การศึกษาสร้างคุณค่า

การศึกษาสร้างคุณค่า เป็นระบบการศึกษาแบบแนวมนุษยนิยม สร้างคุณค่าความเป็นมนุษย์ เริ่มโดยจึเนะซาบุโร่ มาคิงุจิ นายกสมาคมโซคา งัคไก ท่านแรก

ความเป็นมา แก้

ในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 จึเนะซาบุโร่ มาคิงุจิ ได้ตีพิมพ์หนังสือโซคา เคียวอิขุ ไทเค(ระบบการศึกษาสร้างคุณค่า)เล่มแรกออกมา ขณะอายุ 59 ปี อ.มาคิงุจิ ยังคงทำงานอย่างแข็งขันในฐานะครูใหญ่ของโรงเรียนประถมศึกษาชิโรคาเนะ จึงเป็นเรื่องยากสำหรับท่านที่จะอุทิศตนเองได้อย่างเต็มที่ ในการถ่ายทอดทฤษฎีการศึกษาของท่านให้ออกเป็นงานเขียนได้ ดังนั้น ท่านจึงได้ขอให้โจไก(โจเซอิ)โทดะ ลูกศิษย์หนุ่มของท่านช่วยในการรวบรวมและเรียบเรียงหนังสือ โดยยึดหลักตามเค้าโครงที่อ.มาคิงุจิ ได้ปรับปรุงแก้ไขไว้แล้ว ตลอดจนสาระโดยสังเขปจากกระดาษโน้ตจำนวนมาก ท่านได้บรรยายกระบวนการดังกล่าวนี้ไว้ในบทนำของหนังสือวิชาครู ของท่านว่า

ผลงานดังกล่าวไม่มีสิ่งใดที่นอกเหนือไปจาก การรวบรวมกระดาษโน้ตจำนวนมากของผลสะท้อนและความคิดต่างๆที่เกิดขึ้นจากความเพียรพยายามวันแล้ววันเล่าเพื่อทำให้ความรับผิดชอบที่มีต่อวิชาชีพของข้าพเจ้าบรรลุผลสำเร็จโดยสมบูรณ์ ราวกับคนตระหนี่ที่เก็บรักษาเงินทุกบาททุกสตางค์เอาไว้อย่างขี้เหนียว และกลัวว่าหยดความคิดที่ไหลเวียนผ่านชีวิตในแต่ละวัน ซึ่งข้าพเจ้าได้จดมันเอาไว้จะกระจัดกระจายสูญหาย กว่า 30ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ข้าพเจ้าได้เริ่มต้นชีวิตในฐานะของนักการศึกษา สิ่งเหล่านี้ได้เพิ่มพูนขึ้นจนกลายเป็นกองภูเขาของเศษกระดาษเหลือใช้อย่างแท้จริง

แรงจูงใจในการเขียนหนังสือเล่มนี้อ.มาคิงุจิ ก็ได้แสดงออกด้วยความโกรธในบทนำดังกล่าวนี้ด้วย

ข้าพเจ้าได้ถูกผลักดันจนเกือบจะทำให้ไขว้เขวจากความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะขัดขวางสถานการณ์ที่น่าสังเวชในปัจจุบัน-เด็กๆและนักเรียนของเราจำนวน 10 ล้านคนได้ถูกบังคับให้ต้องอดทนต่อความทุกข์ทรมานต่างๆจากการแข่งขันที่ทารุณ ความยากลำบากในการสอบเข้าโรงเรียนดีๆ -- นรกแห่งการสอบ และการต่อสู้ดิ้นรนหางานภายหลังจบการศึกษา ทำให้คนรุ่นต่อไปต้องเป็นทุกข์ ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะไปเข้าร่วมอยู่ในวิถีทางใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการยกย่องสรรเสริญหรือตำหนิติเตียนต่อพฤติการณ์ที่แปลกประหลาดนี้ รวมทั้งทัศนคติและคำตัดสินของโลก

ความสุขคือเป้าหมาย แก้

นักวิชาการซึ่งไม่ใช่คนญี่ปุ่นที่อ.มาคิงุจิได้ยกมาอ้างอิงในหนังสือ วิชาครู ของท่านก็คือ ผลงานของอีมิล เดอร์ไคม์ นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2473 ไม่นานนักและยังไม่ได้รับการแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นโดยสมบูรณ์ แต่ผลงานดังกล่าวก็อยู่ในอันดับที่โดดเด่นเป็นพิเศษ อ.มาคิงุจิ ได้สะท้อนความคิดดังกล่าวออกมาอย่างชัดเจนว่า

