การประท้วงของเกษตรกรในประเทศอินเดีย พ.ศ. 2563-2564

การประท้วงของชาวนาอินเดีย พ.ศ. 2563 - 2564 (อังกฤษ: 2020-2021 Indian farmers' protest) เป็นการประท้วงที่ดำเนินอยู่เพื่อต่อต้านรัฐบัญญัติการเกษตรใหม่สามฉบับที่ผ่านร่างโดยรัฐสภาอินเดียในปี 2020 องค์การเกษตรกรมองว่ารัฐบัญญัติเหล่านี้เป็น "กฎหมายต่อต้านเกษตรกร" (anti-farmer laws)[2][3] ในขณะที่บางส่วนระบุว่าเป็นการทิ้งเกษตรกรให้ "อยู่ภายใต้การควบคุมของนายทุน" (put farmers at mercy of corporates)[4][5]

การประท้วงของเกษตรกรในประเทศอินเดีย พ.ศ. 2563-2564
วันที่9 สิงหาคม 2020 – ดำเนินอยู่[1]
สถานที่ประเทศอินเดีย; หลัก ๆ ในเดลี
21°N 78°E / 21°N 78°E / 21; 78
สาเหตุ
เป้าหมาย
  • เพิกถอนร่างรัฐบัญญัติการเกษตรใหม่ทั้งสามฉบับ
  • การันตีราคาอุดหนุนขั้นต่ำ (minimum support price; MSP) ตามกฎหมาย
  • ยกเลิกทุกทรณีที่ปั่นป่วนชาวนา
  • ลดราคาเชื้อเพลิงลง 50%
วิธีการ
สถานะดำเนินอยู่
คู่ขัดแย้ง
จำนวน
ไม่ทราบ

ไม่นานหลังรัฐบัญญัติทั้งสามปรากฏ องค์การเกษตรกรเริ่มจัดการประท้วงในระดับท้องถิ่น ส่วนมากในรัฐปัญจาบและหรยาณา หลังการประท้วงดำเนินไปได้สองเดือน เกษตรกรได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งการเคลื่อนไหวเรียกร้องในชื่อ 'จาลโลเดลี' (Challo Delhi; แปลว่า ไปเดลีกันเถอะ) ที่ซึ่งเกษตรกรหลักหมื่นคนรวมตัวกันเดินขบวนไปยังเดลี เมืองหลวงของอินเดีย ตำรวจและเจ้าหน้าที่ปราบปรามได้ใช้แก๊สน้ำตาและน้ำแรงดันสูงเพื่อป้องกันไม่ให้เกษตรกรเดินขบวนไปถึงเดลีได้ ในวันที่ 30 พฤศจิกายน อินเดียทูเดย์ ประมาณการณ์ว่ามีเกษตรกรราว 200,000 ถึง 300,000 คนรวมพลกันตามจุดพรมแดนต่าง ๆ ของเดลี[6]

ข้อมูลจาก 1 ธันวาคม 2020 มีองค์การและสหกรณ์เกษตรกรมากกว่า 500 องค์กรที่เข้าร่วมการประท้วงนี้[7] นอกจากนี้ยังมีองค์การและสหกรณ์ผู้ขับขี่รถซึ่งมีสมาชิกผู้ขับขี่รถบรรทุก, รถขนส่ง, รถโดยสารประจำทาง และรถแท็กซี่รวมกว่า 14 ล้านคนได้ออกมาแสดงจุดยืนร่วมสนับสนุนเกษตรกร และขู่ว่าจะหยุดให้บริการดังกล่าวในบางรัฐหากระฐบาลไม่รับฟังข้อเรียกร้อง[8] ภายหลังรัฐบาลไม่สามารถดำเนินตามข้อเรียกร้องของเกษตรกรได้ในวันที่ 4 ธันวาคม ผู้ชุมนุมประท้วงได้ข่มขู่ว่าจะเริ่มการประท้วงหยุดงานพร้อมกันทั้งประเทศในวันที่ 8 ธันวาคม 2020[9]

อ้างอิง แก้

  1. AIKSCC holds protest against Agri Ordinances. 9 August 2020, The Hindu Business Line. Retrieved 28 October 2020.
  2. Vaibhav Palnitkar (21 September 2020). Why farmers protesting against 3 new Ordinances. The Quint. Retrieved 28 October 2020.
  3. Gettleman, Jeffrey; Singh, Karan Deep; Kumar, Hari (2020-11-30). "Angry Farmers Choke India's Capital in Giant Demonstrations". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2020-12-01.
  4. "'Ordinance to put farmers at mercy of corporates'". Tribuneindia News Service (ภาษาอังกฤษ). 15 June 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-12-02.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "Now, farmers will be back to serfdom, at the mercy of big corporates: Manish Tewari". Deccan Herald (ภาษาอังกฤษ). 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2020-12-02.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ IndiaToday_2to3lakh_Delhi_siege
  7. "Farmer unions agree to sit for talks with the government today". mint (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-01. สืบค้นเมื่อ 2020-12-03.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "Farmers' protest: Transporters threaten to halt operations in North India from Dec 8". Tribuneindia News Service (ภาษาอังกฤษ). 2 December 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-12-03.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ AJE_protests_to_intensify