การสังหารหมู่ที่ออแดซา ค.ศ. 1941

การสังหารหมู่ที่ออแดซา เป็นชื่อที่มอบให้กับการสังหารหมู่ประชากรชาวยิวที่ออแดซาและบริเวณรอบเมืองในเขตผู้ว่าการทรานส์นิสเตรียในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ. 1941 และฤดูหนาว ปี ค.ศ. 1942 ในขณะที่อยู่ภายใต้การควบคุมของโรมาเนีย ถือเป็นหนึ่งในการสังหารหมู่ที่ร้ายแรงที่สุดในดินแดนยูเครน[1]

การสังหารหมู่ที่ออแดซา ค.ศ. 1941
แถวของพลเรือนชาวยิวถูกส่งตัวไปยังทรานส์นีสเตรียโดยมีทหารโรมาเนียคุ้มกัน
สถานที่ออแดซา
วันที่22–24 ตุลาคม 1941
ประเภทการสังหารหมู่, การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุ
ตาย34,000–100,000 คน
ผู้เสียหายส่วนมากชาวยิวและชาวโรมานี
ผู้ก่อเหตุ โรมาเนีย
สนับสนุนโดย:
 ไรช์เยอรมัน
แผนที่ของฮอโลคอสต์ในยูเครน สลัมออแดซาถูกมาร์กเป็นดาวที่ทองและแดง ส่วนทรานส์นิสเตรียถูกมาร์กเป็นกะโหลกสีแดง

การสังหารหมู่ที่ออแดซาอาจสื่อถึงเหตุการณ์ในวันที่ 22–24 ตุลาคม ค.ศ. 1941 ที่มีชาวยิวถูกยิงหรือเผา 25,000 ถึง 34,000 คน หรือการฆาตกรรมชาวยิวในเมืองสูงถึง 100,000 และพื้นที่ระหว่างแม่น้ำนีสเตอร์และแม่น้ำบุก (bug) ในช่วงการยึดครองของโรมาเนียและเยอรมนี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ยอมรับของการกล่าวถึงและขอบเขต ณ ค.ศ. 2018 ประมาณการว่ามีประชากรสูงถึง 30,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวยูเครนเชื้อสายยิว ถูกสังหารในการสังหารหมู่ในช่วงวันที่ 22–23 ตุลาคม ค.ศ. 1941[2] ผู้ก่อการหลักคือทหารโรมาเนีย เอ็สเอ็ส ไอน์ซัทซ์กรุพเพิน และคนท้องถิ่นที่มีเชื้อสายเยอรมัน[3][4]

ภูมิหลัง แก้

ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ออแดซามีประชากรยิวอยู่มากมาย โดยมีประมาน 200,000 คนและคิดเป็นร้อยละ 30 ของประชากรเมือง ณ ตอนนั้น เมื่อเวลาที่โรมาเนียได้ยึดครองเมือง ชาวยิวจำนวน 80,000 ถึง 90,000 คนยังคงอยู่ที่เมืองออแดซา ส่วนที่เหลือได้หนีหรือทำการอพยพโดยสหภาพโซเวียต ในขณะที่การสังหารหมู่เกิดขึ้น ชาวยิวจากหมู่บ้านโดยรอบถูกกักขังในค่ายกักกันออแดซา และค่ายกักกันโรมาเนียที่จัดตั้งขึ้นในพื้นที่โดยรอบ

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม หลังจากการล้อมออแดซาสองเดือน เยอรมนีและโรมาเนียได้ยึดครองเมืองออแดซา

การสังหารหมู่ของตัวประกันและชาวยิว ณ วันที่ 22-24 ตุลาคม แก้

การทำลายของกองบัญชาการทหารโรมาเนีย แก้

ณ วันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1941 อาคารของเอ็นเควีดีบนถนนมาราซลีฟสกายาซึ่งเป็นที่อยู่ของผู้บังคับบัญชากองทัพโรมาเนียและกองบัญชาการของกองพลที่ 10 ของโรมาเนียที่ซึ่งได้รุกเข้ายึงเมืองออแดซา ทุ่นระเบิดวิทยุที่ติดตั้งไว้ ณ อาคารนั้นได้ระเบิดขึ้น โดยที่ตัวทุ่นระเบิดนั้นถูกติดตั้งโดยทหารช่างของกองทัพแดงก่อนการยอมจำนนของกองทัพแดงในการล้อมออแดซา ตัวอาคารได้พังทลายลง โดยมีจำนวนผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 67 คน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทหารชั้นสัญญาบัตร 16 นาย และหนึ่งในผู้เสียชีวิตคือผู้บังคับบัญชาทหารที่มาปกครองเมืองออแดซา พลเอกโยอาน กโลโกชานู การระเบิดครั้งนี้ถูกกล่าวหาว่าพวกชาวยิวและคอมมิวนิสต์อยู่เบื้องหลังการระเบิดกองบัญชาการ

