การรื้อถอนนิวเคลียร์

การรื้อถอนนิวเคลียร์ (อังกฤษ: Nuclear decommissioning) เป็นกระบวนการที่โรงไฟฟ้​​าพลังงานนิวเคลียร์จะถูกแยกส่วนจนถึงจุดที่ว่ามันจะไม่จำเป็นต้องมีมาตรการในการป้องกันการแผ่รังสีอีกต่อไป การปรากฏตัวของวัสดุกัมมันตรังสีจำเป็นต้องมีกระบวนการการป้องกันหลายอย่าง เนื่องจากมันเป็นอันตรายต่อผู้ครอบครอง เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวมีราคาแพงและใช้เวลาดำเนินการมาก[1]

ตัวอย่างของงานรื้อถอนที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
ถังความดันเครื่องปฏิกรณ์กำลังถูกส่งออกไปจากโรงงานที่เพื่อเอาไปฝัง

การรื้อถอนเป็นกระบวนการทางการบริหารและกระบวนการทางเทคนิค ซึ่งจะรวมถึงการทำความสะอาดวัสดุกัมมันตรังสีและการรื้อถอนโรงงานอย่างต่อเนื่อง เมื่อสิ่งอำนวยความสะดวกเช่นอาคารสถานที่ทั้งหมดถูกรื้อถอนไปจนหมด อันตรายจากรังสีไม่ควรจะยังมีอยู่ ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนจะมีการกระจายตลอดช่วงชีวิตของสิ่งอำนวยความสะดวกนั้นและถูกบรรจุไว้ในงบประมาณเพื่อการรื้อถอน หลังจากที่สิ่งอำนวยความสะดวกได้รับการรื้อถอนอย่างสมบูรณ์แล้ว มันจะหลุดออกจากการควบคุมของผู้กำกับดูแลกฎระเบียบ และผู้รับใบอนุญาตของโรงงานก็จะไม่ต้องรับผิดชอบต่อความปลอดภัยเกี่ยวกับนิวเคลียร์ของตนอีกต่อไป การรื้อถอนจะต้องดำเนินการตลอดทุกขั้นตอนจนถึงจุดที่เป็นสถานะ "greenfield"

ทางเลือก แก้

สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศได้กำหนดสามตัวเลือกสำหรับการรื้อถอนดังนี้

  • "แยกส่วนทันที" (อังกฤษ: Immediate Dismantling) (การปลดระวาง/การรื้อถอนแต่เนิ่น ๆ สำหรับในสหรัฐอเมริกา) ทางเลือกนี้จะทำการย้ายสิ่งอำนวยความสะดวกออกจากการควบคุมของผู้กำกับดูแลค่อนข้างทันทีหลังจากที่ปิดทำการหรือสิ้นสุดกิจกรรมการกำกับดูแลทั้งหลาย กิจกรรมการรื้อถอนหรือการลบล้างการปนเปื้อนสุดท้ายจะเริ่มต้นภายในไม่กี่เดือนหรือปีขึ้นอยู่กับสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งจะใช้เวลาแยกส่วนห้าปีหรือมากกว่า หลังจากการเคลื่อนย้ายออกจากการควบคุมของผู้กำกับดูแลและการแยกส่วน สถานที่จะพร้อมกลับมาใช้งานใหม่ได้
  • "การกั้นรั้วล้อมอย่างปลอดภัย" (หรือ SAFSTOR) ทางเลือกนี้จะเลื่อนระยะเวลาการเคลื่อนย้ายขั้นสุดท้ายของการควบคุมออกไปเป็นเวลานานขึ้น ปกติจะเป็น 40 ถึง 60 ปี สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมดจะถูกเก็บรักษาให้อยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัยจนกว่าจะมีการรื้อและชำระการปนเปื้อนในที่สุด
  • "ฝังกลบในสุสาน" (อังกฤษ: Entombment) ทางเลือกนี้จะทำการจัดวางสิ่งอำนวยความสะดวกให้ในสภาพที่จะปล่อยให้วัสดุกัมมันตรังสีที่เหลืออยู่จะยังคงอยู่ในสถานที่ตั้งไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ทางเลือกนี้มักจะเกี่ยวข้องกับการลดขนาดของพื้นที่ที่วัสดุกัมมันตรังสีจะถูกวางอยู่ จากนั้นก็ห่อหุ้มสิ่งอำนวยความสะดวกด้วยวัสดุที่มีอายุยืนเช่นคอนกรีตเพื่อป้องกันในการปล่อยรังสีในทางทฤษฎี

ประสบการณ์ แก้

อ่านเพิ่มเติม: รายชื่อของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์

หลากหลายของสิ่งอำนวยความสะดวกนิวเคลียร์ได้รับการปลดประจำการไปแล้วนับถึงปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงโรงไฟฟ้​​าพลังงานนิวเคลียร์ (NPP) เครื่องปฏิกรณ์เพื่อการวิจัย โรงงานผลิตไอโซโทป เครื่องเร่งอนุภาค และเหมืองแร่ยูเรเนียม จำนวนโรงไฟฟ้​​าที่ถูกปลดประจำการยังมีน้อย หลายบริษัทมีความเชี่ยวชาญในการรื้อถอนนิวเคลียร์ การรื้อถอนได้กลายเป็นธุรกิจที่ทำกำไร ล่าสุด หลายบริษัทรับเหมาก่อสร้างและการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างทั่วไปในสหราชอาณาจักรก็ได้เริ่มการพัฒนาบริการรื้อถอนงานเกี่ยวกับนิวเคลียร์อีกด้วย[2] ในปัจจุบัน'หน่วยงานรื้อถอนนิวเคลียร์'ของสหราชอาณาจักรได้ประมาณการว่าจะมีค่าใช้จ่ายอย่างน้อย £ 1 แสนล้าน ในการรื้อถอนสถานที่ติดตั้งนิวเคลียร์ที่มีอยู่ 17 แห่งในสหราชอาณาจักร[3] เนื่องจากกัมมันตภาพรังสีมีอยู่ในโครงสร้างเครื่องปฏิกรณ์ การรื้อถอนจะต้องทำทีละขั้นตอน มีหลายแผนของ'หน่วยงานรื้อถอนนิวเคลียร์'เพื่อรื้อถอนเฉพาะเครื่องปฏิกรณ์ที่ต้องใช้ระยะเวลาโดยเฉลี่ยถึง 50 ปี กรอบเวลาที่ยาวนานทำให้ประมาณการของค่าใช้จ่ายที่น่าเชื่อถือทำได้ยาก งบประมาณเกินเป็นเรื่องธรรมดาแม้ว่าโครงการรื้อถอนจะทำได้เร็วก็ตาม

