การปกครองเวียดนามของจีนครั้งแรก

การปกครองของจีนครั้งแรก เป็นช่วงเวลาใน ประวัติศาสตร์เวียดนาม ในช่วงเวียดนามตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีนจากทางตอนเหนือ[1] ในช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่เวียดนามตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีนครั้งแรกจากทั้งหมดสี่ครั้ง ในช่วงสามครั้งของการอยู่ภายใต้จีนมักจะถูกเรียกในภาษาเวียดนามว่า Bắc thuộc, บั๊ก เถือก ที่แปลว่า ("การปกครองโดยทางเหนือ")

Bắc thuộc
บั๊ก เถือก
111 ก่อนคริสต์ศักราช–40
อาณาเขตเวียดนามภายใต้การปกครองของจีนครั้งแรก
อาณาเขตเวียดนามภายใต้การปกครองของจีนครั้งแรก
สถานะดินแดนส่วนหนึ่งของราชวงศ์ฮั่น
เมืองหลวงลองเบียน ใกล้ฮานอยในปัจจุบัน
ประวัติศาสตร์ 
111 ก่อนคริสต์ศักราช
40
ก่อนหน้า
ถัดไป
หนานเยฺว่
สองพี่น้องจึง
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเวียดนาม เวียดนาม
จีน จีน

ในช่วง 111 ปีก่อนคริสตกาล ราชวงศ์ฮั่นของจีน ได้ผนวกรวม อาณาจักรหนานเยฺว่ ในระหว่างการขยายดินแดนทางตอนใต้ของราชวงศ์ฮั่น อาณาเขตที่ราชวงศ์ฮั่นยึดได้นั้นรวมพื้นที่บริเวณเวียดนามตอนเหนือเข้าด้วยกันและบริเวณ กวางตุ้ง และ กวางสี, ได้ถูกรวมเข้ากับจักรวรรดิชาวจีนฮั่น ในหลายครั้งชาวจีนฮั่นได้ปกครองชาวพื้นเมืองทางตอนใต้หรือชาวเวียดอย่างกดขี่ ทำให้เกิดการต่อต้านของชาวเวียดนามต่อการปกครองของฮั่นที่ต่อมาได้เกิดการก่อจลาจลต่อชาวฮั่นโดยมี พี่น้องจึง เป็นผู้นำ ทั้งสองพี่น้องจึง ได้ต่อสู้ขับไล่ชาวฮั่นผู้ปกครองไปได้สำเร็จ ในปี ค.ศ. 40 และได้ปกครองเวียดนามจนกระทั่งกองทัพจีนฮั่นได้กลับเข้ามารุกรานและยึดครองอีกครั้งในปี ค.ศ. 43

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

 
เวียดนามภายใต้การปกครองของจีนครั้งแรกประกอบด้วยดินแดน   (สีเขียวใบไม้) และ   (สีเขียวเข้ม)

ในช่วง 111 ปีก่อนคริสตกาล ราชวงศ์ฮั่นของจีนได้ส่งกองทัพเข้ารุกรานและโค่นล้มผู้สืบทอดของเจ้า ถัว (เจี่ยวด่า) และรวมดินแดนอาณาจักรหนานเยฺว่ซึ่งรวมอาณาจักรเอิวหลัก เข้ากับราชวงศ์ฮั่น ภายใต้ชื่อใหม่ว่า เจียวจื่อ (เกียวจิ), โดนแบ่งการปกครองของอาณาจักรโบราณที่ยึดมาได้เป็น 9 กองบัญชาการ โดยมีหลักฐาน 3 กองบัญชาการในหนังสือประวัติศาสตร์เวียดนาม:[2][3]