การสังหารตัวประกัน แก้

เพื่อเป็นการตอบโต้ต่อการระเบิดครั้งนี้ พลเอกนิโคลาแย ทาทารานูได้รับคำสั่งจากจอมพลอียอน อันตอเนสกูว่าต้องทำการตอบโต้ด้วยกำลังต่อชาวยิวโดยทันที[5] ทหารโรมาเนียและไอน์ซัทซ์กรุพเพินของนาซีเยอรมนีได้มาถึงเมืองออแดซา ณ วันที่ 23 ตุลาคม เพื่อสังหารตัวประกันประมาณ 5,000 ถึง 10,000 คน[6]: 151  โดยส่วนมากจะเป็นชาวยิว[7]

ทั่วถนนมาราซลีฟสกายา ผู้ยึดครองเมืองได้บุกห้องอยู่อาศัยของประชาชนของเมืองออแดซาและสังหารหรือแขวนคอผู้อยู่อาศัยที่พบเห็นอย่างไม่มีข้อยกเว้น ผู้ยึดครองนั้นได้บุกถนน ตลาด และตัวชานเมืองของออแดซาและผู้คนที่ไม่รู้ว่ามีเหตุระเบิดถูกยิงโดยทันทีตรงรั้วหรือกำแพงบ้าน คนเกือบ 100 นายถูกจับและยิงใน Big Fountain ประมาณ 200 คนในย่านสโลโบดกาที่ซึ่งอยู่ใกล้ตลาดถูกสังหาร และใน อเล็กซานดรอฟสกี ปร็อสเปย็ก ชาวเมืองประมาณ 400 คนถูกปลิดชีวิตลง แถวของตัวประกันได้ถูกขับไล่ไปยังพื้นที่โกดังเก็บปืนใหญ่บนถนนลุสท์ดอร์ฟ ซึ่งตัวประกันเหล่านั้นได้ถูกยิงหรือเผาทั้งเป็นทุกนาย[8]: 145 

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้จบหลง ศพราว ๆ 22,000 นายได้ถูกค้นพบในสุสานหมู่[9]

จุดเริ่มต้นของฮอโลคอสต์ แก้

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม มีการออกคำสั่งข่มขู่ชาวยิวทุกคนให้เสียชีวิตเมื่อพบเห็น และสั่งให้พวกเขารายงานตัวที่หมู่บ้านดาลนึกในวันที่ 24 ตุลาคม ในช่วงบ่ายของวันที่ 24 ตุลาคม ชาวยิวประมาณ 5,000 คนรวมตัวกันใกล้ด่านหน้าของหมู่บ้านดาลนึก 50 คนแรกถูกนำตัวไปที่คูต่อต้านรถถังและยิงโดยพันโทนิโคลาเย เดเลยานู ผู้บัญชาการกองพันปืนกลที่ 10[10]

กองบัญชาการทหารแห่งขุนเขา ออแดซาทำให้ประชากรออแดสซาและบริเวณโดยรอบเกิดความสนใจว่าหลังจากการก่อการร้ายที่กระทำต่อกองบัญชาการทหารเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1941 ถูกยิง: สำหรับเจ้าหน้าที่เยอรมันหรือโรมาเนียทุกคนและเจ้าหน้าที่พลเรือน 200 คนบอลเชวิค และสำหรับทหารเยอรมันหรือโรมาเนียทุกคน 100 บอลเชวิค ถูกจับเป็นตัวประกัน ซึ่งหากกระทำการดังกล่าวซ้ำ ๆ จะถูกยิงร่วมกับครอบครัวของพวกเขา