ทวีปอเมริกาเหนือ แก้

 
สถานีผลิตนิวเคลียร์พิกเคอริง มองจากทางทิศตะวันตก เครื่องปฏิกรณ์ทั้งหมดแปดเครื่องสามารถมองเห็นได้ สองหน่วยได้ถูกปิดตัวลงไปแล้ว

โรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ส่วนใหญ่ที่กำลังดำเนินงานในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในขณะนี้ได้รับการออกแบบให้มีอายุการใช้งานประมาณ 30-40 ปี[4] และได้รับอนุญาตให้ดำเนินการเป็นเวลา 40 ปีโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานสหรัฐ[5] อายุเฉลี่ยของเครื่องปฏิกรณ์เหล่านี้จะอยู่ที่ 32 ปี[5] หลายเครื่องกำลังจะมาถึงจุดสิ้นสุดของระยะเวลาการรับใบอนุญาตของพวกมัน หากใบอนุญาตของพวกมันไม่ได้รับการต่ออายุ โรงงานจะต้องเข้าสู่กระบวนการชำระล้างและรื้อถอน[4][6]

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลายเครื่องที่ถูกแยกชิ้นส่วนในทวีปอเมริกาเหนือ ประเภท กำลังการผลิต และค่าใช้จ่ายการรื้อถอน[7][8][9] ได้แสดงตามตาราง

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ถูกแยกส่วนในแคนาดาและสหรัฐอเมริกา
ประเทศ: ที่ตั้ง: ประเภทเครื่องปฏิกรณ์: อายุการทำงาน: เฟส
การรื้อถอน:
ค่าใช้จ่าย
การแยกส่วน:
พลังงานนิวเคลียร์ในแคนาดา (เควเบค) Gentilly-1 CANDU-BWR (Boiling water reactor)
250 MWe
180 วัน
(ระหว่างปี 1966 ถึง 1973)
"สถาวะนิ่ง" ตั้งแต่ 1986[10][11][12] ระยะที่สอง:
$25 ล้าน
แคนาดา
(ออนตาริโอ)
Pickering NGS
หน่วย A2 และ A3
CANDU-PWR (pressurized water reactor)
8 x 542 MWe
30 years
(from 1974 to 2004)
สองหน่วย ปัจจุบันอยู่ใน "cold standby"
การรื้อถอนจะเริ่มในปี 2020 [13][14]
(ตามการคำนวณ:
$270–430/kWe ?)
สหรัฐ Fort St. Vrain HTGR
(helium-graphite)
380 MWe
12 ปี
(1977–1989)
รื้อถอนทันที $195 million
สหรัฐ Rancho Seco[15] หลายหน่วย:
PWR
913 MWe
12 ปี
(ปิดหลังจากประชามติในปี 1989)
SAFSTOR: 5–10 ปี
เสร็จปี 2018[ต้องการอ้างอิง]
?
($200–500/kWe) [16]
USA เกาะทรีไมล์ 2 หลายหน่วย:
913 MWe PWR
อุบัติเหตุ:
แกนหลอมละลาย

(ในปี 1979)
หลัง-ปล่อยเชื้อเพลิง
ระยะที่ 2 (1979)
$805 ล้าน
(ประมาณ) [17]
สหรัฐ Shippingport (BWR ตัวแรก)
60 MWe
25 ปี
(ถูกปิดในปี 1989)
รื้อถอนเสร็จเรียบร้อย
แยกส่วนใน 5 ปี
(ปฏิกรณ์ทดลอง
เครื่องเล็กตัวแรก)
$98.4 ล้าน[18]
สหรัฐ Piqua (Ohio) OCM (Organically Cooled/Moderated) reactor
46 MWe[19]
2 ปี
(ถูกปิดในปี 1966)
ฝังกลบ
(การออกแบบตัวหล่อเย็นไม่พอเพียงสำหรับ neutron flux)
?
สหรัฐ Trojan PWR
1,180 MWe
16 ปี
(ถูกปิดในปี 1993
เพราะใกล้รอยเลื่อน)
SAFSTOR
(หอเย็นถูกรื้อในปี 2006)
?[20]
สหรัฐ Yankee Rowe PWR 185 MWe 31 ปี
(1960–1991)
รื้อถอนเรียบร้อย
(greenfield เปิดให้เข้าเยี่ยมชม) [21]
$608 ล้าน กับอีก $8 ล้านต่อปีบำรุงรักษา
สหรัฐ Maine Yankee PWR
860 MWe
24 ปี
(ถูกปิดในปี 1996)
รื้อถอนเรียบร้อยในปี 2004
(greenfield เปิดให้เข้าเยี่ยมชม) [22][23]
$635 ล้าน[24]
สหรัฐ Connecticut Yankee PWR
590 MWe
28 ปี
(ถูกปิดในปี 1996)
รื้อถอนในปี 2007
(greenfield เปิดให้เข้าเยี่ยมชม) [25]
$820 ล้าน[26]
สหรัฐ Exelon -
Zion 1 & 2
PWR - Westinghouse
2 x 1040 MWe
25 ปี
(1973–1998)
(อุบัติเหตุยังมีอยู่,
ถูกปล่อยทิ้งเพราะ
ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนตัวทำไอน้ำสูงเกินไป)
SAFSTOR-EnergySolutions
(จะเปิดให้เข้าเยี่ยมชมในปี 2018) [27].
$900–1,100 ล้าน
(2007 dollars) [28]
สหรัฐ Pacific Gas & Electric -
Humboldt Bay Nuclear Power Plant - Unit 3
BWR
1 x 63 MWe
13 ปี
(1963–1976)
(ปิดลงเนื่องจากแผ่นดินไหว)
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 1976, Humboldt Bay Power Plant (HBPP) Unit 3 ถูกปิดลงเพื่อการเติมเชื้อเพลิงรายปีและเพื่อทำการปรับเปลี่ยนเกียวกับแผ่นดินไหว. ในปี 1983, ผลการวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์ได้ชี้ให้เห็นว่าการเริ่มเดินเครื่อง Unit 3 บางทีอาจจะไม่มีประสิทธิผลคุ้มค่าใช้จ่าย, และในเดือนมิถุนายน 1983, Pacific Gas and Electric Company (PG&E) ได้ประกาศความตั้งใจที่จะปลดระวางหน่วยนี้. ในวันที่ 16 กรกฎาคม 1985 คณะกรรมการกำกับดูแลนิวเคลียร์ของสหรัฐ (NRC) ได้ออก Amendment No. 19 ให้ใบอนุญาตดำเนินการ Unit 3 กับ HBPP เพื่อเปลี่ยนสถานะให้เป็น ครอบครองแต่ไม่ดำเนินการ, และโรงงานถูกวางอยู่ในสถานะ SAFSTOR . ไม่ทราบ - วันปิด: 12/31/2015[29]

