การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศนิวซีแลนด์
การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศนิวซีแลนด์ เป็นส่วนหนึ่งของการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง 2 (SARS-CoV-2) โดยพบผู้ป่วยรายแรกในประเทศนิวซีแลนด์เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ประเทศนี้มีผู้ป่วยรวม 1,039 ราย (872 รายได้รับการยืนยันและ 167 รายที่เป็นไปได้; กรณีที่เป็นไปได้คือเมื่อผู้ป่วยมีผลทดสอบเป็นลบสำหรับโควิด-19 แต่ยังคงมีอาการของไวรัส) ตั้งแต่ 4 เมษายน พ.ศ. 2563 มีหนึ่งคนเสียชีวิตจากไวรัส[1] และมีเคสเกิดขึ้นในพื้นที่คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขตทั้งหมด 20 แห่งของประเทศ
การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศนิวซีแลนด์ | |
---|---|
แผนที่การระบาดของโรคในนิวซีแลนด์โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขต (ตั้งแต่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2563)
มีผู้ป่วยยืนยันแล้วกว่า 200 ราย
มีผู้ป่วยยืนยันแล้ว 100–199 ราย
มีผู้ป่วยยืนยันแล้ว 50–99 ราย
มีผู้ป่วยยืนยันแล้ว 10–49 ราย
มีผู้ป่วยยืนยันแล้ว 1–9 ราย | |
โรค | โควิด-19 |
สถานที่ | ประเทศนิวซีแลนด์ |
การระบาดครั้งแรก | อู่ฮั่น ประเทศจีน |
วันแรกมาถึง | 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (4 ปี 9 เดือน 24 วัน) |
ผู้ป่วยยืนยันสะสม | 15,910 คน[1] (ทั้งหมด) |
ผู้ต้องสงสัยป่วย‡ | 376 คน[1] (ทั้งหมด) |
หาย | 14,737 คน[1] |
เสียชีวิต | 52 คน[1] |
รวม ILI สะสม | 1,497 คน[1] |
www | |
‡ ผู้ป่วยต้องสงสัยยังไม่ได้รับยืนยันว่าเกิดขึ้นจากสายพันธุ์นี้จากการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ แม้อาจแยกสายพันธุ์อื่นออกไปบ้างแล้ว |
วันที่ 21 มีนาคม มีการริเริ่มระบบเตือนภัยสี่ระดับในวันที่ 21 มีนาคมเพื่อจัดการการระบาดในประเทศ ทีแรกตั้งไว้ที่ระดับ 2 ที่ปรับขึ้นเป็นระดับ 3 และเป็นระดับ 4 เมื่อวันที่ 25 มีนาคมซึ่งทำให้รัฐบาลสั่งล็อกดาวน์ทั่วประเทศ ก่อนค่อย ๆ ปรับลดลงมาเป็นระดับ 3 เมื่อวันที่ 27 เมษายน ซึ่งทำให้ผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์บางส่วน และเหลือระดับ 2 ในวันที่ 13 พฤษภาคม คงเหลือเพียงการเว้นระยะห่างทางสังคมและจำกัดการชุมนุมเท่านั้น ประเทศลดระดับการเตือนภัยเหลือระดับ 1 ในัวนที่ 8 มิถุนายน ซึ่งยกเลิกการจำกัดทุกอย่างยกเว้นการควบคุมชายแดน
เส้นเวลา
แก้ข้อมูลเกี่ยวกับวันก่อนหน้าได้รับการเปิดเผยในระหว่างการแถลงข่าวของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งมักจะเกิดขึ้นเวลา 13.00 น. ของทุกวัน วันที่และเวลาทั้งหมดต่อไปนี้เป็นเวลานิวซีแลนด์: เวลาออมแสงนิวซีแลนด์ (เวลาสากลเชิงพิกัด+13:00) จนถึง 5 เมษายน และเวลามาตรฐานนิวซีแลนด์ (เวลาสากลเชิงพิกัด+12:00) หลังจากนั้น
มกราคม พ.ศ. 2563
แก้เมื่อวันที่ 28 มกราคม กระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานสุขภาพแห่งชาติ (NHCC) ขึ้น เพื่อตอบสนองต่อการระบาดของโรค[2] คำสั่งโรคติดเชื้อที่ต้องแจ้งการระบาดต่อทางการจะมีผลตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม[3] ซึ่งกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพต้องรายงานกรณีที่น่าสงสัยตามพระราชบัญญัติสุขภาพ ค.ศ. 1956[4]
มิถุนายน
แก้สัปดาห์ที่ 8 มิถุนายน ไม่มีรายงานผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิตรายใหม่ และผู้ป่วยรายสุดท้ายที่กำลังรักษาได้รับการประกาศว่าหายแล้วในวันที่ 8 มิถุนายน[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "COVID-19 – current cases". Ministry of Health. 28 March 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-04. สืบค้นเมื่อ 4 April 2020.
- ↑ "Novel coronovirus update". Ministry of Health, New Zealand. 27 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2020. สืบค้นเมื่อ 28 January 2020.
- ↑ "Coronavirus: Health officials now have the power to quarantine anyone infected". The New Zealand Herald. 28 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2020. สืบค้นเมื่อ 28 January 2020.
- ↑ "Health Act 1956 No 65 (as at 30 January 2020) – Schedule 1, Section B". New Zealand Legislation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2020. สืบค้นเมื่อ 28 January 2020.
- ↑ "COVID-19 – current cases". Health.govt.nz. Ministry of Health. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-08. สืบค้นเมื่อ 2020-04-05.Archives: , , .
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศนิวซีแลนด์
- covid19.govt.nz, Main New Zealand Government website
- COVID-19 (novel coronavirus), New Zealand Ministry of Health
- Coronavirus disease (COVID-19) situation reports by the World Health Organization (official numbers of confirmed cases by country)
- Coronavirus COVID-19 Global Cases and historical data by Johns Hopkins University