— ผู้บังคำบัญชากองทหาร: ซานดารมะรี พันโท มิฮาอิล นิคูเลสคู

เพื่อเร่งกระบวนการทำลายล้างชาวยิวถูกขับเข้าไปในค่ายทหารสี่แห่งซึ่งมีการสร้างรูสำหรับปืนกลและพื้นก็เต็มไปด้วยน้ำมันเบนซิน ผู้คนในค่ายทหารสองแห่งถูกยิงด้วยปืนกลในวันเดียวกัน เวลา 17.00 น. ค่ายทหารถูกจุดไฟ วันรุ่งขึ้น นักโทษถูกยิง ถูกวางไว้ในค่ายทหารอีก 2 แห่งที่เหลือ และเกิดเหตุระเบิดในค่ายทหารแห่งหนึ่งในนั้น[11]

ในขณะเดียวกัน ชาวยิวที่ไม่ได้รับเลือกให้อยู่ในกลุ่มแรก และที่มาถึงดาลนึกแล้ว ก็ได้รับแจ้งว่าพวกเขา "ได้รับการอภัย" แล้ว พวกเขาถูกส่งไปยังกองบัญชาการทหารหลายแห่งและสถานีทหารเพื่อ "ลงทะเบียน" ซึ่งพวกเขาถูกควบคุมตัวด้วยระยะเวลาต่างกันออกไป เมื่อพวกเขาได้รับการปล่อยตัว พวกเขาพบว่าบ้านของพวกเขาถูกยึดและทรัพย์สินของพวกเขาถูกปล้น

ในช่วงสัปดาห์แรกของการยึดครองออแดสซาของโรมาเนีย เมืองนี้สูญเสียประชากรไปแล้วประมาณ 10%[12][13]

อ้างอิง แก้

  1. Ugo Poletti. The Forgotten Holocaust: The Massacre of Odesa’s Jews Kyiv Post. Retrieved 18 December 2022
  2. "The Odessa massacre: Remembering the 'Holocaust by bullets'". Deutsche Welle. October 22, 2018. สืบค้นเมื่อ March 1, 2022.
  3. Kotlyar, Yuri. "Bogdanov tragedy - Holocaust against the Jewish population" (PDF). KBY Kiev. สืบค้นเมื่อ 14 May 2018.
  4. "Association of Jewish Organizations and Communities of Ukraine (Vaad of Ukraine)". Association of Jewish Organizations and Communities of Ukraine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-27. สืบค้นเมื่อ 14 May 2018.
  5. Simion, Adrian (2014). "Terra Sebus. Acta Musei Sabesiensis, 6, 2014, p. 529-549. PROBLEMA HOLOCAUSTULUI REFLECTATĂ ÎN PAGINILE REVISTEI ROMÂNIA MARE ÎN PERIOADA ANILOR 1990-2000" (PDF). Journal of the Sabesian Museum. 6: 533. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2022.
  6. Cherkasov, Alexander Anatolievich (2007). Occupation of Odessa. Year 1941. Odessa: Optimum. p. 264. ISBN 978-966-344-144-3. สืบค้นเมื่อ 13 May 2018.
  7. "Shoah in Transnistria: tragedy of Odessa Jewry". Yad Vashem. Holocaust Memorial Complex. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2018. สืบค้นเมื่อ 13 May 2018.
  8. Cherkasov, Alexander Anatolievich (2007). Occupation of Odessa. Year 1941. Odessa: Optimum. p. 264. ISBN 978-966-344-144-3. สืบค้นเมื่อ 13 May 2018.
  9. Vishnevskaya, Irina. "Memory ... past ... occupation". Odesskiy.com. สืบค้นเมื่อ 13 May 2018.
  10. Umrikhin, Alexander (February 3, 2015). "Odessa: unbroken hero city". TV Center. สืบค้นเมื่อ 13 May 2018.
  11. Cohricht, Felix. "Odessa, October, 1941. Memory…". Odesskiy.com. สืบค้นเมื่อ 13 May 2018.
  12. Cherkasov, Alexander Anatolievich (2007). Occupation of Odessa. Year 1941. Odessa: Optimum. p. 264. ISBN 978-966-344-144-3. สืบค้นเมื่อ 13 May 2018.
  13. "The Romanian Jewry: Historical Destiny, Tolerance, Integration, Marginalisation". JSRI. สืบค้นเมื่อ 14 May 2018.