ทวีปเอเชีย แก้

ปฏิกรณ์ที่ไม่ได้อยู่ในญี่ปุ่น แก้

หลายปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ถูกแยกส่วนในทวีปเอเชีย, ประเภท, กำลังงานและค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนต่อกิโลวัตต์ของกำลังไฟฟ้า (ที่มา: สมาคมนิวเคลียร์โลก) [30]

ปฏิกรณ์ที่ถูกแยกส่วนในเอเชีย
ประเทศ: ที่ตั้ง: ประเภทของเครื่องปฏิกรณ์: อายุการทำงาน: ขั้นตอน
ของการรื้อถอน:
ค่าใช้จ่าย
ในการแยกส่วน:
จีน[31] ปักกิ่ง (CIAE) Heavy water reactor (HWWR) 10 MWe (หลายวัตถุประสงค์)
(เครื่องปฏิกรณ์เพื่อการทดลองแบบ Heavy Water สำหรับการผลิต plutonium และ tritium)
49 ปี
(1958–2007)
Safestore และรื้อถอนใน
20 ปี (จนกระทั่งปี 2027)
ข้อเสนอ:
$ 6 ล้านสำหรับการแยกส่วน
$ 5 ล้านสำหรับการเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิง
เกาหลีเหนือ ยองเบียน Magnox-type
(เครื่องปฏิกรณ์สำหรับการผลิตอาวุธนิวเคลียร์โดยผ่านการบำบัดแบบ PUREX)
20 ปี
(1985–2005)
หยุดกิจกรรมหลังจากสนธิสัญญา[32][33]
SAFESTORE:
หอเย็นถูกแยกส่วนแล้ว
?
อินเดีย
, [34][35]
ทาราปุระ-1, 2
(มหาราช)
2x BWR 160 MWe 40 ปี ?
(1969–2009?)
ไม่ถูกหยุดกิจกรรม ?
อินเดีย[36] Rawatbhata-1, 2
(ราชาสถาน)
1x PHWR 100 MWe
1x PHWR 200 MWe
(คล้ายกับ CANDU)
40 ปี ?
(1970–2011?)
ไม่ถูกหยุดกิจกรรม ?
อิรัค Tammuz-1
[37]
BWR 40 MWe
เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่มีความสามารถในการผลิตพลูโตเนียมที่ใช้เป็นอาวุธ
(ถูกทำลายโดยกองทัพอากาศอิสราเอลในปี 1981) ไม่ถูกหยุดกิจกรรม:
ไม่เคยถูกทำใหม่ด้วยยูเรเนียม
?

ญี่ปุ่น แก้

เครื่องปฏิกรณ์ 3 ตัวที่เสียหายที่ Fukushima Dai-ichi #1, #2, #3 คาดว่าจะถูกรื้อถอนเช่นเดียวกับ #4.

เครื่องปฏิกรณ์ที่เสียหายร้ายแรงในญี่ปุ่น[38]
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กำลังไฟฟ้าส่งออก
สูงสุด
(เมกะวัตต์ (MW) )
ประเภท ต่อเข้ากับ
กริด (ไฟฟ้า)
สถานะภาพ
ค่าใช้จ่ายรื้อถอน
Fukushima Dai-ichi NPP
(Unit 1)
439 BWR 17 พฤศจิกายน 1970 นิวเคลียร์หลอมละลาย
[39][40][41][42][43][44][45][46]


Hydrogen explosion
(INES 7) [47][48]

?
ประมาณ ¥ 10 ล้านล้าน (US$ 1 แสนล้าน) สำหรับการทำความสะอาดการปนเปือน Fukushima และการแยกส่วนเครื่องปฏิกรณ์ทั้งหมดในญี่ปุ่นและการพิจารณาความเสียหายระยะยาวที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ, รวมทั้งการเกษตร, การเพาะพันธ์วัว, การประมง, การทำน้ำให้บรืสุทธ์, การท่องเที่ยว
(โดยปราศจากการพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพในอนาคตและการลดลงของอายุขัย). [49]
Fukushima Dai-ichi NPP
(Unit 2)
760 BWR 24 ธันวาคม 1973 นิวเคลียร์หลอมละลายบางส่วน
(International Nuclear Event Scale (INES) 6)
(ความเสี่ยงที่จะไปถึง INES 7) [50][51][52]
?
Fukushima Dai-ichi NPP
(Unit 3)
760 BWR 26 ตุลาคม 1974 นิวเคลียร์หลอมละลาย
ไฮโดรเจนระเบิด
(INES 7) [53]
?
Fukushima Dai-ichi NPP
(Unit 4)
760 BWR 24 กุมภาพันธ์ 1978 เครื่องปฏิกรณ์ไม่ได้รับเชื้อเพลิงเมื่อโดนซึนามิ
เสียหายที่อ่างให้ความเย็นกับเชื้อเพลิงใช้แล้ว
(INES 4)

(อาจเลวร้ายกว่าถ้าอ่างคว่ำลงมา) [54][55][56][57][58]
(ผู้เชี่ยวชาญหลายคนไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับอันตรายนี้) [59][60]

