การพิจารณาซัดดัม ฮุสเซน
การพิจารณาซัดดัม ฮุสเซน เป็นการพิจารณาประธานาธิบดีอิรักที่ถูกขับจากตำแหน่ง ซัดดัม ฮุสเซน โดยรัฐบาลชั่วคราวอิรัก ด้วยข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง
คณะบริหารประเทศชั่วคราวออกเสียงจัดตั้งศาลพิเศษอิรัก ประกอบด้วยผู้พิพากษาห้าคน เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เพื่อพิจารณาซัดดัม ฮุสเซนและผู้ช่วยของเขาในข้อหาอาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และพันธุฆาต[1]
การพิจารณาดังกล่าวบางส่วนมองว่าเป็นศาลเถื่อนหรือการพิจารณาจำอวด[2][3][4][5][6] องค์การนิรโทษกรรมสากลแถลงว่า การพิจารณานี้ "อยุติธรรม"[7] และฮิวแมนไรทส์วอตช์ให้ความเห็นว่า การประหารชีวิตซัดดัมนั้น "ดำเนินตามการพิจารณาอันมีตำหนิและเป็นก้าวสำคัญผิดจากหลักนิติธรรมในอิรัก"[8]
ซัดดัมถูกจับกุมตัวเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2546[9] เขาอยู่ในการคุมขังของกองทัพสหรัฐที่ค่ายครอปเปอร์ในกรุงแบกแดด ร่วมกับเจ้าหน้าที่พรรคบาธอาวุโสอีกสิบเอ็ดคน ระหว่างการพิจารณาได้รับความสนใจเป็นพิเศษระหว่างการพิจารณากิจกรรมในการรณรงค์อันรุนแรงต่อชาวเคิร์ดทางเหนือระหว่างสงครามอิรัก-อิหร่าน ต่อมุสลิมชีอะฮ์ทางใต้ใน พ.ศ. 2534 และ 2542 เพื่อปราบปรามกบฏ และในดูเญลหลังความพยายามลอบสังหารที่ล้มเหลวในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 ระหว่างสงครามอิรัก-อิหร่านเช่นกัน ซัดดัมให้การแก้ต่างว่า เขาถูกขับจากตำแหน่งโดยผิดกฎหมาย และยังเป็นประธานาธิบดีอิรัก
การพิจารณาครั้งแรกมีขึ้นต่อหน้าศาลพิเศษอิรักเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ที่การพิจารณานี้ ซัดดัมและจำเลยอื่นอีกเจ็ดคนถูกพิจารณาข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติสำหรับเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นหลังความพยายามลอบสังหารที่ล้มเหลวในดูเญลเมื่อ พ.ศ. 2525 โดยสมาชิกพรรคดะอ์วะฮ์อิสลาม การพิจารณาครั้งที่สองซึ่งแยกจากครั้งแรกมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2549[10] โดยพิจารณาซัดดัมและจำเลยร่วมอีกหกคนด้วยข้อหาพันธุฆาตระหว่างการทัพอันฟาลต่อชาวเคิร์ดในตอนเหนือของอิรัก ซัดดัมยังอาจถูกพิจารณาลับหลังสำหรับเหตุการณ์ซึ่งสืบย้อนไปได้ถึงสงครามอิรัก-อิหร่านและการรุกรานคูเวต รวมทั้งอาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อมนุษยชาติและพันธุฆาต
วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ซัดดัมถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ วันที่ 26 ธันวาคม การอุทธรณ์ของซัดดัมถูกปฏิเสธและยืนโทษประหารชีวิต ไม่มีการอุทธรณ์เพิ่มเติมและซัดดัมถูกสั่งให้ประหารชีวิตภายใน 30 วันนับแต่วันนั้น วันที่และสถานที่การประหารชีวิตนั้นเป็นความลับกระทั่งประหารแล้ว[11] ซัดดัม ฮุสเซนถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2549[12] ด้วยการเสียชีวิตของเขา ข้อกล่าวหาอื่นจึงตกไปโดยปริยาย
