การตัดหลอดนำอสุจิ

(เปลี่ยนทางจาก การทำหมันชาย)

การตัดหลอดนำอสุจิ หรือ การทำหมันชาย (อังกฤษ: vasectomy) เป็นขั้นตอนการผ่าตัดเพื่อทำหมันชายหรือเพื่อเป็นการคุมกำเนิดแบบถาวร ประกอบด้วยการตัดหรือผูกหลอดนำอสุจิเพื่อป้องกันไม่ให้อสุจิเข้าไปยังท่อปัสสาวะ และเป็นการป้องกันการปฏิสนธิ การตัดหลอดนำอสุจิมักทำในคลินิกทางการแพทย์ หรือคลินิกสัตวแพทย์หากทำในสัตว์ ด้วยขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อนและรอยแผลขนาดเล็ก ผู้เข้ารับการผ่าตัดจึงมักไม่ต้องพักอยู่ในโรงพยาบาลหลังการผ่า

การตัดหลอดนำอสุจิ
ความรู้พื้นฐาน
ประเภทการคุมกำเนิดการทำหมัน
เริ่มใช้ครั้งแรกพ.ศ. 2442 (มีการทดลองตั้งแต่ พ.ศ. 2328)[1]
อัตราการล้มเหลว (ในปีแรกของการใช้)
เมื่อใช้อย่างถูกต้อง0.10%
เมื่อใช้แบบทั่วไป0.15%[2]
"Vas-Clip" เกือบ 1%
การใช้
ระยะเวลาที่มีผลถาวร
การย้อนกลับเป็นไปได้แต่ค่าใช้จ่ายสูง
สิ่งที่ผู้ใช้ควรรู้การตรวจน้ำอสุจิสองครั้งเพื่อยืนยันว่าไม่มีตัวอสุจิ
ข้อดีข้อเสีย
ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกัน
ข้อดีไม่ต้องใช้ยาสลบ ค่าใช้จ่ายและลุกล้ำน้อยกว่าการทำหมันหญิง
ความเสี่ยงการอักเสพของอัณฑะชั่วคราว, อาการเจ็บหลังการทำหมัน
ถุงอัณฑะหลังการตัดท่อนำอสุจิ แสดงรอยช้ำ รอยเย็บ และการโกนขนบนถุงอัณฑะ

มีหลายวิธีที่ศัลยแพทย์อาจใช้เพื่อตัดหลอดนำอสุจิ โดยทุกวิธีมีการอุดท่อนำอสุจิอย่างน้อยหนึ่งข้าง เพื่อลดความกังวลสำหรับผู้ที่กลัวเข็มอาจใช้ยาชาแบบ "ไร้เข็ม" ส่วนเทคนิก "ไร้มีดผ่าตัด" หรือ "ปลายเปิด" อาจช่วยลดเวลาฟื้นตัว

การตัดหลอดนำอสุจิมักใช้เวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมงด้วยความเรียบง่ายของการผ่าตัด ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้หลังพักระยะหนึ่ง (มักไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง) ด้วยวิธีที่แทบไม่ลุกล้ำเลย ทำให้ผู้ป่วยหลายคนสามารถกลับมาร่วมเพศโดยปกติได้ภายในหนึ่งอาทิตย์หลังผ่าตัด โดยแทบไม่รู้สึกเจ็บ

ความที่เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบถาวรทำให้การย้อนกลับเป็นไปได้ยาก ผู้ชายมักได้รับคำแนะนำให้คิดถึงผลกระทบระยะยาวของการทำหมันต่อทั้งอารมณ์และร่างกายของคนไข้ ผู้ชายวัยหนุ่มที่ยังไม่แต่งงานไม่ได้รับการแนะนำให้ใช้วิธีนี้ เพราะทำให้แทบไม่มีโอกาสมีลูกเลยแบบถาวร วิธีนี้ไม่ค่อยถูกใช้ในสุนัข (ที่มักใช้การตอน) แต่มักใช้กับวัวตัวผู้[3]