การศึกษาควรจะถูกทำให้เข้าใจว่าเป็นกระบวนการของสังคม ที่พัฒนาคุณภาพและความสามารถที่จำเป็นภายในตัวเด็กๆในการที่จะใช้ชีวิตในฐานะของสมาชิกผู้มีส่วนร่วมในแต่ละสังคมของตนเอง

ทั้งเดอร์ไคม์และอ.มาคิงุจิ ต่างก็มองว่ามนุษย์เป็นสังคมตามธรรมชาติที่จำเป็น ตลอดจนเห็นว่าความเชื่อมต่อและการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันทางสังคม เป็นสิ่งที่จะขาดเสียมิได้ต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของแต่ละบุคคล อีกทั้งเพื่อไม่ให้แต่ละบุคคลและสังคม ต้องถูกปิดกั้นให้อยู่แต่ในความขัดแย้งหรือความแตกต่างขั้นพื้นฐาน

มีรัฐได้ก็เพราะมีประชาชน มีสังคมก็เพราะมีบุคคล การเจริญเติบโตและการพัฒนาของบุคคล จะนำมาซึ่งความเฟื่องฟู การเติมเต็ม และการเจริญเติบโตของสังคมชาติ ตรงกันข้าม การถดถอยของบุคคล จะนำมาซึ่งการเสื่อมของรัฐ รัฐจะสูญเสียพลังงานและอิทธิพลสังคมชาติจะเฟื่องฟูได้ก็ด้วยความเข้มแข็งขององค์ประกอบต่างๆ และจะอ่อนแอด้วยการแบ่งแยกขององค์ประกอบนั้น แล้วจะหยุดนิ่งด้วยการแตกแยก

อ.มาคิงุจิโต้เถียงว่า เป้าหมายของการศึกษาจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของบุคคลและสังคมที่เขาสร้างขึ้น เป้าหมายที่มุ่งสู่ความพยายามต่อสู้ของบุคคล คือความสุข และนี่ก็จะต้องเป็นเป้าหมายของสังคมด้วย เป้าหมายสูงสุดของการศึกษาจะต้องอยู่ที่การมีความสุข

นอกจาก ความสุข แล้ว ก็ไม่มีคำใดที่จะนำมาใช้เพื่อแสดงถึงการแสวงหาวิถีชีวิตที่มีวัฒนธรรม โดยไม่ขัดกันได้อย่างตรงจุดและครบถ้วนสมบูรณ์ ว่าเป้าหมายของการศึกษาจากประสบการณ์ที่ผ่านมาหลายสิบปีของข้าพเจ้าและจากการครุ่นคิดพิจารณาประเด็นนี้ อย่างละเอียด ข้าพเจ้าเชื่อว่า คำๆนี้แสดงถึงเป้าหมายของชีวิตมนุษย์ทุกคนปรารถนาและเสาะแสวงหาได้อย่างเป็นความจริง ตรงจุด และเหมาะอย่างที่สุด

คุณค่าชีวิต คือ ความงาม คุณประโยชน์ และความดี แก้

อ.มาคิงุจิได้มีความระมัดระวังในการจำแนกความแตกต่างระหว่างความสุขกับความพึงพอใจ ท่านมีอายุกว่า 60 ปีตอนที่หนังสือการศึกษาสร้างคุณค่าเล่มแรกของท่านได้รับการตีพิมพ์ และท่านก็ได้รับประสบการณ์กับการมีส่วนร่วมรับผิดชอบในความล้มเหลวและความผิดหวังต่อวิชาชีพ พร้อมกับโศกนาฏกรรมส่วนตัวดังกล่าวก็คือการเสียชีวิตของเด็กๆสามคน ความสุขที่แท้จริงจะต้องถูกกำหนดให้ชัดเจนภายใต้เงื่อนไขที่ลึกซึ้งมากขึ้นและมีความอดกลั้นมากขึ้น อ.มาคิงุจิ ค้นพบสิ่งนี้อยู่ในขอบเขตของคำว่า คุณค่า ซึ่งท่านให้คำจำกัดความว่า ประเด็นปัญหาเร่งด่วนและมีความสำคัญอย่างที่สุดในการดำเนินชีวิตประจำวันของพวกเรา คือ ความดี ความงาม และคุณประโยชน์ ซึ่งก็คือ คุณค่า นั้นเอง และความสุขนั้นก็เทียบเท่ากับคุณค่า ดังนั้น ความสุขตามแนวทางปฏิบัติแล้ว จะรวมถึงการผสมผสานและนำเอาคุณค่าต่างๆเหล่านี้มาใช้

สถานศึกษาที่ใช้การศึกษาสร้างคุณค่าในการสอน แก้

อ้างอิง แก้