การไต่สวนครั้งแรก : 1 กรกฎาคม 2547
แก้ซัดดัมดูมั่นใจและท้าทายตลอดการไต่สวนนาน 46 นาที เขาเปลี่ยนไปมาระหว่างการฟังและชี้มือไปที่ผู้พิพากษาริซการ์ โมฮัมเหม็ด อามิน เขาตั้งคำถามถึงความชอบธรรมของศาลที่จัดตั้งขึ้นพิจารณาเขา เขาเรียกศาลนี้ว่า "ละคร" ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อโอกาสของบุชในการชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ[13] เขาปฏิเสธข้อกล่าวหาต่อตัวเขาอย่างเฉียบขาด เขาแถลงว่า "ทั้งหมดนี้เป็นโรงละคร อาชญากรต่อจริงคือบุช"[14] เมื่อผู้พิพากษาให้เขาระบุตัวเองในการปรากฏขึ้นครั้งแรกต่อผู้พิพากษาชาวอิรัก เขาตอบว่า "คุณเป็นคนอิรัก คุณรู้ว่าผมเป็นใคร"[15]
ซัดดัมแก้ต่างการรุกรานคูเวตของอิรักเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2533 และกล่าวถึงชาวคูเวตว่า "สุนัข" ผู้พยายามเปลี่ยนสตรีอิรักเป็น "โสเภณีสองเพนนี" ซึ่งทำให้ผู้พิพากษาเตือนมิให้ใช้ภาษาหยาบในศาล[16]
แม้ไม่มีอัยการซัดดัมปรากฏขึ้นที่การไต่สวนวันที่ 1 กรกฎาคม ภรรยาคนแรกของเขา ซาจิดา ทัลฟาฮ์ จ้างทีมอัยการกฎหมายนานาชาติ ท้ายการไต่สวนครั้งแรก ซัดดัมปฏิเสธจะลงนามเอกสารกฎหมายยืนยันรับทราบข้อกล่าวหา
การพิจารณาดูเญล : 19 ตุลาคม 2548
แก้ทางการอิรักนับตัวซัดดัมและอดีตเจ้าหน้าที่อิรักอื่นอีกเจ็ดคนขึ้นพิจารณาเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2548 สี่วันหลังการลงประชามติรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของอิรัก 15 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ศาลเจาะจงข้อกล่าวหาด้วยการสังหารมุสลิมชีอะฮ์ 148 คนจากดูเญล เพื่อเป็นการแก้แค้นความพยายามลอบสังหารที่ล้มเหลวเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 ผู้สนับสนุนซัดดัมประท้วงต่อต้านการพิจารณาในตีกริต[17]
ในการปรากฏตัวก่อนพิจารณา ที่การเปิดการพิจารณาวันที่ 19 ตุลาคม ซัดดัมดูท้าทาย เขาปฏิเสธความชอบธรรมของศาลและเอกราชจากการควบคุมของการยึดครองต่างชาติ ซัดดัมประกาศว่า "ผมไม่ตอบสนองต่อสิ่งที่เรียกว่าศาลนี้ ด้วยความเคารพทั้งหมดต่อประชาชน ผมถือสิทธิตามรัฐธรรมนูญของผมในฐานะประธานาธิบดีอิรัก" เขาเสริมว่า "ผมทั้งไม่ยอมรับหน่วยงานซึ่งจัดตั้งและให้อำนาจคุณ และการรุกราน เพราะทั้งหมดที่ตั้งอยู่บนรากฐานที่ผิดย่อมผิด"[18]
เมื่อผู้พิพากษาถามชื่อเขา ซัดดัมปฏิเสธ โดยว่า "ผมเป็นประธานาธิบดีแห่งอิรัก" เขาย้อนถาม โดยถามผู้พิพากษาชาวเคิร์ดริซการ์ โมฮัมเหม็ด อามิน "แล้วคุณล่ะเป็นใคร ผมอยากทราบว่าคุณเป็นใคร" เมื่ออามินเรียกซัดดัมว่าเป็น "อดีตประธานาธิบดี" ซัดดัมปฏิเสธอย่างเฉียบขาด โดยว่า เขายังเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอิรัก และยังไม่ถูกขับจากตำแหน่ง
