กล้องวงจรปิด (closed-circuit television camera) เป็นกล้องวิดีโอสำหรับ ตรวจสอบวัตถุหรือสถานที่เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง เช่น อาจใช้เพื่อตรวจตราสภาพอากาศ ภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่ เพื่อระวังป้องกันภัยพิบัติ หรือใช้เป็น กล้องรักษาความปลอดภัย (security camera) ซึ่งติดตั้งเพื่อติดตามตัวบุคคล เพื่อเฝ้าระวังผลกระทบเพื่อป้องปรามอาชญากรรม

กล้องวงจรปิดชนิดต่าง ๆ

ในความหมายกว้าง ๆ นั้นกล้องวงจรปิดอาจไม่ได้หมายถึงกล้องตัวเดียว แต่อาจหมายถึงตัวระบบโทรทัศน์วงจรปิดทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งการส่งและประมวลผล การบันทึก และการแสดงภาพที่ถ่าย

กล้องวงจรปิดถูกติดตั้งในสถานที่ต่าง ๆ มากมาย เช่น ร้านค้า บนถนน สถานีรถไฟ ทางข้ามรางรถไฟ สนามบิน โรงเรียน สำนักงาน ที่อยู่อาศัย ฯลฯ

การใช้งาน แก้

การป้องกันภัยพิบัติ แก้

การตรวจสอบปริมาณน้ำในเขื่อน เฝ้าระวังภัยพิบัติทางถนน (การพังทลาย ฯลฯ) เฝ้าระวังภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่น เฝ้าระวังคลื่นสึนามิ[1] การยืนยันสถานะการขึ้น/ลงจากชานชาลาของสถานีรถไฟ ฯลฯ

ใช้ตรวจสอบสายการผลิตในโรงงาน ตรวจสอบสิ่งผิดปกติในสถานที่ที่คนไม่สามารถเข้าไปได้ เช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้าพลังความร้อน ห้องปฏิบัติการวิจัย และตรวจสอบและบันทึกสภาพของเขื่อน แม่น้ำ ภูเขาไฟ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังอาจใช้กับดาวเทียมได้ด้วย

การป้องกันอาชญากรรม แก้

กล้องวงจรปิดช่วยตรวจจับอาชญากรรมต่างๆ[2][3][4] โดยยังอาจใช้วิธีการเชื่อมต่อภาพจากกล้องวงจรปิดหลายตัวเพื่อค้นหาตำแหน่งของอาชญากร[5] และ ระบบการรู้จำใบหน้า โดยใช้ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน[6]

ตำรวจท้องถิ่นของญี่ปุ่นมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดในบริเวณย่านคับคั่งใจกลางเมือง บนถนน และรอบ ๆ ถนน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ มาตรการป้องกันอาชญากรรม บริษัทรถไฟยังติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อตรวจสอบสถานการณ์ในแต่ละสถานี โดยยังถูกติดตั้งในตู้รถไฟด้วย[7][8] อย่างไรก็ตาม บริษัทรถไฟในเขตมหานครโตเกียวไม่ได้เผยแพร่กฎการปฏิบัติงานสำหรับกล้องวงจรปิด แม้ว่าจะมีเสียงเรียกร้องบอกว่าควรเปิดเผย[9]

อ่านเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 「監視カメラで津波監視!NTTドコモの基地局を利用した地震対策」RBB Today(2016年3月3日)
  2. "日本の田舎は防犯カメラが少ないと聞き、3度来日 9府県で空き巣81件「予想通りだった」". 神戸新聞NEXT/Yahoo!ニュース (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-13. สืบค้นเมื่อ 2020-10-15.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  3. "時効まで残り2週間、15年前の強姦致傷容疑で35歳男を逮捕". 読売新聞オンライン/archive.is. 2020-06-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-02. สืบค้นเมื่อ 2020-10-15.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  4. "なぜレイプ事件が「不起訴」になるのか、その理由をすべて説く". オピニオンサイト「iRONNA(いろんな)」 (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-12. สืบค้นเมื่อ 2020-10-15.
  5. 「渋谷ハロウィン・軽トラ横転犯を捕まえた防犯カメラ捜査の凄さと怖さ 事件発生からわずか2週間で一網打尽」週刊現代(2018年12月17日配信)2021年9月5日閲覧
  6. 「顔認識 監視社会へリスク」『読売新聞』朝刊2021年8月26日(解説面)
  7. 「車内トラブルはすべてお見通し?スイス連邦鉄道の監視カメラ」Swissinfo2015年10月22日)
  8. 「北陸新幹線でも客室内を常時録画へ 15日から順次」日本経済新聞』2016年(平成28年)3月14日
  9. "メトロ全駅に防犯カメラ…課題はプライバシー". YOMIURI ONLINE. 読売新聞社. 2010-04-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-29. สืบค้นเมื่อ 2010-04-26.