การนมัสการของคนเลี้ยงแกะ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
การนมัสการการของคนเลี้ยงแกะ (อังกฤษ: Adoration of the Shepherds) ในงานศิลปะของการประสูติของพระเยซู เป็นฉากที่เหล่าคนเลี้ยงแกะเป็นพยานถึงการประสูติของพระเยซูในเมืองเบธเลเฮม ซึ่งเกิดขึ้นถึงหลังจากการประสูติไม่นาน มักจะถูกรวมเข้าด้วยกันในงานศิลปะกับการนมัสการของโหราจารย์ ซึ่งในกรณีนี้มักจะเรียกชื่อของผลงานว่าการนมัสการของโหราจารย์ ฉากคนเลี้ยงแกะรับสาร เมื่อทูตสวรรค์เรียกคนเลี้ยงแกะมายังสถานที่ประสูติ เป็นอีกหัวเรื่องหนึ่งต่างหากในงานศิลปะ
เรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิล
แก้การนมัสการของคนเลี้ยงแกะเป็นตอนหนึ่งในเรื่องเล่าเกี่ยวกับการประสูติของพระเยซูที่ระบุในพระวรสารนักบุญลูกา ขณะที่เหล่าคนเลี้ยงแกะกำลังเฝ้าดูฝูงแกะของพวกตนในตอนกลางคืนใกล้กับเบธเลเฮม ทูตสวรรค์ปรากฏขึ้นเพื่อประกาศข่าวดีว่า "วันนี้ พระผู้ช่วยให้รอดของพวกท่านคือพระคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้ามาประสูติที่เมืองของดาวิด"[1] ทูตสวรรค์ให้หมายสำคัญว่าเหล่าคนเลี้ยงแกะจะพบพระผู้ช่วยให้รอดในรูปของ "พระกุมารนั้นพันผ้าอ้อมนอนอยู่ในรางหญ้า"[1] "ในทันใดนั้น ชาวสวรรค์หมู่หนึ่ง" (คำภาษากรีกที่ใช้ในที่นี้หมายถึงขบวนทหาร หรือกองทัพ) ปรากฏตัวขึ้นและร่วมกับทูตสวรรค์สรรเสริญว่า "พระสิริมีแด่พระเจ้าในที่สูงสุด สันติสุขจงมีท่ามกลางมนุษย์ทั้งหลายที่พระองค์โปรดปรานนั้น"[1]
15 เมื่อทูตสวรรค์เหล่านั้นไปจากพวกเขาขึ้นสู่สวรรค์แล้ว บรรดาคนเลี้ยงแกะก็พูดกันว่า "ให้เราไปยังเมืองเบธเลเฮมดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามที่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงแจ้งกับเรา" 16 เขาก็รีบไป แล้วพบนางมารีย์กับโยเซฟ และพบพระกุมารนั้นนอนอยู่ในรางหญ้า
ฉากคนเลี้ยงแกะรับสาร ซึ่งฉากก่อนหน้าการนมัสการของคนเลี้ยงแกะเป็นหัวเรื่องที่แยกต่างหากในศิลปะคริสเตียน และบางครั้งก็รวมอยู่ในฉากการประสูติเป็นองค์ประกอบรอบข้าง (แม้ว่าจะเกิดขึ้นก่อนการนมัสการก็ตาม) ดังเช่นในภาพวาดปี ค.ศ. 1485 โดยโดเมนีโก กีร์ลันดาโย ในภาพของกีร์ลันดาโยยังแสดงขบวนเดินทางของโหราจารย์ที่กำลังจะมาถึงพร้อมของขวัญ
คลังภาพ
แก้-
การนมัสการของโหราจารย์ ใน พิพิธภัณฑ์ไบแซนไทน์คริสเตียน ในกรุงเอเธนส์
-
ดุชโช ดี บูโอนินเซญญา, ค.ศ. 1308–1311
-
จอตโต, ราว ค.ศ. 1320
-
อันเดรอา มันเตญญา, ค.ศ. 1451–1453
-
ฮือโค ฟัน เดอร์คุส, ราว ค.ศ. 1475
-
กอร์เรจโจ, ค.ศ. 1529
-
เกาเดนซีโอ แฟร์รารี, ราว ค.ศ. 1533
-
บรามันตีโน, ราว ค.ศ. 1500–1535
-
จาโกโป บัสซาโน, ค.ศ. 1580
-
นีโกลาส มาส, ค.ศ. 1660–1690
-
เคราร์ด ฟัน โฮนต์ฮอสต์, ค.ศ. 1622
-
มัตตียัส สโตม, ระหว่าง ค.ศ. 1625–1650
-
French Limoges enamel plaque, กลางศตวรรษที่ 16
-
กวีโด เรนี, ค.ศ. 1630–1642
-
ยาโกบ ยอร์ดานส์, ค.ศ. 1657
-
เกรโกริโอ เฟร์นันเดซ, ราว ค.ศ. 1614
-
โปลีโดโร ดา การาวัจโจ, ศตวรรษที่ 16
-
ฌอร์ฌ เดอ ลา ตูร์, ราว ค.ศ. 1644
-
เอลเกรโก, ค.ศ. 1614
-
รูปเคารพทางศาสนาของชาวยูเครน, ปลายศตวรรษที่ 17
-
อีญัส รอแบร์, ราว ค.ศ. 1691, อาสนวิหารตูล
-
เซบัสตีอาโน กองกา, ราว ค.ศ. 1720
-
โจวันนี โดเมนีโก ตีเอโปโล, ราว ค.ศ. 1751–1753
-
เจมส์ ทิสโซ, ค.ศ. 1886–1894
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Edwards 2015.
บรรณานุกรม
แก้- Beckwith, John (1969). Early Medieval Art. Thames and Hudson. ISBN 0-500-20019-XISBN 0-500-20019-X.
- Edwards, James R. (2015). The Gospel of Luke. Eerdmans. ISBN 9780802837356.
- Levey, Michael (1961). From Giotto to Cézanne. Thames and Hudson. ISBN 0-500-20024-6ISBN 0-500-20024-6.
- Myers, Bernard (1965, 1985). Landmarks of Western Art. Hamlyn. ISBN 0-600-35840-2ISBN 0-600-35840-2.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ การนมัสการของคนเลี้ยงแกะ