การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2565

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2565 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ (นายก อบจ. กาฬสินธุ์) ครั้งที่ 5 สืบเนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลอุธรณ์ที่ระบุว่าการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2563 มิได้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์เที่ยงธรรม

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2565

← พ.ศ. 2563 14 สิงหาคม พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2569 →

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์
ลงทะเบียน778,788
ผู้ใช้สิทธิ433,983
(55.73%; ลดลง 5.23%)
  First party Second party Third party
 
ผู้สมัคร เฉลิมขวัญ หล่อตระกูล ชานุวัฒน์ วรามิตร เขมจิรา อนันทวรรณ
พรรค เพื่อไทย อิสระ อิสระ
คะแนนเสียง 249,093 150,443 13,784
% 60.27 36.40 3.33

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ก่อนการเลือกตั้ง

ชานุวัฒน์ วรามิตร
อิสระ

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์หลังการเลือกตั้ง

เฉลิมขวัญ หล่อตระกูล
เพื่อไทย

การสมัครรับเลือกตั้งมีขึ้นระหว่างวันที่ 4-8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 มีผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งสิ้น 3 คน ได้แก่ ชานุวัฒน์ วรามิตร อดีตนายก อบจ. กาฬสินธุ์คนล่าสุด ไม่สังกัดพรรค เฉลิมขวัญ หล่อตระกูล ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย และเขมจิรา อนันทวรรณ ไม่สังกัดพรรค[1]

การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้สังเกตการณ์จากสื่อหลายสำนัก เพราะแม้จะเป็นการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น แต่ ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ แกนนำคนสำคัญของพรรคเพื่อไทยเดินทางไปปราศัยหาเสียงด้วยตนเอง[2] การขึ้นป้ายหาเสียงที่มีภาพของ แพทองธาร ชินวัตร บุตรสาวของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร พร้อมกับสโลแกน "เลือกนายก อบจ. กาฬสินธุ์ จาก พรรคเพื่อไทยให้ชนะขาด"[3]

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า เฉลิมขวัญ หล่อตระกูล จากพรรคเพื่อไทย ได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลาย เหนือกว่า ชานุวัฒน์ วรามิตร ด้วยคะแนนเสียงรวมกว่า 60 เปอร์เซ็นต์[4][5]

ที่มา

แก้

สืบเนื่องจากการที่ศาลอุธรณ์ภาค 4 ได้มีพิพากษาว่าการกระทําของ ชานุวัฒน์ วรามิตร (ดำรงตำแหน่งนายก อบจ. กาฬสินธุ์ขณะนั้น) ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 65 วรรค 2 จากกรณีที่มีทีมงานผู้ช่วยหาเสียงโพสต์เฟซบุ๊กประกาศเชิญชวนผู้คนให้มาเอาป้ายหาเสียงไปใช้ประโยชน์ก่อนวันเลือกตั้ง จึงมีผลให้ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ที่ชานุวัฒน์ วรามิตร ได้รับคะแนนสูงสุด มิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม จึงมีคำสั่งให้มีการจัดเลือกตั้งนายก อบจ.กาฬสินธุ์ ขึ้นใหม่[6]

ผลการเลือกตั้ง

แก้
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2565
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
เพื่อไทย เฉลิมขวัญ หล่อตระกูล (2) 249,093 60.27 +15.58
อิสระ ชานุวัฒน์ วรามิตร (1)* 150,443 36.40 –15.50
อิสระ เขมจิรา อนันทวรรณ (3) 13,784 3.33
ผลรวม 413,320 100.00
บัตรดี 413,320 95.24
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 9,724 2.24
บัตรเสีย 10,940 2.52
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 433,984 55.73
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 778,788 100.00
เพื่อไทย ได้ที่นั่งจาก อิสระ
คะแนนเสียง
เฉลิมขวัญ
  
60.27%
ชานุวัฒน์
  
36.40%
เขมจิรา
  
3.33%

อ้างอิง

แก้
  1. "บรรยากาศการรับสมัครเลือกตั้งนายก อบจ.วันแรกที่ จ.กาฬสินธุ์ เป็นไปอย่างคึกคัก". kalasin.prd.go.th.
  2. "'ณัฐวุฒิ'ลุยกาฬสินธุ์ ช่วย'ไข่มุก เฉลิมขวัญ'หาเสียงชิงเก้าอี้นายก อบจ". www.naewna.com. 2022-08-10.
  3. "ถล่มทลาย "ไข่มุก" เป็นนายก อบจ.กาฬสินธุ์ คะแนน 249,093 ทิ้งห่างคู่แข่ง". SiamRath. 2022-08-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-26. สืบค้นเมื่อ 2022-09-26.
  4. พิราบข่าวกาฬสินธุ์ (2022-08-15). "ไข่มุกในนามพรรคเพื่อไทยชนะใส! คะแนนทิ้งห่างคู่แข่งเกือบ 1 แสนคะแนน ว่าที่นายก อบจ.หญิง อายุน้อยที่สุดในกาฬสินธุ์". กาฬสินธุ์นิวส์ดอทคอม l Kalasinnews.com.
  5. "PR.Kalasin ประชาสัมพันธ์จังหวัดกาฬสินธุ์". www.facebook.com.
  6. "จัดเลือกตั้งใหม่! ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาใบเหลืองนายก อบจ.กาฬสินธุ์ โพสต์แจกป้ายหาเสียง". mgronline.com. 2022-06-23.