กี่ต๋อง (จีน: 童乩; พินอิน: tóngjī) คือ คนทรงในความเชื่อของจีน[1] โดยธรรมเนียมของร่างทรงของเทพเจ้าจีนซึ่งจะลงมาประทับร่างม้าทรงเฉพาะทุก ๆ เทศกาลกินเจหรือในโอกาสสำคัญต่าง ๆ ตามแต่เทพเจ้าที่ประจำร่างม้าทรงนั้นจะลงมาประทับร่าง (กี่ต๋อง) แต่ก็มิใช้ว่าจะลงมาประทับได้ทุกวัน เชื่อกันว่าการเข้าทรงของพระจีนเป็นการแสดงอิทธิฤทธิ์ของพระจีนและสามารถปัด เป่าสิ่งชั่วร้าย บันดาลความสุขให้แก่ผู้เคารพเลื่อมใสพระจีน

กี่ต๋อง
ม้าทรง
(ร่างทรง)
ภาษาจีน童乩
ความหมายตามตัวอักษรร่างทรง
ม้าทรง
กี่ต๋อง
(ม้าทรงพระจีน)

และเชื่อกันว่าผู้ที่เป็นม้าทรง (กี่ต๋อง) ของพระจีนได้ เป็นผู้มีบุญที่เทพเจ้าเลือกแล้ว แม้จะอยู่ไกลเพียงใด แต่อาการของคนจะเป็นม้าทรงจะออกมาเอง ชีวิต ของคนที่เป็นม้าทรงจะเกี่ยวข้องกับศาลเจ้าไปโดยปริยาย ม้าทรงแต่ละคนจะต้องมีพี่เลี้ยงอย่าน้อยสองถึงสามคน คือคนดูแลในเรื่องต่าง ๆ เช่น การใส่ต้อ การนำไปทำพิธีต่าง ๆ ถืออาวุธหรือสิ่งของ และม้าทรงจะต้องถือศีลกินเจ ไปทำความสะอาดศาลเจ้า เวลาศาลเจ้ามีงานวันเกิด (แซยิด) เทพเจ้าต่าง ๆ ก็ต้องเข้าร่วมงานไม่จำเป็นต้องไปประทับทรงแค่เข้ารวมในงานก็พอ และที่สำคัญม้าทรงมีหน้าที่เป็นตัวแทนของเทพเจ้าในการช่วยเหลือมนุษย์ เช่น คนป่วย คนมีเคราะห์ คนที่มีปัญหาทางจิตใจ ชีวิต ครอบครัว โดยรวมการเข้าทรงของ พระจีน จะมาช่วยขจัดปัดเป่าทุกข์ร้อน รักษาโรคภัยไข้เจ็บ บันดาลความเจริญรุ่งเรืองในการประกอบอาชีพ และอำนวยความเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้ที่เคารพเลื่อมใส

การแสดงอิทธิฤทธิ์ของพระจีน เมื่อพระจีนเข้าทรงแล้ว บางครั้งจะคว้าอาวุธ คู่มือ มีทั้งดาบจีน ง้าว ขวาน มีด เหล็กแหลม ลูกตุ้มเหล็ก เป็นต้น ออกมาร่ายรำ ฟาดฟัน ทิ่มแทงร่างกายตนเอง เช่น แก้ม ลิ้น แขน หน้าอก หลัง สีข้าง ตัดลิ้นออกมาเขียนยันต์เขียนฮู้ให้ผู้เคารพเลื่อมใสเก็บไว้เป็นสิริมงคล การกระทำของพระจีนม้าทรงจะไม่รู้สึกตัวไม่มีความเจ็บปวดซึ่งหลังจากพระ จีนออกจากการเข้าทรงแล้ว ร่างม้าทรงจะมีร่องรอยบาดแผลอยู่เพียงเล็กน้อย ซึ่งจะหายไปเองโดยใช้ยันต์ปิดไว้ ร่องรอยที่แก้มก็เพียงเอาเถ้าขี้ธูปอุดรูไว้ก็จะหายสนิท

การรับปรึกษาแก่ผู้เลื่อมใส โดยผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจะเล่าเรื่องของตนซึ่งพระจีนก็จะให้คำปรึกษา แนะนำ ชี้แนะวิธีปฏิบัติตามแก่กรณี ระหว่างทำพิธี จะมีการประโคม "ตัวก้อ" กลองใหญ่ "กิมก้อ" กลองเล็ก และโกก้อ "กลอง แห่ขบวน" และจุดประทัดอึกทึกเร้าใจอยู่ตลอดเวลา การออกจากร่างม้าทรง เมื่อเสร็จภารกิจ หรือตามเวลาอันสมควร พระจีนก็จะออกจากร่างม้าทรง โดยมีพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือ[2][3][4]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "嵇童. 「童乩研究」的历史回顾" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-15. สืบค้นเมื่อ 2007-07-13.
  2. http://poneybee.blogspot.com/2011/12/blog-post_17.html
  3. http://www.tal.univ-paris3.fr/plurital//travaux-2014-2015/projets-2014-2015-S1/Kanchanawira_%20KYI_%20Diop/PROJET-MOT-SUR-LE-WEB/PAGES-ASPIREES/5-18.html
  4. https://www.matichonweekly.com/religion/article_485862