การแยกทัศนคติออกเป็นสองขั้ว

การแยกทัศนคติออกเป็นสองขั้ว[1][2] (อังกฤษ: Attitude polarization, belief polarization, polarization effect) หรือ ทัศนคติที่สุดโต่งเพิ่มขึ้น เป็นปรากฏการณ์ที่เรื่องที่โต้แย้งกันสุดโต่งมากขึ้นเมื่อฝ่ายต่าง ๆ พิจารณาหลักฐานในประเด็น นี่เป็นผลอย่างหนึ่งของความเอนเอียงเพื่อยืนยัน (confirmation bias) ซึ่งเป็นความโน้มเอียงที่จะหาและตีความหลักฐานตามเลือกเพื่อจะเสริมความเชื่อหรือทัศนคติของตน[3] และถ้าเป็นหลักฐานที่คลุมเครือ แต่ละฝ่ายอาจจะตีความว่าสนับสนุนทัศนคติของตน ทำให้จุดยืนในข้อขัดแย้งห่างกันมากขึ้นแทนที่จะลดลง[4]

ปรากฏการณ์นี้พบในประเด็นปัญหาที่เร้าอารมณ์ เช่นประเด็นทางการเมือง[5] แต่ประเด็นต่าง ๆ โดยมากจะไม่มีปัญหานี้[6] ในประเด็นที่เกิดปัญหานี้ เพียงแค่คิดถึงประเด็นโดยไม่ต้องพิจารณาหลักฐานใหม่ ก็ทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้แล้ว[6] มีกระบวนการเปรียบเทียบทางสังคมที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์นี้ คือ ความเชื่อจะเพิ่มขึ้นเพราะคนรอบ ๆ ตัวกล่าวซ้ำคำพูดของแต่ละคน ยืนยันกันและกันเอง[7] นี้เป็นประเด็นน่าสนใจในสาขาจิตวิทยา สังคมศาสตร์[8] และปรัชญา[9]

งานวิจัยทางจิตวิทยา แก้

เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 นักจิตวิทยาได้ทำงานศึกษาจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับด้านต่าง ๆ ของปรากฏการณ์นี้

ผลของความคิดที่มีก่อนต่อหลักฐานที่พิจารณาภายหลัง แก้

มีงานศึกษาที่สำคัญในเรื่องนี้ในปี ค.ศ. 1979[4] นักวิจัยเลือกกลุ่มชนสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งเห็นด้วยกับโทษประหารชีวิตในระดับสูง และอีกกลุ่มหนึ่งไม่เห็นด้วยในระดับสูง เบื้องต้น นักวิจัยวัดระดับความเห็นที่ผู้ร่วมการทดลองมี หลังจากนั้นก็จะแบ่งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ และให้ดูแผ่นกระดาษแผ่นหนึ่งใน 2 แผ่น แต่ละแผ่นแสดงผลงานวิจัยที่ไม่เหมือนกัน เช่น

โครเนอร์และฟิลลิปส์ (1977) เปรียบเทียบอัตราการฆ่าคนสำหรับปีก่อนและหลังจากการออกฎหมายโทษประหารชีวิตในมลรัฐ 14 รัฐ (ในประเทศสหรัฐอเมริกา) ในรัฐ 11 รัฐจาก 14 รัฐ อัตราการฆ่าคนลดลงหลังจากการออกฎหมาย งานวิจัยนี้สนับสนุนว่าโทษประหารชีวิตมีผลช่วยป้องกัน (การฆ่าคน)[10]

หรือว่า

ปาล์เมอร์และแครนดัลล์ (1977) เปรียบเทียบอัตราการฆ่าคนในมลรัฐติดกัน 10 คู่ที่มีกฎหมายโทษประหารชีวิตต่างกัน ในคู่ 8 จาก 10 คู่ อัตราการฆ่าคนสูงกว่าในรัฐที่ลงโทษประหารชีวิต งานวิจัยนี้คัดค้านโทษประหารชีวิตว่ามีผลช่วยป้องกัน (การฆ่าคน)[10]

หลังจากนั้น นักวิจัยก็ถามผู้ร่วมการทดลองถึงระดับความเชื่อของตน เกี่ยวกับผลการป้องกันการฆ่าคนของการลงโทษประหารชีวิต และในตอนนี้ ก็จะถามถึงอิทธิพลที่ผลงานวิจัยที่อ่านมีต่อทัศนคติของตน

ในขั้นต่อไป ก็จะให้ข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับงานวิจัยที่อ่าน รวมทั้งรายละเอียด บทวิจารณ์ และการโต้ตอบบทวิจารณ์ของผู้ทำงานวิจัย จากนั้น ก็จะวัดจุดยืนทางทัศนคติของผู้ร่วมการทดลองอีก แล้วถามผู้ร่วมการทดลองถึงคุณภาพงานวิจัย และอิทธิพลของงานวิจัยต่อความเชื่อของตน แล้วในที่สุด ก็จะเริ่มการทดลองใหม่สำหรับทุกคน แต่จะใช้แผ่นกระดาษและข้อมูลรายละเอียดที่สนับสนุนจุดยืนตรงกันข้ามกับที่เห็นในตอนแรก