หลังมีการอ่านข้อกล่าวหาให้จำเลยฟัง จำเลยทั้งแปดคนต่างแก้ต่างว่าตนไม่มีความผิด การพิจารณาซัดดัมสมัยแรกกินเวลาสามชั่วโมง ศาลเลื่อนการพิจารณาไปเป็นวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เพราะพยานบางคนกลัวเกินกว่าจะเข้าร่วม และอนุญาตให้จำเลยมีเวลาศึกษาหลักฐานมากขึ้น[19] ระหว่างการให้สัมภาษณ์ต่อสำนักข่าวอาหรับอัลอาราบิยาหลังการเปิดการพิจารณา บุตรสาวคนโตสุดของซัดดัม รากัด เรียกศาลว่าเป็น "ละครตลก" และอ้างว่าบิดาของเธอวางตัวเช่น "สิงโต" ระหว่างกระบวนการ "พ่อของฉันกล้าหาญ เป็นสิงโต ฉันภูมิใจในตัวท่านมาก" เธอกล่าว "ท่านเป็นชายผู้อุทิศชีวิตเพื่อรับใช้ประเทศของท่าน ท่านกล้าหาญในวัยหนุ่ม แล้วท่านจะมากลัวในยามนี้ได้อย่างไร" เธอเสริม
เมื่อถึงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 หัวหน้าผู้พิพากษาริซการ์ โมฮัมเหม็ด อามินเลื่อนการพิจารณาไปเป็นวันที่ 5 ธันวาคม เพื่อหาคนมาแทนทนายฝ่ายจำเลยสองคนที่เสียชีวิตและอีกคนหนึ่งซึ่งหลบหนีออกนอกประเทศหลังเขาได้รับบาดเจ็บ วันที่ 5 ธันวาคม ทีมกฎหมายฝ่ายจำเลยของซัดดัมออกจากศาลไปด้วยความโกรธหลังตั้งคำถามถึงความชอบธรรมของศาล และถามเกี่ยวกับการคืนเอกสารฝ่ายจำเลยที่กองทัพสหรัฐยึดไปและปัญหาความปลอดภัยเกี่ยวกับการคุ้มครองจำเลย ซัดดัมกับจำเลยร่วมต่อว่าหัวหน้าผู้พิพากษาอามินและศาล วันรุ่งขึ้น หลังฟังคำให้การต่อเขาหลายชั่วโมง เขาระเบิดคำพูดใส่ผู้พิพากษา เขาบอกว่าเขาเหนื่อย เขาไม่ต้องการกลับมาพิจารณาอีก และ "ไปลงนรกซะ"
วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2549 ราอูฟ ราชิด อาบิด อัล-เราะห์มานได้รับเสนอชื่อเป็นหัวหน้าผู้พิพากษาศาลชั่วคราว เขาดำรงตำแหน่งแทนอดีตหัวหน้าผู้พิพากษาริซการ์ โมฮัมเหม็ด อามิน ซึ่งเป็นชาวเคิร์ดเช่นเดียวกัน ผู้ลาออกหลังไม่พอใจที่รัฐบาลเข้าแทรกแซง[20] ซัดดัมและจำเลยร่วมคัดค้านการเปลี่ยนตัวผู้พิพากษา โดยอ้างอคติหลังเขาสั่งให้จำเลยคนหนึ่งออกจากศาล[21] และประกาศว่าพวกเขาจะคว่ำบาตรการพิจารณาภายใต้เราะห์มาน
วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2549 การพิจารณาอยู่ในภาวะยุ่งเหยิงหลังสมัยห้องพิจารณาคดีซึ่งจำเลยคนหนึ่งถูกยามลากตัวออกไป ทำให้ทีมกฎหมายฝ่ายจำเลยเดินออก และซัดดัมถูกขับออกมาหลังใช้ภาษาหยาบคายกับหัวหน้าผู้พิพากษา เมื่อความสงบกลับคืนมาอีกครั้ง มีจำเลยเพียงครึ่งเดียวและไม่มีทีมกฎหมายฝ่ายจำเลยมาพิจารณาเลย[22]
วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2549 หัวหน้าอัยการเรียกร้องโทษประหารชีวิตแก่ซัดดัมและจำเลยอีกสี่คน ผู้ต้องสงสัยจะถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอหากถูกพิพากษาว่ามีความผิดและตัดสินโทษประหารชีวิต[23]
วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549 หัวหน้าทนายความฝ่ายจำเลยของซัดดัมถูกลอบสังหารในกรุงแบกแดด ซัดดัมเริ่มอดอาหารประท้วงต่อการขาดการคุ้มครองต่อทนายความระหว่างประเทศ วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2549 มีรายงานว่าเขายุติการอดอาหารประท้วง โดยไม่ทานอาหารหนึ่งมื้อ[24]