?
Fukushima Dai-ichi NPP
(Unit 5)
760 BWR 22 กันยายน 1977 SCRAM (ปิดตัวฉุกเฉิน) ?
Fukushima Daiichi NPP
(Unit 6)
1067 BWR 4 พฤษภาคม 1979 SCRAM ?
Fukushima Daini NPP
(Unit 1) [61]
1067 BWR 31 กรกฎาคม 1981 SCRAM
(ตัวเร่งความเย็นรั่ว) [62]
?
Fukushima Daini NPP
(Units 2 - 4)
3 × 1067 BWR 23 มิถุนายน 1983
14 ธันวาคม 1984
17 ธันวาคม 1986
3 x SCRAM ?
Tokai NPP (Reactor 2) 1100 MW BWR/5[63] 28 พฤศจิกายน 1978 SCRAM
ปิดตัวลงตั้งแต่มีนาคม 2011
(ผนังต้านซึนามิเพื่อหยุดคลื่น)
INES 1 (ตัวเร่งความเย็นรั่ว) [64]
?
เครื่องปฏิกรณ์ที่ได้รับการรื้อถอนอย่างปลอดภัยในญี่ปุ่น[38]
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กำลังไฟฟ้าส่งออก
สูงสุด
(เมกะวัตต์ (MW) )
ประเภท ต่อเข้ากับ
กริดไฟฟ้า
สถานะภาพ
ค่าใช้จ่ายรื้อถอน
Tokai NPP (เครื่องปฏิกรณ์ 1) 160 MWe Magnox (Gas-cooled reactor (GCR) ) (1966–1998) Safstore: 10 ปี[65][66]
จากนั้นรื้อถอน
จนถึงปี 2018

¥ 93 ล้านล้าน[67]
(€660 ล้านในปี 2003)

ยุโรปตะวันตก แก้

หลายเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ถูกแยกส่วนในยุโรปตะวันตก ประเภท กำลังการผลิตและค่าใช้จ่ายการรื้อถอนต่อกิโลวัตต์ของกำลัง ข้อมูลจาก เว็บไซด์สหภาพยุโรปเกี่ยวกับการรื้อถอนนิวเคลียร์[68] สมาคมนิวเคลียร์โลก (กลุ่มบริษัทก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์) [69] สหราชอาณาจักร[70]

เครื่องปฏิกรณ์ที่ถูกรื้อถอนอย่างปลอดภัยในยุโรปตะวันตก[38]
ประเทศ: ที่ตั้ง: ประเภทเครื่องปฏืกรณ์: อายุการทำงาน: ขั้นตอน
การรื้อถอน:
ค่าใช้จ่าย
การแยกส่วน:
ออสเตรีย[71]
(ประเทศปลอดนิวเคลียร์) [72]
Zwentendorf NPP
15.92494&spn=0.025853, 0.058537&om=0 Google Maps
PWR
723 MWe
ไม่เคยถูกใช้งาน[73] หลังจากประชามติในปี 1978 ? ?
เบลเยี่ยม SCK•CEN - BR3,
ติดตั้งที่ Mol, Belgium
PWR (BR-3)
25 ปี
(1962–1987)
รื้อถอนเรียบร้อย (2011) [74][75]
โครงการนำร่องยุโรป
(การตัดใต้น้ำและเครื่องมือสั่งให้ทำงานระยะไกล) [76][77]
?
ฝรั่งเศส Brennilis HWGCR 70 MWe 12 ปี
(1967–1979)
ระยะ 3 €480 ล้าน
(20 เท่าของตัวเลขที่คาดการณ์)
ฝรั่งเศส Bugey-1 UNGG
หล่อเย็นด้วยแก๊ซ, moderator แบบแกรไฟท์
1972–1994 เลื่อนออกไป ?
ฝรั่งเศส Chinon 1, 2, 3 แก๊ซ-แกรไฟท์
(1973–1990)
เลื่อนออกไป ?
ฝรั่งเศส โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Saint-Laurent แก๊ซ-แกรไฟท์ 1969–1992 เลื่อนออกไป ?
ฝรั่งเศส Superphénix ที่
Creys-Malville
เครื่องปฏิกรณ์ Fast breeder ]]
(หล่อเย็นด้วยโซเดียม)
11 ปี
(1985–1996)
เลื่อนออกไป ประมาณสำหรับอนาคต:
$4000/kWe[ต้องการอ้างอิง]
สหราชอาณาจักร Berkeley Magnox
(2 x 138 MWe)
27 ปี
(1962–1989)
Safestore: 30 ปี
(การทุบทิ้งภายใน)
$ 2600/kWe
สหราชอาณาจักร Sellafield-Windscale
Windscale Advanced Gas Reactor
WAGR
(32 MWe)
18 ปี
(1963–1981)
การเคลื่อนย้ายเครื่องปฏิกรณ์ในปี 2009
โครงการนำร่อง
(การตัดด้วยหุ่นยนต์แสงเลเซอร์ UV ที่ควบคุมทำงานระยะไกล) [76][78][79][80]
มากกว่า $2600/kWe
(ประมาณ WNI)
€117 ล้านจนถึงปัจจุบัน
สหราชอาณาจักร Dorset-Winfrith

ดำเนินการใน Dorset จาก 1958 ถึง 1990. มีเครื่องปฏิกรณ์ 9 เครื่อง, ส่วนใหญ่ถูกแยกส่วนแล้ว[81] [82]

เยอรมันตะวันตก Gundremmingen-A BWR
250 MWe

11 ปี
แยกส่วน
ทันที
โครงการนำร่อง
(การตัดใต้น้ำ)
(~ $300–550/kWe)
อิตาลี Caorso NPP BWR
840 MWe[83][84]
3 ปี
( 1978 - ปิดในปี 1987 หลังจากประชามติในปี 1986 )
Safstore: 30 ปี
(การทุบทิ้งภายใน)
€450 ล้าน (การแยกส่วน)
+ €300 ล้าน (การนำเชื้อเพลิงกลับไปเข้ากระบวนการใหม่ (อังกฤษ: fuel reprocessing) [85][86][87]
อิตาลี Garigliano NPP (Caserta) BWR
150 MWe[88]
? ปี
(ปิดวันที่ 1 มีนาคม 1982)
Safstore: 30 ปี
(การทุบทิ้งภายใน)
?
อิตาลี Latina NPP (Foce Verde) Magnox
210 MWe แก๊ซ-แกรไฟท์[89]
24 ปี
( 1962 - ปิดในปี 1986 หลังจากประชามติ )
Safstore: 30 ปี
(การทุบทิ้งภายใน)
?
อิตาลี Trino Vercellese NPP PWR บริษัทเวสติงเฮาส์,
270 MWe[90]
?
(ปิดในปี 1986 หลังจากประชามติ)
Safstore: 30 ปี
(การทุบทิ้งภายใน)
?
เนเธอร์แลนด์ Dodewaard NPP BWR บริษัทเวสติงเฮาส์
58 MWe[91]
28 ปี
(1969–1997)
ถอดเชื้อเพลิงออกเรียบร้อย -
Safstore เป็นเวลา 40 ปี
?
สโลเวเนีย
(Yugoslavia ในอดีต)
Krsko NPP[92] PWR (บริษัทเวสติงเฮาส์)
696 MWe
40? ปี
(1981–2021?)
จะถูกปิดการทำงานในปี 2022 ?
สเปน Vandellós NPP-1 UNGG
480 MWe
(gas-graphite)
18 ปี
อุบัติเหตุ:
ไฟใหม้ใน turbogenerator
(1989)