  1. หนานไฮ่ (; เวียดนาม: นัม ฮ่าย; ตั้งอยู่ใน หลิงหนาน, ภาคกลางของ มณฑลกวางตุ้ง ในปัจจุบัน)
  2. เหอผู่ (; เวียดนาม: เฮิบ โฟ่; ตั้งอยู่ใน หลิงหนาน, ชายฝั่งทะเลตอนใต้ของ มณฑลกวางสี)
  3. คางหวู่ (; เวียดนาม: เทือง โง; ตั้งอยู่ใน หลิงหนาน, ภาคตะวันออกของ มณฑลกวางสี)
  4. ยู่หลิน (/; เวียดนาม: อ๊วด เลิม; ตั้งอยู่ใน หลิงหนาน, สันนิษฐานว่าเป็น กุ้ยหลิน, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลกวางสี)
  5. จูหยา (; เวียดนาม: เจิว ญาย; ตั้งอยู่ที่ เกาะไหหลำ)
  6. ดันเอ่อร์ (; เวียดนาม: ซาม หยี่; ตั้งอยู่ที่ เกาะไหหลำ)
  7. เจียวจื่อ (交趾; เวียดนาม: เกียวจิ; ตั้งอยู่ที่ภาคเหนือของประเทศเวียดนามและตอนใต้ของมณฑลกวางสี)
  8. จิวเจิน (; เวียดนาม: กื่อ เจิน; สันนิษฐานว่าอาจจะตั้งอยู่ในภาคกลางของเวียดนาม)
  9. รื่อหนาน (; เวียดนาม: เญิ๊ดนาน; สันนิษฐานว่าอาจจะตั้งอยู่ในภาคกลางของเวียดนาม)

ทั้ง 9 เขตได้รับการปกครองดูแลจาก ลองเบียน, ใกล้กับเมืองฮานอยเมืองหลวงของเวียดนามในปัจจุบัน;[4] ทั้งหมดถูกปกครองโดยข้าราชการชาวจีนฮั่นที่ถูกส่งมาจากจีน โดยชาวพื้นเมืองเวียดนามจะเรียกผู้ปกครองเหล่านั้นว่า หลักเหิ่ว (lạc hầu) และ หลักเตื๊อง (lạc tướng)

การเปลี่ยนเป็นจีน แก้

ในช่วงระหว่างระยะเวลา 100 ปี แห่งการที่เวียดนามตกภายใต้อิทธิพลและอยู่ในฐานะอาณานิคมของจีน นโยบายการเปลี่ยนเป็นจีน หลังจากการเข้ารวบรวมดินแดนหนานเยฺว่ ได้นำไปสู่ การผสมผสานรวมกันของกองกำลังทหารจักรวรรดิฮั่น, การตั้งถิ่นฐานและการไหลบ่าเข้ามาของชาวจีนฮั่น, เจ้าหน้าที่และทหารรักษาการณ์, นักวิชาการ, ข้าราชการ, รวมไปถึงผู้หลบหนีลี้ภัยทางการเมืองและเชลยศึกกับชาวพื้นเมืองดั้งเดิม[5][6] ในเวลาเดียวกันเจ้าหน้าที่ผู้ปกครองของจีนต่างสนใจที่จะใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและศักยภาพทางการค้า พวกเขาจึงกอบโกยที่ดินอุดมสมบูรณ์ซึ่งได้จากการยึดครองและขับไล่ชนพื้นเมืองเวียดนาม โดยให้ชาวจีนฮั่นผู้มาอยู่ใหม่ได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานแทน[7][8] การปกครองของจีนฮั่นทำให้เกิดอิทธิพลใหม่ ๆ ต่อชาวเวียดนามในท้องถิ่นและการปกครองเวียดนามเป็นไปในสภาพฐานะเป็นจังหวัดของจีน โดยดำเนินการเป็นด่านพรมแดนของจักรวรรดิฮั่น[9] ราชวงศ์ฮั่นได้หมดหวังที่จะขยายการเกษตรบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงเนื่องจากประสบกับการต่อต้านของชนพื้นเมืองอยู่ตลอด จึงเปลี่ยนดินแดนเวียดนามเป็นเมืองท่าแหล่งค้าขายที่จะทำหน้าที่เป็นจุดอุปทานที่สะดวกและเป็นเส้นทางการค้าขายสำหรับเรือสำเภาจีนฮั่นซึ่งได้ทำให้จีนมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการค้าทางทะเลที่กำลังเติบโตกับดินแดนภาคใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การจัดตั้งเป็นสถานีการค้าที่โดดเด่นได้มีหลักฐานการติดต่อกับอินเดียโบราณและจักรวรรดิโรมันที่นำเรือมาค้าขาย[10] ในช่วงศตวรรษแรกของการปกครองของจีนเวียดนามได้รับการผ่อนปรนและโดยอ้อมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายท้องถิ่นอย่างฉับพลัน ในขั้นต้นการปฏิบัติของชาวเวียดนามพื้นเมืองถูกปกครองในระดับท้องถิ่น แต่ถูกตัดสิทธิ์ในด้านการปกครองตนเอง โดยผู้ปกครองห้ามเป็นชาวพื้นเมืองเวียดนามโดยตรง เจ้าหน้าที่ปกครองท้องถิ่นจะต้องเป็นเจ้าหน้าที่ชาวจีนฮั่นที่ถูกส่งมาจากจีนเท่านั้น[11] อย่างไรก็ตามในสมัยศตวรรษแรกคริสต์ศักราช ราชวงศ์ฮั่นได้พยายามที่เสาะหาครอบครองดินแดนใหม่ ๆ โดยใช้นโยบายกลืนชาติต่างๆเป็นจีน โดยการเพิ่มภาษีและจัดตั้งการปฏิรูปการแต่งงานให้ผู้ปกครองชาวจีนฮั่นแต่งงานกับชนพื้นเมืองเพื่อเป็นการกลืนชาติเวียดนามให้เป็นจีน โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งเป้าไปที่การเปลี่ยนเวียดนามให้กลายเป็นสังคมปรมาจารย์ที่มีความรับผิดชอบทางการเมืองมากขึ้น[12][13][14]

