การเฝ้ายามกลางคืน

การเฝ้ายามกลางคืน (ดัตช์: De Nachtwacht, อังกฤษ: The Night Watch) หรือ กองทหารรักษาการณ์เขตที่สองภายใต้บังคับบัญชาของร้อยเอกฟรันส์ บันนิง โกก (Militia Company of District II under the Command of Captain Frans Banninck Cocq)[1] เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนผ้าใบที่วาดโดยแร็มบรันต์ จิตรกรชาวดัตช์ในปี ค.ศ. 1642 ภาพนี้เป็นหนึ่งในชุดสะสมของพิพิธภัณฑ์อัมสเตอร์ดัม ปัจจุบันถูกจัดแสดงที่ริกส์มิวเซียมในกรุงอัมสเตอร์ดัม

การเฝ้ายามกลางคืน
ดัตช์: De Nachtwacht
ศิลปินแร็มบรันต์
ปีค.ศ. 1642 (1642)
สื่อจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ
ขบวนการบารอก, จิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์
มิติ363 cm × 437 cm (142.9 in × 172.0 in)
สถานที่พิพิธภัณฑ์อัมสเตอร์ดัมยืมถาวรจากริกส์มิวเซียม อัมสเตอร์ดัม
เว็บไซต์Amsterdam Collection online

ราวปี ค.ศ. 1638–1639 แร็มบรันต์ได้รับการว่าจ้างจากฟรันส์ บันนิง โกก นายกเทศมนตรีเมืองอัมสเตอร์ดัม และทหารรักษาการณ์ 17 นายให้วาดภาพหมู่เพื่อใช้ประดับในงานเลี้ยงที่ศูนย์บัญชาการ Kloveniersdoelen เป็นเงิน 1600 กิลเดอร์[2] แร็มบรันต์วาดภาพนี้เสร็จในปี ค.ศ. 1642 การเฝ้ายามกลางคืน เป็นภาพกองทหารรักษาการณ์ นำโดยบันนิง โกก (ชุดดำ สายสะพายสีแดง) และร้อยโทวิลเลิม ฟัน เรยเตินบืร์ช (ชุดเหลือง สายสะพายสีขาว) มีขนาดเกือบเท่าคนจริง ภาพนี้ถูกจัดแสดงในโถงใหญ่ที่ Kloveniersdoelen ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่ศาลากลางของกรุงอัมสเตอร์ดัมในปี ค.ศ. 1715 และภาพถูกตัดออกบางส่วน เมื่อนโปเลียนยึดครองเนเธอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1810 ภาพถูกย้ายไปไว้ที่คฤหาสน์ Trippenhuis ซึ่งนโปเลียนมีรับสั่งให้นำกลับมาไว้ที่ศาลากลางเช่นเดิม เมื่อการยึดครองสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1813 ภาพถูกนำกลับไปไว้ที่คฤหาสน์ Trippenhuis ซึ่งต่อมากลายเป็นที่ตั้งของสถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์เนเธอร์แลนด์ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1885 การเฝ้ายามกลางคืน ถูกนำไปจัดแสดงที่ริกส์มิวเซียมจนถึงปัจจุบัน[3]

การเฝ้ายามกลางคืน เป็นหนึ่งในผลงานของแร็มบรันต์ที่เป็นที่รู้จักดีที่สุด และเป็นหนึ่งในภาพวาดที่โดดเด่นของยุคทองของเนเธอร์แลนด์[4] มีการใช้เทคนิคที่เรียกว่า tenebrism ที่ใช้แสงเงาช่วยให้ภาพดูสมจริง พร้อมทั้งเพิ่มความเป็นนาฏกรรมและสื่ออารมณ์ได้มากยิ่งขึ้น[5] ในบรรดาบุคคล 34 คนในภาพ มีเพียง 18 คนที่มีตัวตนอยู่จริง นอกเหนือจากนั้นเป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่แร็มบรันต์ใช้อุปมาถึงกองทหาร[6]

อนึ่ง ภาพคัดลอกของ การเฝ้ายามกลางคืน โดยแคร์ริต ลันเดนส์ ที่แสดงขนาดเดิมของภาพ ถูกจัดแสดงอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติ ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ[7]

อ้างอิง

แก้
  1. Militia Company of District II under the Command of Captain Frans Banninck Cocq เก็บถาวร 2014-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at rijksmuseum.nl. The original Dutch: Schutters van wijk II onder leiding van kapitein Frans Banninck Cocq
  2. Stanska, Zuzanna (July 8, 2019). "15 Things You May Not Know About The Night Watch by Rembrandt". DailyArtMagazine.com. สืบค้นเมื่อ August 4, 2019.
  3. "Rembrandt van Rijn's The Night Watch" (PDF). Mupart. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-04. สืบค้นเมื่อ August 4, 2019.
  4. "Dutch Golden Age Painting". WorldAtlas.com. สืบค้นเมื่อ August 4, 2019.
  5. "Rembrandt van Rijn's 'The Night Watch', A Masterpiece with a Violent History". Sotheby. สืบค้นเมื่อ August 4, 2019.
  6. Farthing, Stephen (2016). 1001 Paintings You Must See Before You Die. London, Great Britain: Octopus Publishing Group. p. 251. ISBN 9781844039203.
  7. "The Company of Captain Banning Cocq ('The Nightwatch')". Nationalgallery.org.uk. สืบค้นเมื่อ 2013-02-19.

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Bikker, Jonathan (2013). The Night Watch. Amsterdam: Rijksmuseum. ISBN 978-90-71450-86-0.
  • Müller, Jürgen (2015). Der sokratische Künstler. Studien zu Rembrandts Nachtwache. Leiden: Brill. pp. 226–308. ISBN 978-90-04-28525-5.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้