Safestore: 30 ปี
(การทุบทิ้งภายใน)
ระยะ 1 และ 2:
€93 million
สวิตเซอร์แลนด์[93] DIORIT MWe Gas-graphite
(ทดลอง)
? Safestore: ? ปี
(การทุบทิ้งภายใน)
?
สวิตเซอร์แลนด์ LUCENS 8, 3 MWe CO2-heavy water
(ทดลอง)
(1962–1969)
อุบัติเหตุ:
ไฟใหม้ในปี 1969
ฝังกลบเป็นเวลา ? ปี
Safestore และรื้อทิ้ง: 24 ปี
(การทุบทิ้งภายใน)
?
สวิตเซอร์แลนด์ SAPHIR 0, 01-0, 1 MWe
(Light water pool)
39 ปี
(1955–1994)
(ตัวสาธิตการทดลอง)
(ในการแสดงสาธารณะ
ตั้งแต่เปิดตัว
เปิดให้เข้าชม:

"Cherenkov's light")
?
  • สุสานสำหรับกากรังสีที่ Morsleben: €2.2 พันล้าน

ยุโรปตะวันออกและอดีตสหภาพโซเวียต แก้

มีเครื่องปฏิกรณ์จำนวนมากที่ถูกแยกส่วนในประเทศที่เคยอยู่ในกลุ่มอดีตสหภาพโซเวียต เช่น เบลารุส รัสเซีย ยูเครน และอื่น ๆ และเครื่องปฏิกรณ์ที่ถูกแยกส่วนในประเทศที่เคยอยู่ในสนธิสัญญาวอร์ซอร์และ/หรือกลุ่มประเทศ Comecon ประเภท กำลังไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายการรื้อถอนต่อกิโลวัตต์ของกำลังไฟฟ้าจากสมาคมนิวเคลียร์โลก[94] และ สำนักงานข้อมูลวิทยาศาสตร์และเทคนิค (อังกฤษ: Office of Scientific and Technical Information (OSTI)) (ของรัสเซียและของสหรัฐ) [9]

เครื่องปฏิกรณ์ที่ถูกรื้อถอนในยุโรปตะวันออก
ประเทศ: ที่ตั้ง: ประเภทเครื่องปฏิกรณ์: อายุการทำงาน: ขั้นตอน
การรื้อถอน:
ค่าใช้จ่าย
การแยกส่วน:
บัลกาเรีย Kozloduy NPP-1, 2, 3, 4[95] PWR VVER-440
(4 x 408 MWe)
เครื่องปฏิกรณ์ 1, 2 ปิดในปี 2003,
เครื่องปฏิกรณ์ 3, 4 ปิดในปี 2006

(ถูกบังคับให้ปิด
โดยสหภาพยุโรป)
ปลดเชื้อเพลิง ?
เยอรมันตะวันออก Greifswald NPP-1,
2, 3, 4, 5
VVER-440
5 x 408 MWe

แยกส่วน
ทันที
(การตัดใต้น้ำ)
~ $330/kWe
เยอรมันตะวันออก Rheinsberg NPP-1 VVER-210
70–80 MWe
24 ปี
(1966–1990)
การแยกส่วน
ตั้งแต่
Safstor (การตัดใต้น้ำ)
~ $330/kWe
เยอรมันตะวันออก Stendal NPP-1, 2, 3, 4 VVER-1000
(4 x 1000 MWe)
ไม่เคยถูกใช้งาน
(เครื่องปฏิกรณ์ตัวแรกเสร็จแล้ว 85%)
ไม่มีกัมมันตรังสี
(หอเย็น
ทุบทิ้งด้วยระเบิด)
?
(โครงสร้างถูกแสดง
ภายใน
สวนอุตสาหกรรม)
รัสเซีย Mayak[96]
(Chelyabinsk-65)
โรงงาน PUREX สำหรับ
ทำยูเรเนียมสมรรถนะสูง
อุบัติเหตุร้ายแรงหลายครั้ง
(1946–1956)
? ?
รัสเซีย Seversk[97]
(Tomsk-7)
เครื่องปฏิกรณ์พลูโตเนียม 3 เครื่อง
โรงงานสำหรับทำยูเรเนียมสมรรถนะสูง
เครื่องปฏิกรณ์แบบ fast-breeder 2 ใน 3 เครื่องถูกปิด,
หลังจากข้อตกลงลดอาวุธกับสหรัฐในปี 2003[98]
? ?
สโลวาเกีย Jaslovske Bohunice NPP-1, 2
(180 km ตะวันออกของกรุงเวียนนา) [99]
VVER 440/230
2 X 440 MWe
(1978–2006)
(1980–2008)
? ?
ยูเครน Chernobyl NPP-4
(110 km
จากเมือง Kiev)
RBMK-1000
1000 MWe
ไฮโดรเจนระเบิด,
จากนั้นไฟใหม้แกรไฟท์ (1986)
(ความรุนแรง INES ระดับ 7)
ฝังกลบ
(armed concrete "sarcophagus")
อดีต: ?
อนาคต: คลุม sarcophagus ด้วยเหล็ก[100]

มุมมองด้านกฎหมาย แก้

การรื้อถอนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์จะสามารถเกิดขึ้นได้หลังจากได้รับใบอนุญาตที่เหมาะสมจากหน่วยงานด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการออกใบอนุญาต เอกสารต่าง ๆ รายงานและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจะต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรและส่งมอบให้กับเจ้าหน้าที่ผู้มีความเชี่ยวชาญ เช่น รายงานความปลอดภัย เอกสารทางด้านเทคนิคและ 'การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม' (อังกฤษ: environmental impact study (EIS))