ชาวพื้นเมืองเวียดนามต้องจ่ายภาษีและบรรณาการเป็นผลผลิตทางการเกษตรต่างๆอย่างหนักให้กับจีนราชวงศ์ฮั่น เพื่อแลกกับการที่จะต้องถูกการปกครองท้องถิ่นและดูแลทางการทหาร ตลอดจนชายชาวพื้นเมืองเวียดนามต้องถูกเกณฑ์เข้ากองทัพจีนฮั่น[15] ชาวจีนพยายามอย่างรุนแรงในการกลืนเวียดนามให้เป็นชาวจีน โดยใช้นโยบายหลายนโยบายสลับกัน ได้แก่นโยบายโดยสงบสันติและโดยการบังคับกดขี่หรือนโยบายการปกครองทางการเมืองที่โหดร้ายของจีน[16]

อ้างอิง แก้

  1. Charles S. Prebish Buddhism: A Modern Perspective 1975 Page 174 "This was the first Chinese domination of Vietnam which lasted until A.d. 39, when the heroic Tru'un Trac, outraged at the Chinese for the unjust execution of her husband, and her younger sister Tru'un Nhi, managed to free the land for a brief four years."
  2. Google Books result
  3. http://thuviengiaoan.com/giao-an-mon-lich-su-lop-6-chuong-iii-thoi-ki-bac-thuoc-va-dau-tranh-gianh-doc-lap-truong-thcs-pha-lai-2554/
  4. Taylor 63
  5. Chua, Amy (2003). World On Fire. Knopf Doubleday Publishing. p. 33. ISBN 978-0385721868.
  6. Suryadinata, Leo (1997). Ethnic Chinese As Southeast Asians. Institute of Southeast Asian Studies. p. 268.
  7. Tucker, Spencer (1999). Vietnam. University of Kentucky Press. pp. 6–7. ISBN 978-0813121215.
  8. Bowman, John Stewart (2000). Columbia Chronologies of Asian History and Culture. Columbia University Press (ตีพิมพ์ August 15, 2000). p. 524. ISBN 978-0231110044.
  9. Murphey, Rhoads (1997). East Asia: A New History. Pearson. pp. 119–120. ISBN 978-0205695225.
  10. Bowman, John Stewart (2000). Columbia Chronologies of Asian History and Culture. Columbia University Press (ตีพิมพ์ August 15, 2000). p. 525. ISBN 978-0231110044.
  11. Tucker, Spencer (1999). Vietnam. University of Kentucky Press. p. 6. ISBN 978-0813121215.
  12. Anderson, David (2005). The Vietnam War (Twentieth Century Wars). Palgrave. ISBN 978-0333963371.
  13. Tucker, Spencer (1999). Vietnam. University of Kentucky Press. pp. 6–7. ISBN 978-0813121215.
  14. Tucker, Spencer (1999). Vietnam. University of Kentucky Press. p. 6. ISBN 978-0813121215.
  15. Tucker, Spencer (1999). Vietnam. University of Kentucky Press. p. 6. ISBN 978-0813121215.
  16. Murphey, Rhoads (1997). East Asia: A New History. Pearson. pp. 119–120. ISBN 978-0205695225.