เอเมทุลลาฮ์ ราบีอา กึลนุช ซุลตัน (ตุรกีออตโตมัน: جولنوس امت الله رابعه سلطان; ตุรกี: Emetullah Rabia Gülnuş Sultan; ค.ศ. 1642[1] – 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1715) เป็นฮาเซกีซุลตันในเมห์เหม็ดที่ 4 สุลต่านออตโตมัน และวาลีเดซุลตันของมุสทาฟาที่ 2 กับอาห์เหม็ดที่ 3 พระราชโอรสทั้งสองของพระองค์ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 พระองค์กลายเป็นหญิงที่มีอำนาจและทรงอิทธิพลที่สุดในจักรวรรดิออตโตมัน[2][3]

กึลนุช ซุลตัน
พระสาทิสลักษณ์หลังสวรรคต วาดในคริสต์ศตวรรษที่ 19
วาลีเดซุลตันแห่งจักรวรรดิออตโตมัน
ดำรงพระยศ6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1695 – 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1715
ฮาเซกีซุลตันแห่งจักรวรรดิออตโตมัน
(พระมเหสี)
ดำรงพระยศ4 สิงหาคม ค.ศ. 1683 – 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1687
ประสูติป. ค.ศ. 1642
เรธิมโน ครีต สาธารณรัฐเวนิส
Eumenia Voria
สวรรคต6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1715 (72–73 ปี)
คอนสแตนติโนเปิล จักรวรรดิออตโตมัน (ปัจจุบันคืออิสตันบูล ประเทศตุรกี)
ฝังพระศพมัสยิดเยนีวาลีเด อิสลตันบูล
คู่อภิเษกเมห์เหม็ดที่ 4
พระราชบุตร
พระนามเต็ม
ตุรกี: Emetullah Rabia Gülnuş Sultan
ตุรกีออตโตมัน: :جولنوس امت الله رابعه سلطان
ราชวงศ์ออตโตมัน
ศาสนาอิสลาม, อดีตกรีกออร์ทอดอกซ์

ชีวิตช่วงต้น แก้

กึลนุช ซุลตันเสด็จพระราชสมภพใน ค.ศ. 1642[4] ที่เมืองเรธิมโน ครีตในสมัยสาธารณรัฐเวนิส เดิมพระองค์มีพระนามว่า Eumenia Voria (Ευμενία Βόρια) และมีเชื้อสายกรีก เป็นบุตรีของนักบวชประจำคริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์[5][a] พระองค์ถูกฝ่ายออตโตมันจับกุมในช่วงที่มีการรุกรานครีตใน ค.ศ. 1645[5]

สวรรคต แก้

 
ข้างในโดมของมัสยิดเยนีวาลีเดที่อึสคือดาร์ อิสตันบูล

กึลนุช ซุลตันเสด็จสวรรคตในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1715 ที่อิสตันบูลในรัชสมัยอาห์เหม็ดที่ 3 พระราชโอรสของพระองค์ ไม่นานก่อนจุดเริ่มต้นยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองและความสงบสุขที่นักประวัติศาสตร์ตุรกีเรียกว่า ยุคทิวลิป พระศพของพระองค์ถูกฝังในสุสานที่เปิดโล่งใกล้มัสยิดที่พระองค์ทิ้งมรดกให้สร้างที่อึสคือดาร์ในอิสตันบูลฝั่งอานาโตเลีย ซึ่งมีชื่อว่ามัสยิดเยนีวาลีเด[6]

พระโอรสธิดา แก้

พระองค์สมรสกับเมห์เหม็ดที่ 4 และมีพระโอรส 2 พระองค์ และพระธิดา 4 พระองค์:[7]

พระโอรส แก้

พระธิดา แก้

หมายเหตุ แก้

  1. ^ อย่างไรก็ตาม Sakaoglu รายงานว่าพระองค์อยู่ในตระกูลเวนิสที่มีชื่อว่า Verzini ที่ตั้งถิ่นฐานในเมืองนี้[8]

อ้างอิง แก้

  1. Verlag, K.G. Saur – Çıkar, Jutta R. M. (2004). Türkischer biographischer Index. Saur. p. 417. ISBN 3-598-34296-9. Rabia Gülnus; Emetullah Rabia Gülnûş Sultan as wefl (c. 1642 (1052) - 6 November 1715){{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. "Sultan II. Mustafa Han". Republic of Turkey Ministry of Culture and Tourism. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 13, 2014. สืบค้นเมื่อ 2009-02-06.
  3. "Sultan III. Ahmed Han". Republic of Turkey Ministry of Culture and Tourism. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 13, 2014. สืบค้นเมื่อ 2009-02-06.
  4. M. Orhan Bayrak (1998). İstanbul'da gömülü meşhur adamlar: VIII. yüzyıl-1998. Mezarlıklar Vakfı. p. 178.
  5. 5.0 5.1 Baker 1993, p. 146.
  6. Sakaoğlu, Necdet (2008). Bu mülkün kadın sultanları: Vâlide sultanlar, hâtunlar, hasekiler, kadınefendiler, sultanefendiler. pp. 375–6. ISBN 978-9-753-29623-6.
  7. Mehmed IV, in The Structure of the Ottoman Dynasty; D.A. Alderson
  8. Sakaoglu, Necdet (1999). Bu Mülkün Sultanlari. Oglak. pp. 303, 315. ISBN 975-329-299-6. His mother was harem girl Rabia Gulniş who was of Venetian Verzini family settled in the city of Resmo in Crete.

ข้อมูล แก้

  • Baker, Anthony E. (1993). The Bosphorus. Redhouse Press. p. 146. ISBN 975-413-062-0.
  • Gordon, Matthew S.; Hain, Kathryn A. (2017). Concubines and Courtesans: Women and Slavery in Islamic History. Oxford University Press. ISBN 978-0-190-62218-3.