ในสหภาพยุโรป เอกสารเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำหรับ 'การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม' (อังกฤษ: environmental impact assessment (EIA)) เพื่อให้เป็นไปตาม Council Directive ที่ 85/337/EEC เงื่อนไขการให้ใบอนุญาตดังกล่าวเป็นความเห็นโดย'คณะกรรมาธิการยุโรป'ตามมาตรา 37 ของ'สนธิสัญญา Euratom' มาตรา 37 บังคับทุกรัฐสมาชิกของสหภาพยุโรปในการสื่อสารกับคณะกรรมการสำหรับข้อมูลบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยสารกัมมันตรังสี ข้อมูลนี้จะต้องเปิดเผยว่าการแผ่รังสีจะส่งผลกระทบกับการรื้อถอนหรือไม่ และถ้ามี ผลกระทบเป็นรังสีอะไร แผนการกำจัดรังสีและอุบัติเหตุที่เกิดจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอะไรบ้าง เช่นน้ำ ผิวดินหรือในอากาศ[101] บนพื้นฐานของข้อมูลทั่วไปเหล่านี้ คณะกรรมการจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่จะประเมินความเสี่ยงของกลุ่มอ้างอิงของประชากรในประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุด

ค่าใช้จ่าย แก้

ในสหรัฐอเมริกา หลายสาธารณูปโภคในขณะนี้ได้ประมาณการค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่กว่า $ 325 ล้านต่อเครื่องปฏิกรณ์ (มูลค่าในปี 1998)

ในฝรั่งเศส การรื้อถอนโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ Brennilis ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้​​าค่อนข้างเล็กขนาด 70 เมกะวัตต์ได้เสียค่าใช้จ่ายไปแล้ว € 480 ล้าน (20 เท่าของประมาณการค่าใช้จ่าย) และยังคงค้างอยู่ 20 ปีหลังจากนั้น แม้จะมีการลงทุนขนาดใหญ่ในการรักษาความมั่นคงของการแยกส่วน ธาตุกัมมันตรังสีเช่นพลูโตเนียม ซีเซียม-137 และโคบอลต์-60 ได้รั่วไหลออกไปในทะเลสาบโดยรอบ[102][103].

ในสหราชอาณาจักร การรื้อถอนเครื่องปฏิกรณ์ระบายความร้อนด้วยก๊าซขั้นสูง Windscale (WAGR) ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้​​าต้นแบบขนาด 32 เมกะวัตต์เสียค่าใช้จ่าย € 117 ล้าน

ในเยอรมนี การรื้อถอนโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ Niederaichbach ขนาด 100 เมกะวัตต์มีค่าใช้จ่ายมากกว่า € 143 ล้าน

กองทุนเพื่อการรื้อถอน แก้

ในยุโรป มีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับเงินทุนที่จำเป็นสำหรับการรื้อถอนขั้นสุดท้าย ในหลายประเทศ มีทั้งแบบที่เงินทุนไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมการรื้อถอนทั้งหมดและแบบที่เงินทุนการรื้อถอนถูกนำไปใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ ทำให้การรื้อถอนอยู่ในความเสี่ยงและบิดเบือนการแข่งขันกับกลุ่มอื่นที่ไม่มีเงินทุนดังกล่าวเลย[104]

ขณะนี้คณะกรรมาธิการยุโรปกำลังมองเข้าไปในปัญหานี้ คาดว่าระหว่างสองทศวรรษข้างหน้า การแยกส่วน 150 เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในยุโรปจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ € 150 พันล้าน โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย € 1 พันล้านต่อเครื่องปฏิกรณ์[105]

ความกังวลที่คล้ายกันก็เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่คณะกรรมาธิการกำกับกิจการพลังงานสหรัฐได้จัดตั้งกองทุนที่ชัดเจนเพื่อรับประกันการขาดแคลนของค่าใช้จ่ายการรื้อถอนและขอให้ 18 โรงไฟฟ้​​ายกปัญหานี้ขึ้นมา

การทำงานร่วมกันระหว่างประเทศ แก้

มีหลายองค์กรที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้และประสบการณ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอนนิวเคลียร์ รวมถึง'สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ' 'องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์'และ'หน่วยงานพลังงานปรมาณูของประชาคมยุโรป'[7] นอกจากนี้ ระบบออนไลน์ที่เรียกว่า'เครื่องมือการจัดการข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการปิดการทำงานและการรื้อถอน'ได้รับการพัฒนาภายใต้กรมพลังงานสหรัฐอเมริกาและได้นำไปใช้กับชุมชนระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความคิดและข้อมูล เป้าหมายของความร่วมมือระหว่างประเทศในการรื้อถอนนิวเคลียร์ก็เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและปรับปรุงความปลอดภัยของคนงาน[7]

เรือ เครื่องปฏิกรณ์เคลื่อนที่ เครื่องปฏิกรณ์ทหาร แก้

เรือรบจำนวนมากและเรือพลเรือนจำนวนเล็กน้อยมีการใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการขับเคลื่อน เรือรบของอดีตสหภาพโซเวียตและของสหรัฐได้ถูกปลดประจำการและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของพวกมันถูกถอดออกหรือถูกปล่อยให้จมไปกับเรือ เรือดำน้ำและเรือทั่วไปของรัสเซียและสหรัฐยังคงทำการแยกส่วนอยู่ โรงไฟฟ้​​าในทะเลโดยทั่วไปจะมีขนาดเล็กกว่าสถานีผลิตไฟฟ้าบนบก

ดูเพิ่ม แก้

  • Nuclear Decommissioning Authority (หน่วยงานรื้อถอนนิวเคลียร์)
  • Ship-Submarine recycling program (โครงการนำเรือ-เรือดำน้ำกลับมาใช้ใหม่)
  • Nuclear entombment (การฝังกลบนิวเคลียร์)
  • Marcoule (ที่ตั้งนิวเคลียร์ฝรั่งเศส)
  • D&D KM-IT (เครื่องมือการจัดการข้อมูลความรู้การปิดการทำงานและการรื้อถอน)