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ทนายของซัดดัมสองคนซึ่งเป็นชาวอเมริกัน จัดการแถลงข่าวที่สมาคมสื่อแห่งชาติในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เรียกร้องความปลอดภัยอย่างเร่งด่วนสำหรับทนายฝ่ายจำเลยอิรักทุกคน และร้องเรียนในถ้อยแถลงเป็นลายลักษณ์อักษรว่าการพิจารณาอยุติธรรม และกำลังดำเนินการโดยทางการหสรัฐซึ่งใช้ชาวอิรักเป็นฉากหน้า ทนายความทั้งสองอ้างว่าสหรัฐอเมริกาปฏิเสธจะให้การคุ้มครองทนายฝ่ายจำเลยอย่างเพียงพอ แม้มีการร้องขอซ้ำแล้วซ้ำเล่า และสหรัฐอเมริกาเจตนาค้ำการพิจารณาอยุติธรรมนี้[25]
พิพากษา : 5 พฤศจิกายน 2549
แก้วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ซัดดัม ฮุสเซนถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอจากการสังหารมุสลิมชีอะฮ์ 148 คนจากดูเญล เป็นการแก้แค้นความพยายามลอบสังหารเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 หัวหน้าทนายฝ่ายจำเลยภายหลังอ้างคำพูดจากซัดดัม ฮุสเซนที่ให้เพียงก่อนหน้าศาลพิพากษา เขาว่า ซัดดัมกระตุ้นให้ประชาชน "ให้อภัยและไม่แก้แค้นต่อชาติผู้รุกราน พลเรือนของมัน"[26] การอุทธรณ์ ซึ่งบังคับโดยระบบตุลาการอิรัก ตามมา มีการคาดคะเนว่าการอุทธรณ์อาจกินเวลาหลายปี ซึ่งเลื่อนการประหารชีวิตแท้จริงไป อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม การอุทธรณ์ของซัดดัมถูกปฏิเสธและยืนโทษประหารชีวิต[27] การอุทธรณ์อีกไม่อาจกระทำได้และซัดดัมจะต้องถูกประหารภายใน 30 วันนับแต่วันนั้น การตัดสินนั้นยังต้องได้รับการให้สัตยาบันโดยประธานาธิบดีอิรักแต่ไม่อาจลดโทษได้[11]
ในบรรดาจำเลยร่วมของซัดดัม บาร์แซน อิบราฮิม อัล-ตีกริติ น้องร่วมมารดาของซัดดัมและอดีตหัวหน้าฝ่ายข่าวกรองของอิรักขณะเกิดการสังหารหมู่ดูเญล และอะวัด ฮาเหม็ด อัล-บันดาร์ อัล-ซาดุน ผู้ตัดสินโทษประหารชีวิตต่อผู้อยู่อาศัยในดูเญลในฐานะประธานศาลปฏิวัติ ถูกตัดสินโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอเช่นกัน ทั้งสองถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2550 อดีตรองประธานาธิบดีทาฮา ยาสซิน รามาดัน ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต[28] อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 โทษเปลี่ยนเป็นประหารชีวิตด้วยการแขวนคอเช่นกัน[29] และรามาดานถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2550[30]
ส่วนอดีตเจ้าหน้าที่พรรคบาธในภูมิภาคดูเญลสองคนได้รับโทษจำคุก 15 ปี และมีคนหนึ่งถูกปล่อยตัวไปเพราะขาดหลักฐาน[28]
อ้างอิง
แก้- ↑ Sachs, Susan (10 December 2003). "Iraqi Governing Council Sets Up Its Own Court for War Crimes". The New York Times.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-01. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
- ↑ The Show Trial of the Century
- ↑ "Iraq PM 'seeks Saddam show trial'". BBC News. 23 September 2004. สืบค้นเมื่อ 26 May 2010.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-07. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
- ↑ "Middle East Online". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-12. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