นักวิจัยพบว่า คนมักจะเชื่องานวิจัยที่สนับสนุนความเห็นเดิมของตนว่า ทำได้ดีกว่า และน่าเชื่อถือกว่า งานวิจัยที่ไม่สนับสนุน[11] ไม่ว่าจะมีจุดยืนไหนในเบื้องต้น ก็จะยึดจุดยืนนั้นมั่นคงยิ่งขึ้นหลังจากที่อ่านงานวิจัยที่สนับสนุน นักวิจัยชี้ว่า มีเหตุผลอยู่ที่คนจะไม่จับผิดงานวิจัยที่สนับสนุนจุดยืนของตน แต่ดูจะไร้เหตุผลที่กำลังทัศนคติของตนเพิ่มขึ้นอีกอย่างมีนัยสำคัญ เมื่ออ่านหลักฐานที่สนับสนุน[12] และเมื่ออ่านงานวิจัยทั้งที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนความเห็นของตน คนมักจะยืดถือทัศนคติดั้งเดิมของตนนั่นแหละมั่นคงกว่าก่อนที่จะได้รับข้อมูลเพิ่ม[13] แต่ว่า ผลงานนี้ควรจะเข้าใจในฐานะที่มีปัญหาหลายอย่างในการดำเนินงาน รวมทั้งความจริงว่า นักวิจัยเปลี่ยนการวัดค่าผลตัวแปร (เปลี่ยน scaling) ดังนั้น การวัดค่าทัศนคติที่เปลี่ยนไปจึงใช้ไม่ได้ และว่า การวัดการแยกออกเป็นสองขั้วใช้การระบุค่าทัศนคติเองของผู้ร่วมการทดลอง (subjective) คือเป็นการประเมินแบบอัตวิสัย ไม่ใช่เป็นการวัดความเปลี่ยนแปลงโดยตรง[14]

บทบาทของความเป็นสมาชิกในกลุ่ม แก้

นักจิตวิทยาสังคมได้ทำงานศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติที่มีต่อตนเอง ต่อกลุ่ม และต่อจุดยืนที่กลุ่มนั้นยอมรับหรือปฏิเสธ เมื่อผู้ร่วมการทดลองเห็นตัวเองเป็นสมาชิกในกลุ่ม[15] ซึ่งสาระสำคัญสั้น ๆ ก็คือ งานวิจัยเสนอว่า คนมักจะยอมรับจุดยืนที่ตนเชื่อว่าเป็นของกลุ่ม แม้ว่าตัวเองจะพึ่งเข้ากลุ่มและแม้ว่า ตนจะยังไม่ได้พบกับสมาชิกใด ๆ ในกลุ่มเลย[16]

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "attitude", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑, ทัศนคติ (ภาษาศาสตร์, รัฐศาสตร์)
  2. "polarization", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑, การแยกออกเป็นสองขั้ว (รัฐศาสตร์)
  3. Cordelia 2006a
  4. 4.0 4.1 Lord, Ross & Lepper 1979
  5. Taber, Charles S.; Lodge, Milton (July 2006). "Motivated Skepticism in the Evaluation of Political Beliefs". American Journal of Political Science. Midwest Political Science Association. 50 (3): 755–769. doi:10.1111/j.1540-5907.2006.00214.x. ISSN 0092-5853.
  6. 6.0 6.1 Kuhn, Deanna; Joseph Lao (March 1996). "Effects of Evidence on Attitudes: Is Polarization the Norm?". Psychological Science. American Psychological Society. 7 (2): 115–120. doi:10.1111/j.1467-9280.1996.tb00340.x.
  7. Brauer, Mark J.; Judd, Charles Mosley; Gliner, M D (1995). "The effects of repeated expressions on attitude polarization during group discussions". Journal of Personality and Social Psychology. 68 (6): 1014–1029. doi:10.1037/0022-3514.68.6.1014. PMID 7608855.
  8. Baldassarri & Bearman 2006
  9. Kelly, Thomas (2008). "Disagreement, Dogmatism, and Belief Polarization". Journal of Philosophy. 105 (10): 611–633. doi:10.5840/jphil20081051024.
  10. 10.0 10.1 Lord, Ross & Lepper 1979, p. 2100
  11. Lord, Ross & Lepper 1979, pp. 2102, 2105–6
  12. Lord, Ross & Lepper 1979, pp. 2106–7
  13. Lord, Ross & Lepper 1979, pp. 2105–6
  14. Lord, Ross & Lepper 1979, p. 2101n1
  15. Cooper, Kelly & Weaver 2004, p. 252 ff
  16. Mackie, DM; Cooper, J (1984). "Group polarization: The effects of group membership". Journal of Personality and Social Psycholog. 46: 575–585.

แหล่งข้อมูล แก้

  • Baldassarri, Delia; Bearman, Peter (2006). "Dynamics of Political Polarization". Working Paper No. 2006. ISERP, Columbia University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-09. สืบค้นเมื่อ 2016-01-22.
  • Cooper, Joel; Kelly, Kimberly A; Weaver, Kimberlee (2004). Brewer, Marilynn B; Hewstone, Miles (บ.ก.). Attitudes, Norms and Social Groups. Social Cognition. Blackwell Publishing. ISBN 978-1-4051-1070-9.
  • Fine, Cordelia (2006a). A Mind of its Own - How Your Brain Distorts and Deceives. W. W. Norton. ISBN 0-393-06213-9.
  • An excerpt from Fine 2006a Fine, Cordelia (2006-01-26). "The Vain Brain". The Guardian.
  • Fine, Cordelia (2007-10-01). "Empathy on Counterpoint". ABC Radio National.
  • Lord, Charles; Ross, Lee; Lepper, Mark (1979). "Biased Assimilation and Attitude Polarization: The Effects of Prior Theories on Subsequently Considered Evidence". Journal of Personality and Social Psychology. 37 (11): 2098–2109. doi:10.1037/0022-3514.37.11.2098.
  • Sunstein, Cass (2002). "The Law of Group Polarization". The Journal of Political Philosophy. 10 (2): 175–195.