อ้างอิง แก้

  1. Benjamin K. Sovacool. "A Critical Evaluation of Nuclear Power and Renewable Electricity in Asia", Journal of Contemporary Asia, Vol. 40, No. 3, August 2010, p. 373.
  2. http://www.corecut.co.uk/services/nuclear.aspx. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  3. House of Commons Committee of Public Accounts (4 February 2013). "Nuclear Decommissioning Authority: Managing risk at Sellafield" (PDF). London: The Stationery Office Limited. สืบค้นเมื่อ 2 Dec 2013. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  4. 4.0 4.1 "Nuclear Decommissioning: Decommission nuclear facilities". World-nuclear.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-19. สืบค้นเมื่อ 2013-09-06.
  5. 5.0 5.1 "How old are U.S. nuclear power plants and when was the last one built? - FAQ - U.S. Energy Information Administration (EIA)". Eia.gov. สืบค้นเมื่อ 2013-09-06.
  6. "NRC: Decommissioning of Nuclear Facilities". Nrc.gov. 2013-06-28. สืบค้นเมื่อ 2013-09-06.
  7. 7.0 7.1 7.2 Nuclear Decommissioning เก็บถาวร 2008-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน article by World Nuclear Association (associaciation of nuclear reactors builders: [1]
  8. NRC: Locations of Power Reactor Sites Undergoing Decommissioning
  9. 9.0 9.1 OSTI: Appendix A - A Summary of the Shutdown and Decommissioning Experience for Nuclear Power Plants in the United States and the Russian Federation. Appendix B - A Summary of the Regulatory Environment for the Shutdown and Decommissioning of Nuclear Power Plants in the United States and the Russian Federation. Appendix C - Recommended Outlines for Decommissioning Documentation
  10. "IAEA: Taking Canada's Gentilly-1 to a "static state (by Balarko Gupta)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-29. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  11. "ASCE: Gentilly-1 a study in nuclear decommission". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-27. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  12. A Chernobyl in Québec? (correspondence on the dangers of Québec's only nuclear plant)
  13. Ontario Power Generation: Pickering Nuclear Power
  14. "FAIREWINDS: Relicensing Pickering Nuclear Generating Station". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-13. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  15. "OSTI: Energy Citations Database about Rancho Seco nuclear power plant". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-07. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  16. US-NRC: Rancho Seco nuclear power plant
  17. UNITED STATES NUCLEAR REGULATORY COMMISSION: Three Mile Island - Decommissioning Unit 2
  18. OSTI, Office of Scientific and Technical Information - Shippingport station decommissioning project: start of physical decommissioning
  19. US NRC Information Digest 2008-2009
  20. Koberstein, Paul (2005-03-09). "Trojan: PGE's Nuclear Gamble". Willamette Week. p. A1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-06-15.
  21. Yankee Rowe Nuclear Reactor (third nuclear reactor in USA, totally dismantled)
  22. Maine Yankee Nuclear Power Station, ME - Power Technology
  23. "Maine Yankee Decommissioning 80% Complete" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  24. "Maine Yankee Decommissioning Experience Report" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-12-10. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  25. Connecticut Yankee Nuclear Reactor - Complete Decommissioning
  26. SEC-INFORMATION: Connecticut Yankee The United Illuminating Company (UI), a wholly owned subsidiary of UIL Holdings Corporation (UIL), owns 9.5% of the equity of Connecticut Yankee Atomic Power Company. Connecticut Yankee has prepared a draft updated estimate of the cost of decommissioning its nuclear unit, as part of its transition to self performance of decommissioning. Connecticut Yankee's draft updated cost estimate includes an increase of approximately $270 million over the cost estimate reported in November 2002
  27. ด้วยการปิดเครื่องปฏิกรณ์ Zion 1 & 2 (2 x 1098 MWe) ของ Exelon ในปี 1998 และอยู่ใน Safstor, ได้มีการแนะนำให้เปลี่ยนกระบวนการเล็กน้อยเพื่อเร่งการรื้อถอนให้เร็วขึ้น. Exelon ได้ว่าจ้างบริษัทผู้เชี่ยวชาญ - EnergySolutions, ในการรื้อถอนโรงงานและคืนสภาพให้เป็น greenfield. เพื่อให้ประสบความสำเร็จ, ใบอนุญาตและเงินทุนในการรื้อถอนโรงงานจะถูกโอนให้กับ EnergySolutions, ซึ่งจะกลายเป็นเจ้าของและผู้รับใบอนุญาต, และสถานที่ตั้งจะคืนให้ Exelon ประมาณปี 2018. เชื้อเพลิงใช้แล้วจะยังคงเก็บไว้ในที่ตั้งโรงงานจนกว่าจะถูกนำไปเก็บไว้ในทึ่เก็บของชาติ
  28. WEBWIRE: Exelon Nuclear To Accelerate Decommissioning Of Zion Station
  29. "NRC: Humboldt Bay". Nrc.gov. สืบค้นเมื่อ 2013-09-06.
  30. Nuclear Decommissioning เก็บถาวร 2008-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน article by the association of nuclear reactor builders http://www.world-nuclear.org
  31. "IAEA: Decommissioning in China" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-08-01. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  32. "PRESS TV (Iranian News Agency) : North Korea to decommission nuclear facility". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  33. THE GUARDIAN: Nuclear agreement: North Korea halts decommissioning
  34. SCIDEV: India's energy mix needs nuclear boost
  35. "ECOWORLD: Nuclear power in India, by Avilash Roul". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-15. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  36. "INDIA - CISED: Economics of Nuclear Power Heavy Water Reactors" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-25. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  37. Federation of American Scientists: Osiraq/Tammuz Nuclear Reactor
  38. 38.0 38.1 38.2 "AIEA: Nuclear Power Reactors in Japan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-07. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  39. TEPCO: Unit No. 1 is now “in a state of meltdown” เก็บถาวร 2014-04-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน — Suspects there are holes in bottom of reactor (VIDEO)
  40. "ALERT: Melted fuel in No. 1 reactor NOT covered with water". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-20. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  41. Fukushima Nuclear Accident Update Log
  42. "3 nuclear reactors melted down after quake, Japan confirms". CNN. 7 June 2011. สืบค้นเมื่อ 13 July 2011.
  43. "'Melt-through' at Fukushima? / Govt report to IAEA suggests situation worse than meltdown". Yomiuri. 8 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-07. สืบค้นเมื่อ 8 June 2011.
  44. Nuclear Engineer Arnie Gundersen: Fukushima Meltdown May Result in 1 Million Cases of Cancer
  45. Fukushima: Find the corium? Maybe in a few thousand years or so
  46. Fukushima: A Nuclear War without a War: The Unspoken Crisis of Worldwide Nuclear Radiation
  47. "Japan to raise Fukushima crisis level to worst". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-13. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
  48. "Japan raises nuclear crisis to same level as Chernobyl". Reuters. 12 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-13. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  49. The Japan Times: Whether Tepco fails or not, it’s taxpayers’ tab
