การปลดปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์

การปลดปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์ (อังกฤษ: net zero emissions) สำหรับทั้งโลก หมายถึง สถานการณ์ที่การปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ รวมถึงการกำจัดแก๊สเหล่านี้อยู่ในสมดุลในช่วงเวลาที่พิจารณา มักเรียกโดยย่อว่า net zero (สุทธิรวมเป็นศูนย์)[2] ในบางกรณี การปลดปล่อยมลภาวะหมายถึงแก๊สเรือนกระจกทุกชนิด แต่ในบางกรณีหมายถึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เท่านั้น (CO2)[2] การจะไปให้ถึงเป้าสุทธิรวมเป็นศูนย์จำเป็นต้องใช้มาตรการที่ลดการปลดปล่อยแก๊สเหล่านั้น ตัวอย่างหนึ่งได้แก่การเปลี่ยนแปลงแหล่งเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์ไปใช้เชื้อเพลิงจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน หน่วยงานทั้งหลายสามารถชดเชยการปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมขององค์กรด้วยการซื้อเครดิตคาร์บอน

ประมาณการณ์โลกร้อนภายใน ค.ศ. 2100 ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้: จุดเขียว: The International Energy Agency's proposal for reducing energy-related emissions to net zero by 2050 is consistent with limiting global warming to 1.5°C. จุดเหลือง: Net-zero pledges and other pledges to reduce emissions would limit temperature rise to around 1.7°C. จุดน้ำเงิน: Since many climate pledges are not backed by policies, policies announced as of 2022 would limit temperature rise to around 2.5°C. จุดแดง: Before the 2015 Paris Agreement, the world was on a trajectory for global warming of 3.5°C.[1]

คำต่อไปนี้มักใช้แทนกัน net zero emissions (การปลดปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์) carbon neutrality (สถานภาพเป็นกลางทางคาร์บอน) และ climate neutrality (สถานภาพเป็นกลางทางภูมิอากาศ) โดยมีความหมายเหมือนกัน[3][4][5][6]: 22–24  แต่ในบางกรณี คำเหล่านี้มีความหมายที่แตกต่างกันได้[3] เช่น มาตรฐานบางอย่างสำหรับ carbon neutral certification อนุญาตให้มีการชดเชยปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้มาก แต่ net zero standards กำหนดให้ต้องลดการปลดปล่อยแก๊สลงก่อนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 จากนั้นใช้วิธีการชดเชยในส่วนไม่เกิน 10% ที่เหลือเพื่อให้สอดคลอ้งกับเป้าหมายอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5°C[7]

ในช่วยไม่กี่ปีที่ผ่านมาการปลดปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์เป็นกลไกหลักสำหรับกิจกรรมการจัดการกับปัญหาภูมิอากาศ ประเทศและองค์กรกำหนดเป้าหมายเป็นศูนย์ของตนเอง[8][9] เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2023 ราว 45 ประเทศได้ประกาศและกำลังพิจารณาใช้เป้าหมายการปลดปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์ ซึ่งครอบคลุมร้อยละ 90 ของการปลดปล่อยมลภาวะ[10] ในจำนวนนี้มีประเทศที่เคยต่อต้านกิจกรรมการจัดการกับปัญหาภูมิอากาศในทศวรรษก่อน[11][9] เป้าหมายการปลดปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์ ปัจจุบันได้ครอบคุลมร้อยละ 92 ของ GDP ร้อยละ 88 ของการปลดปล่อยมลภาวะ และร้อยละ 89 ของประชากรโลก[9] สำหรับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เป้าหมายดังกล่าวครอบคลุม ร้อยละ 65 ของ 2,000 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดโดยรายได้[9] สำหรับบริษัทใน Fortune 500 ครอบคุลมร้อยละ 63%[12][13] เป้าหมายของบริษัทนี้เกิดจากความประสงค์ของบริษัทเองและการกำกับดูแลของรัฐบาล

คำกล่าวอ้างเรื่องการปลดปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์มีความน่าเชื่อถือแตกต่างกันอย่างมาก แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมีความน่าเชื่อถือต่ำ แม้ว่าจะมีการเพิ่มการปฏิบัติการและเป้าหมาย[14] ในขณะที่ ร้อยละ 61 ของการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในโลกอยู่ภายใต้เป้าหมายบางอย่าง เป้าหมายที่น่าเชื่อถือได้ครอบคลุมเพียงร้อยละ 7 ของการปลดปล่อยก๊าซเท่านั้น ความน่าเชื่อถือที่ตำ่สะท้อนการขาดการกำกับดูแลที่มีผลบังคับผูกพันได้จริง และยังแสดงถึงความจำเป็นที่จะต้องพัฒนานวัตกรรมและการลงทุนที่จะทำให้การลดการใช้คาร์บอนเป็นจริงได้[15]

ถึงปัจจุบัน มี 27 ประเทศที่ได้ออกกฎหมายกำหนดเป้าหมายการปลดปล่อยมลภาวะในประเทศ โดยกฎหมายเหล่านี้มีเป้าการปลดปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์หรือสิ่งที่เทียบเท่ากัน[16] แต่ในขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายที่กำหนดให้บริษัทที่ประกอบการในประเทศเหล่านั้นต้องมีเป้าหมายการปลดปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์เป็นการทั่วไป หลายประเทศ เช่น สวิตเซอร์แลนด์กำลังพิจารณากฎหมายในลักษณะนี้[17]

อ้างอิง

แก้
  1. "Key findings – World Energy Outlook 2022 – Analysis". IEA (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-09-01.
  2. 2.0 2.1 Fankhauser, Sam; Smith, Stephen M.; Allen, Myles; Axelsson, Kaya; Hale, Thomas; Hepburn, Cameron; Kendall, J. Michael; Khosla, Radhika; Lezaun, Javier; Mitchell-Larson, Eli; Obersteiner, Michael; Rajamani, Lavanya; Rickaby, Rosalind; Seddon, Nathalie; Wetzer, Thom (2022). "The meaning of net zero and how to get it right". Nature Climate Change. 12 (1): 15–21. Bibcode:2022NatCC..12...15F. doi:10.1038/s41558-021-01245-w.
  3. 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :13
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :3
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :4
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :9
  7. "The Net-Zero Standard". Science Based Targets (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-12-13.
  8. "Net Zero: A short history". Energy & Climate Intelligence Unit (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 April 2023.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 "Net Zero Tracker". netzerotracker.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-29. สืบค้นเมื่อ 17 April 2023.
  10. "CAT net zero target evaluations". climateactiontracker.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-03-21.
  11. "CAT net zero target evaluations". climateactiontracker.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 29 March 2023.
  12. "Big companies keep increasing their climate commitments—especially when governments tell them to". Fortune (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 April 2023.
  13. "Taking stock: A global assessment of net zero targets". Energy & Climate Intelligence Unit (ภาษาอังกฤษ). 25 October 2021. สืบค้นเมื่อ 29 March 2023.
  14. "More companies setting 'net-zero' climate targets, but few have credible plans, report says". AP News (ภาษาอังกฤษ). 11 June 2023. สืบค้นเมื่อ 31 July 2023.
  15. "Get Net Zero Right" (PDF). UNFCC.
  16. "Evolving regulation of companies in climate change framework laws". Grantham Research Institute on climate change and the environment (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 26 July 2023.
  17. "Federal Act on Climate Protection Goals, Innovation and Strengthening Energy Security - Climate Change Laws of the World". climate-laws.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 July 2023.