การสอดแนมมวลชน คือการสอดแนมชนิดที่แพร่หลายครอบคลุมประชากรทั้งหมดหรือครอบคลุมประชากรจำนวนมาก[1] รัฐบาลมักเป็นผู้สอดแนม โดยมากลอบทำ แต่ก็อาจทำโดยบริษัท ตามคำสั่งของรัฐบาลหรือทำด้วยตัวเอง การสอดแนมนั้นอาจชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ได้ และอาจจำเป็นต้องอาศัยการให้อำนาจจากศาลหรือหน่วยงานอิสระอื่นหรือไม่ก็ได้

กล้องวงจรปิด

การสอดแนมมวลชนมักอ้างความชอบธรรมว่าจำเป็นต้องทำเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย ป้องกันไม่ให้เกิดความไม่สงบในสังคม รักษาความมั่นคงของชาติ ปราบปรามภาพโป๊เด็ก และปกป้องเด็ก

การสอดแนมมวลชนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าละเมิดความเป็นส่วนตัว จำกัดสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และผิดกฎหมายในบางระบบกฎหมายหรือระบบรัฐธรรมนูญ มีความกลัวกันว่าการสอดแนมมวลชนที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะนำไปสู่รัฐเผด็จการ ที่ซึ่งผู้คิดต่างทางการเมืองจะถูกทำลายโดยปฏิบัติการต่อต้าข่าวกรอง รัฐดังกล่าวอาจเรียกว่า "รัฐสอดแนม" หรือ "รัฐตำรวจอิเล็กทรอนิกส์"

ใน พ.ศ. 2556 ปฏิบัติการสอดแนมมวลชนโดยรัฐบาลต่าง ๆ ของโลก[2] ถูกตั้งคำถาม หลังจากที่เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน เปิดเผยการสอดแนมระดับโลก รายงานข่าวจากเอกสารที่สโนว์เดนเปิดเผยให้กับสื่อหลายสำนักจุดประกายการโต้เถียงเกี่ยวกับเสรีภาพของพลเมืองและสิทธิในความเป็นส่วนตัวในยุคดิจิทัล[3]

อ้างอิง แก้

  1. "Mass Surveillance Technologies". Electronic Frontier Foundation. สืบค้นเมื่อ 15 September 2013.
  2. TATLOW, DIDI KIRSTEN (2013-06-28), U.S. Prism, Meet China\u2019s Golden Shield, [...] a Beijing lawyer named Xie Yanyi filed a public information request with the police asking about China's own surveillance operations. [...] 'Most people were critical about the U.S. and supported Snowden.' [he said...] Then the discussion started shifting to take in China's own surveillance issues.
  3. Mark Hosenball and John Whitesides. "Reports on surveillance of Americans fuel debate over privacy, security". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-08. สืบค้นเมื่อ 17 December 2013.

ลิงก์อื่น แก้