  50. "Hydrogen levels continue rising at Reactor No. 2 — Now above .50%, highest in months — Explosion risk at 4%". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-02. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  51. "Highest hydrogen levels". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-02. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  52. "Mainichi: Reactors No. 1 and 2 have holes up to 50 square CENTImeters, analysis says — Biggest hurdle now is filling with water — "Caused by hydrogen explosions" — Half million pounds of highly radioactive fuel inside reactors 1-3". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-18. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  53. "Japan Nuclear Expert: "We don't even know at this point where the melted down core is" under Reactors No. 1, 2 or 3 (VIDEO)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-02. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  54. "Coalition requests UN intervention to stabilize Spent Fuel Pool No. 4 at Fukushima — Endorsed by nuclear experts". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-02. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  55. "Footage of gov't official at Fukushima inspecting support posts under Spent Fuel Pool No. 4 (VIDEOS)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-02. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  56. ""Ability for Unit 4 to withstand another seismic event is rated at zero" -Nuclear Watchdog". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-02. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  57. Japan Nuclear Expert: There are known to be broken fuel rod assemblies in Spent Fuel Pool No. 4 เก็บถาวร 2014-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน — Large amount of radioactive material has fallen to bottom — “Many years” to get fuel out (VIDEO)
  58. THE GUARDIAN: The Fukushima nuclear plant's slow recovery offers lessons to the US
  59. Adam Curry Exposes Robert Alvarez’s Fukushima Spent Fuel Pool Fable on No Agenda
  60. The Neutron Economy: Overheated rods & rhetoric
  61. "The Other Fukushima Nuclear Power Plant". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-09. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  62. Fukushima Daini Nuclear Power Station all shutdown
  63. "Reactors in operation". IAEA. 31 December 2009. สืบค้นเมื่อ March 12, 2011.
  64. NHK-world (22 March 2012 10:52 +0900 (JST) 'Wastewater leakage found at Tokai nuclear plant เก็บถาวร 2012-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  65. Article in IAEA-TECDOC--1043: Permanent cessation of Tokai power plant's operation เก็บถาวร 2008-11-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  66. Science Links Japan: Progression of decommissioning of Tokai power plant. First case of power reactor in Japan เก็บถาวร 2011-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  67. M1 Organisation for Economic Co-operation and Development/Nuclear Energy Agency, report 2003: Strategy Selection for the Decommissioning of Nuclear Facilities (page 118).
  68. European webside on Decommissioning of Nuclear Installations - Decommissioning in Europe
  69. Nuclear Decommissioning เก็บถาวร 2008-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Reactor Building Companies) http://www.world-nuclear.org
  70. British Parliament: Estimated dates for the dismantling of nuclear reactors in the United Kingdom
  71. NEA: Decommissioning in Austria
  72. "EURONUCLEAR-NEWS: Can Austria Survive Without Nuclear Power ?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-09. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  73. SUSTAINABILITY INSTITUTE: Zwentendorf, a Nuclear Plant That Will Never Be Turned On
  74. "BR3". Eu-decom.be. สืบค้นเมื่อ 2013-09-06.
  75. "Nuclear Power in Belgium | Belgian Nuclear Energy". World-nuclear.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2013-09-06.
  76. 76.0 76.1 EU-DECOM-belgium - From 1979 until now: five framework programmes
  77. The European Nuclear Decommissioning Training Facility - Mol, Belgium, 2002
  78. "UKAEA - Case Studies - Decommissioning - Windscale Advanced Gas-Cooled Reactor". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-07. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  79. DIXON, C (1999). "WAGR decommissioning : preparation, removal and disposal of the WAGR heat exchangers". Nuclear energy. 38 (6): 361–369. {{cite journal}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  80. Summary of Responses เก็บถาวร 2012-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน to Discussion Letter on Future of Windscale
  81. "MP's vow to fight for Winfrith future (From Thisisdorset)". Thisisdorset.net. 2007-09-04. สืบค้นเมื่อ 2013-09-06.
  82. "Winfrith - Quarterly report for 1 July - 30 September 2011". Hse.gov.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-08. สืบค้นเมื่อ 2013-09-06.
  83. Zona Nucleare - La centrale nucleare in fase di smantellamento ex-ENEL di Caorso (Piacenza)
  84. "Il Fiume Po: La Centrale Nucleare di Caorso". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  85. "Relazione della SOGIN per lo smantellamento di Caorso - ultima pagina" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-05-03. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  86. "Accordo tra la SOGIN e la Sudsvik svedese". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-28. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  87. LA REPUBBLICA: Per Caorso un addio lungo mezzo secolo, piano ENEL per smantellare la centrale
  88. Zona Nucleare - La centrale nucleare in fase di smantellamento ex-ENEL di Garigliano (Caserta)
  89. Zona Nucleare - La centrale nucleare in fase di smantellamento ex-ENEL di Foce Verde (Latina)
  90. Zona Nucleare - La centrale nucleare in fase di smantellamento ex-ENEL di Trino Vercellese (Vercelli)
  91. NEA: Decommissioning in the Netherlands
  92. "Nuclear Power in Slovenia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-16. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
  93. Nuclear Energy Agency: Decommissioning in Switzerland
  94. Nuclear Decommissioning เก็บถาวร 2008-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน article by the international association of nuclear reactor builders http://www.world-nuclear.org
  95. "World Nuclear Association: Nuclear Power in Bulgaria". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-21. สืบค้นเมื่อ 2014-06-23.
  96. La storia dei ripetuti incidenti a Majak
  97. "UK-Russia Closed Nuclear Cities Partnership". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-14. สืบค้นเมื่อ 2014-06-23.
  98. Russia shuts second plutonium-producing reactor at Seversk
  99. BBC: Austria against restarting of nuclear reactor at Jaslovske Bohunice
  100. European Bank for Reconstruction and Development: Breakthrough for Chernobyl nuclear decommissioning efforts (Consortium Novarka to build New Safe Confinement Holtec International to complete Spent Fuel Storage) เก็บถาวร 2008-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  101. "Heuel-Fabianek, B., Kümmerle, E., Möllmann-Coers, M., Lennartz, R. (2008) : The relevance of Article 37 of the Euratom Treaty for the dismantling of nuclear reactors. atw - International Journal for Nuclear Power 6/2008" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-09-11. สืบค้นเมื่อ 2014-06-23.
  102. Le Télégramme: Brennilis
  103. "Ouest-France: "Brennilis : EDF se fait taper sur les doigts"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 2014-06-23.
  104. ENDS: Nuclear decommissioning funds “require oversight” เก็บถาวร 2019-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  105. Europe Has 150 Nuclear Reactors to Decommission in Two Decades