การเดินขบวนวันจันทร์ในเยอรมนีตะวันออก

การเดินขบวนวันจันทร์ เมื่อ พ.ศ. 2532/2533 (ค.ศ. 1989/1990) ในเมืองไลพ์ซิจ ประเทศเยอรมนีตะวันออก เป็นชุดของการประท้วงทางการเมืองอย่างสงบจำนวนหลายครั้ง เพื่อประท้วงรัฐบาลเยอรมนีตะวันออก

การเดินขบวนเริ่มต้นหลังจากการสวดมนต์เพื่อสันติภาพกับบาทหลวง Christian Führer ที่โบสถ์นีโคไล และขยายจนเต็ม Karl Marx Platz ใจกลางเมือง ที่อยู่ใกล้ ๆ หลังจากที่ทราบว่าโบสถ์สนับสนุนท่าทีของพวกเขา ชาวเยอรมันตะวันออกจำนวนมากที่ต้องการออกไปจากประเทศก็ได้เข้าร่วมในสนามของโบสถ์ และการเดินขบวนอย่างสงบก็ได้เริ่มขึ้น เพื่อเรียกร้องสิทธิ เช่น อิสระในการเดินทางไปต่างประเทศ และสิทธิเลือกตั้งรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตย

เมื่อได้ทราบเรื่องนี้ จากโทรทัศน์และปากต่อปาก ประชาชนในเมืองอื่น ๆ ก็เริ่มการเดินขบวนอย่างในไลพ์ซิจ ชุมนุมกันที่จตุรัสเมืองทุก ๆ เย็นวันจันทร์. เมื่อถึงเดือนตุลาคม 2532 มีผู้เข้าร่วมชุมนุมถึง 250,000 คน

จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้เมืองไลพ์ซิจได้รับการขนานนาม (อย่างไม่เป็นทางการ) ว่า Heldenstadt หรือ เมืองวีรชน[1] เพลงที่โด่งดังจากการเดินขบวนครั้งนี้คือ Wir sind das Volk! - เราคือประชาชน.

แม้รัฐบาลของพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี จะได้ขู่ว่าอาจจะใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซง แต่ในที่สุดก็ได้ยับยั้งการกระทำใด ๆ ดังกล่าวเอาไว้. การเดินขบวนสิ้นสุดลงในที่สุด เมื่อมีนาคม พ.ศ. 2533 ในเวลาใกล้เคียงกับการเลือกตั้งหลายครั้ง ซึ่งนำไปสู่การรวมประเทศเยอรมนี

หมายเหตุ แก้

  1. ชื่อ Heldenstadt นี้ ในสหภาพโซเวียต เป็นยศที่มอบให้กับเมือง 12 เมือง ซึ่งแสดงความกล้าหาญอย่างโดดเด่น ในมหาสงครามของผู้รักชาติ (Great Patriotic War) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี ค.ศ. 1941 - 1945

ดูเพิ่ม แก้