- ↑ "Amnesty International | Working to Protect Human Rights". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-06. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
- ↑ Iraq: Saddam Hussein Put to Death (Human Rights Watch, 30-12-2006)
- ↑ Lewis, Neil A. (15 December 2003). "The Capture of Hussein: Legal Process; Iraqis Just Recently Set Rules to Govern Tribunal". The New York Times.
- ↑ Paley, Amit R. (22 August 2006). "As Genocide Trial Begins, Hussein Is Again Defiant". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 26 May 2010.
- ↑ 11.0 11.1 "Death sentence for Saddam upheld". BBC World Service. 26 December 2006. สืบค้นเมื่อ 24 November 2011.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
- ↑ "Saddam defiant in court", 2 July 2004, Al-Jazeera.
- ↑ "Know Nothing, Do Nothing", The American Spectator, 11 October 2005.
- ↑ "You are an Iraqi. You know who I am", The Guardian, 20 October 2005.
- ↑ Saddam upsets Kuwaiti 'dogs' at Mail & Guardian online
- ↑ "Demonstrations, statements, supporting Saddam". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-01-14. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
- ↑ "Excerpts: Saddam's courtroom clashes". BBC News. 5 November 2006. สืบค้นเมื่อ 24 November 2011.
- ↑ Saddam pleads innocent, trial adjourns at MSNBC
- ↑ "Iraq court names new Saddam judge". BBC News. 23 January 2006. สืบค้นเมื่อ 24 November 2011.
- ↑ Judge orders Saddam ejected from court at Guardian Unlimited
- ↑ Howard, Michael (30 January 2006). "Judge orders Saddam ejected from court". The Guardian. London.
- ↑ Saddam prosecution begins sum up เก็บถาวร 2007-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at The Daily Telegraph
- ↑ Reuters: "Saddam ends hunger strike after missing one meal" เก็บถาวร 2008-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Published 23 June 2006.
- ↑ Attorney Says US Intimidating Saddam Hussein's Lawyers เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at Cybercast News Service
- ↑ "Saddam urges Iraqis not to take revenge on US". Associated Press. 2006-11-05.
- ↑ "Translation of Appelate ruling" (PDF). Case western University/Iraqi High Tribunal. 26 December 2006. สืบค้นเมื่อ 20 November 2009.
- ↑ 28.0 28.1 BBC (5 November 2006). "Saddam trial: Verdicts in detail". BBC News.
- ↑ "Top Saddam aide sentenced to hang". BBC News. 12 February 2007. สืบค้นเมื่อ 26 May 2010.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-22. สืบค้นเมื่อ 2007-03-22.