การออกอากาศแบบพกพา (วิทยุสมัครเล่น)

การออกอากาศแบบพกพา (อังกฤษ: portable operation) นักวิทยุสมัครเล่นมีส่วนร่วมในการออกอากาศแบบพกพาโดยใช้อุปกรณ์วิทยุเมื่อออกเดินทาง ซึ่งอุปกรณ์ "พกพาได้" (portable) หมายถึงการเตรียมความพร้อมที่ช่วยให้สามารถรวบรวม การขนส่ง และใช้งานอุปกรณ์วิทยุสมัครเล่นได้อย่างรวดเร็ว สถานีแบบพกพาอาจจะประกอบด้วยอะไรก็ได้ เริ่มต้นตั้งแต่วิทยุและสายอากาศ QRP (พลังงานต่ำ) ขนาดเล็ก ไปจนถึงเครื่องรับส่งสัญญาณขนาดใหญ่ ในการเดินทางระยะไกล อุปกรณ์ดังกล่าวช่วยให้สามารถรายงานความคืบหน้า การมาถึง และบางครั้งสามารถใช้แลกเปลี่ยนข้อความด้านความปลอดภัยระหว่างการเดินทางได้[1][2]

ฮามาล เอดิริซิงเฮ, 4S7AB จากศรีลังกา ออกอากาศจากสถานีวิทยุสมัครเล่นแบบพกพาทางตอนใต้ของสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน

การออกอากาศแบบพกพา แก้

 
สถานีวิทยุสมัครเล่นพลังงานแสงอาทิตย์บนจักรยาน

การออกอากาศแบบ "พกพา" มักจะถูกใช้งานจากนักวิทยุสมัครเล่นโดยเติม /P ต่อท้ายสัญญาณเรียกขานของตน โดยปกติแล้ว การใช้งาน /P หมายความว่าสถานีนั้น ใช้งานอยู่ห่างจากที่อยู่ของสถานีที่ตนได้รับใบอนุญาต

ข้อดีของกาออกอากาศแบบ /P ได้แก่ การใช้พื้นที่ว่างขนาดใหญ่ซึ่งสามารถสร้างสายอากาศเต็มความยาวคลื่นและสามารถใช้สายอากาศแบบลวดบนเสาสูงที่ติดตั้งกับรถพ่วงได้ หากใช้งานออกอากาศด้วยคลื่นความถี่ VHF/UHF อาจหมายถึงตำแหน่งบนยอดเขาหรือหน้าผา โดยมีแนวเส้นสายตาที่ชัดเจนจนถึงขอบฟ้า ข้อด้อยหลักคือ ใช้แหล่งกำเนิดไฟฟ้าจากเท่าที่มีอยู่เท่านั้น เนื่องจากไฟฟ้าจากโครงข่ายหลักปกติไม่สามารถใช้งานได้ การออกอากาศแบบ /P จึงอาจต้องใช้แบตเตอรี่ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบพกพา แผงโซลาร์เซลล์ และกังหันลม[3]

หากนักวิทยุสมัครเล่นออกอากาศในทะเล จะเรียกว่า "วิทยุสมัครเล่นเคลื่อนที่ทางทะเล" (maritime mobile) ซึ่งกำกับสัญญาณต่อท้าย /MM ในการเรียกขาน

หากนักวิทยุสมัครเล่นที่ใช้งานจากยานพาหนะ จะเรียกว่า "โมบาย" (mobile) ซึ่งกำกับสัญญาณต่อท้าย /M ในการเรียกขาน

บางประเทศอนุญาตให้มีการเชื่อมต่อโดยตรงของเครื่องรับส่งสัญญาณสมัครเล่นกับสายโทรศัพท์ ที่เรียกว่า "โฟนแพตชิ่ง" (phone patching)[4] ดังนั้น นักเดินทางอาจจะสามารถเรียกขานหาสถานีวิทยุสมัครเล่นอีกสถานีหนึ่ง และพูดคุยกับคนอื่นทางโทรศัพท์ได้โดยตรงผ่านทางโฟนแพตชิ่ง

อ้างอิง แก้

  1. Stuart Thomas (2018). Portable Operating for Amateur Radio: Everything You Need to Get on the Air in the Great Outdoors!. American Relay Radio League, Incorporated. ISBN 978-1-62595-080-2.
  2. H. Ward Silver (2 March 2018). Ham Radio For Dummies. Wiley. ISBN 978-1-119-45486-1.
  3. "Ham (Radio) ing it Up with Solar Power". KE2YK. 7 December 2007. สืบค้นเมื่อ 2009-07-31.
  4. "Phone Patch, Autopatch and HF/VHF/UHF Operating Guidelines". American Radio Relay League. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-30. สืบค้นเมื่อ 2007-01-10.