การป้องกันกำลังรบ

ระยะห่างทางการทหาร มาตรการป้องกันที่ใช้เพื่อบรรเทาการกระทำที่ไม่เป็นมิตร

การป้องกันกำลังรบ[1] การคุ้มครองกำลังรบ[2][3] หรือ การพิทักษ์กำลังรบ[4] (อังกฤษ: force protection: FP) หมายถึงแนวคิดในการปกป้อง บุคลากรทางทหาร สมาชิกในครอบครัว พลเรือน สิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ และการปฏิบัติการจากภัยคุกคามหรืออันตราย เพื่อรักษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติการและมีส่วนช่วยให้ภารกิจประสบความสำเร็จ[5][6][7] มันถูกใช้เป็นหลักนิยมของสมาชิกเนโท[7]

กะลาสีเรือของกองทัพเรือสหรัฐฯ ทำหน้าที่ป้องกันกำลังรบบนเรือ ยูเอสเอส โคโรนาโด ในท่าเรือซานดิเอโก เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2544

ประวัติ แก้

แนวคิดเรื่องการป้องกันกำลังรบเริ่มต้นมาจากเหตุระเบิดค่ายทหารเบรุตในเลบานอนเมื่อปี พ.ศ. 2526 ในขณะที่ช่วงสงครามเย็นได้มุ่งเน้นไปที่ไปที่การสะสมกำลังทหารขนาดใหญ่ (เช่น สหภาพโซเวียต) รูปแบบของกองทัพสหรัฐจึงเป็นรูปแบบของกองกำลังที่สามารถคาดเดาได้สำหรับการเข้าโจมตีที่ใช้วิธีนอกแบบและแบบกองโจร โดยผลที่ตามมาคือในระหว่างการปฏิบัติการรักษาสันติภาพของนาวิกโยธินสหรัฐในเลบานอนเมื่อปี พ.ศ. 2526 ได้มีการฝ่าแนวกั้นของบรรทุกของพลเรือนสองคันเข้าไปในพื้นที่หวงข้ามของนาวิกโยธินและทำการจุดระเบิดฆ่าตัวตายจากรถบรรทุกบริเวณโรงนอนของทหารสหรัฐและคันที่สองจุดระเบิดที่โรงนอนของทหารฝรั่งเศส[8]

ต่อมาได้มีการนำหลักการป้องกันกำลังรบไปใช้งานทั่วทั้งกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (และต่อมาหน่วยยามฝั่งสหรัฐได้นำไปปรับใช้งานต่อ) เพื่อให้แน่ใจว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นอีกกับกองกำลังของสหรัฐ โดยการป้องกันกำลังรบมีลักษณะเฉพาะตัวคือการเปลี่ยนกลยุทธ์ในการป้องกันอยู่ตลอดเวลาเพื่อไม่ให้อีกฝ่ายสามารถคาดเดาได้[9]

หลักการ แก้

การป้องกันกำลังรบ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดภัยหรืออันตรายแก่กำลังรบ ซึ่งอาจจะมาจากด้านใดด้านหนึ่งที่เราไม่ได้คาดคิดหรือเตรียมไว้ จึงต้องมีการเตรียมการป้องกันเอาไว้ในทุกด้านก่อนล่วงหน้า เช่น การป้องกันการโจมตีทางอากาศ การถูกเข้าปฏิบัติการนอกเหนือจากการรบ การป้องกันอาวุธชีวะเคมี รังสี และนิวเคลียร์ การระบุฝ่าย การป้องกันพื้นที่ การป้องกันด้านไซเบอร์ และการประเมินความเสี่ยง[3]

การป้องกันกำลังรบนั้นเป็นไปเพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติภารกิจและทำให้ดำเนินภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนอกจากนี้ยังช่วยให้ลดความเสียหายหากเกิดการโจมตีหรือทำอันตรายขึ้น จำกัดวงความเสียหายที่เกิดจากการปฏิบัติการทางทหารต่อพลเรือนและการปฏิบัติการโจมตีแบบไร้รูปแบบ[1]

โดยการป้องกันกำลังรบไม่หมายรวมไปถึงการทำให้ศัตรูนั้นพ่ายแพ้ หรือการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ปัญหาสภาพอากาศ หรือโรคร้าย[2]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 (ร่าง) กองทัพบก คู่มือราชการสนาม ว่าด้วย การปฏิบัติการป้องกันภายใต้สภาพแวดล้อม เคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์ (คชรน.) (PDF). กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก กองทัพบก. 2559.
  2. 2.0 2.1 คู่มือกฎการใช้กำลัง Rules of Engagement Handbook (PDF). แปลโดย เจริญผล, ปิยชาต. สถาบันกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ. 2552. p. 69.
  3. 3.0 3.1 เอกสารนำเสนอบทความทางวิชาการที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศ เรื่อง คู่มือกระบวนการวางแผนทางอากาศร่วม. แปลโดย วรสุวรรณรักษ์, วิฑูรย์. กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ. 2563.
  4. หลักสูตรการป้องกัน ชนค (PDF). โรงเรียนวิทยาศาสตร์ทหารบก. p. 3.[ลิงก์เสีย]
  5. "Force Protection". Commander, Navy Installations Command. สืบค้นเมื่อ 14 August 2021.
  6. "DOD Dictionary of Military and Associated Terms, November 2019" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-02-18. สืบค้นเมื่อ 2023-11-11.
  7. 7.0 7.1 "Allied Joint Doctrine for Force Protection" (PDF). Ministry of Defence. สืบค้นเมื่อ 14 August 2021.
  8. "23 ตุลาคม 2526 นาวิกโยธินสหรัฐ-ฝรั่งเศส ถูกถล่มที่เบรุต คร่าชีวิต 307 ราย". เนชั่นทีวี. 2021-10-23.
  9. "Guided Discussion - Force Protection" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-11-23. สืบค้นเมื่อ 2023-11-11.