การใช้ทางการแพทย์ แก้

การตัดหลอดนำอสุจิถูกใช้เพื่อหยุดการเจริญพันธุ์ในผู้ชาย โดยทำให้แน่ใจว่าผู้เข้ารับการผ่าตัดจะเป็นหมัน วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีถาวรด้วยความที่การย้อนการทำหมันมีค่าใช้จ่ายสูงและมักไม่สามารถย้อนปริมาณและคุณภาพของการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิกลับมาได้เท่าระดับก่อนการผ่าตัด ผู้ชายที่ผ่านการทำหมันแทบไม่มีโอกาส (เกือบศูนย์) ทำผู้หญิงตั้งท้องได้เลย ทว่าการทำหมันไม่มีผลกระทบต่ออัตราการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

หลังการตัดหลอดนำอสุจิลูกอัณฑะยังคงอยู่ในถุงอัณฑะ และเซลล์เลย์ดิก (Leydig cell) ยังคงผลิตเทสโทสเตอโรนและฮอร์โมนเพศชายอื่น ๆ เข้ายังกระแสเลือด บางงานวิจัยพบว่าความต้องการทางเพศอาจลดลงเล็กน้อยหลังตัดหลอดนำอสุจิ[4][5]

หลังการตัดหลอดนำอสุจิ ตัวอสุจิไม่สามารถออกจากร่างกายผ่านองคชาต แม้อัณฑะยังคงผลิตอสุจิ ไม่นาตัวอสุจิก็จะถูกย่อยและดูดซึมเข้าร่างกาย ของเหลวส่วนใหญ่ถูกดูดซึมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ในเอพิดิไดมิส และของแข็งส่วนใหญ่ถูกย่อยสลายโดยมาโครเฟจและได้รับการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือกอีกครั้ง ตัวอสุจิเติบโตในเอพิดิไดมิสเป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือนก่อนออกจากอัณฑะ หลังการตัดหลอดนำอสุจิ เยื่อหุ้มเซลล์ต้องขยายขนาดเพื่อดูดซึมของเหลวในประมาณมากขึ้น สิ่งนี้ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเพิ่มจำนวนมาโครเฟจจำเพื่อมาดูดซับส่วนที่เป็นของแข็ง ภายในหนึ่งปีหลังการตัดหลอดนำอสุจิ 65–70% ของผู้เข้าผ่าตัดมีสารภูมิต้านทานต้านทานอสุจิ (antisperm antibodies)[6] ในบางกรณี อาจเกิด vasitis nodosa บนเนื้อเยื่อบุผิวท่อ[7][8] การสะสมของอสุจิเพิ่มแรงดันภายในหลอดนำอสุจิและเอพิดิไดมิส  หากตัวอสุจิเข้าไปยังถุงอัณฑะ ร่างกายอาจผลิต แกรนูโลมาของอสุจิ (sperm granulomas) เพื่อซึมซับอสุจิที่ร่างกายมองว่าเป็นวัตถุแปลกปลอม (คล้ายไวรัสหรือแบคทีเรีย)[9]

ประสิทธิผล แก้

การตัดหลอดนำอสุจิเป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบถาวรที่มีประสิทธิผลสูงสุดสำหรับผู้ชาย โดยดีกว่าการผูกท่อนำไข่ (การผ่าตัดทำหมันหญิง) ในแทบทุกทาง การผูกท่อนำไข่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า, ลุกล้ำน้อยกว่า, ย้อนกลับง่ายกว่า และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดน้อยกว่า อัตราการล้มเหลวระยะแรก อีกนัยหนึ่งคือการตั้งครรภ์ภายในไม่กี่เดือนหลังการทำหมัน มักเกิดจากการร่วมเพศโดยไม่ป้องกันเร็วเกินไปหลังผ่าตัด ทำให้อสุจิบางส่วนยังคงเคลือนตัวผ่านท่อนำอสุจิเข้าไปปฏิสนธิ แพทย์หรือศัลยแพทย์มักแนะนำให้ตรวจสอบอสุจิหนึ่ง (บางทีสอง) ครั้งเพื่อยืนยันความสำเร็จของการผ่าตัด อย่างไรก็ตามผู้ชายหลายคนไม่กลับไปยืนยัน โดยให้เหตุผลว่าไม่สะดวก, อาย, ลืม หรือแน่ใจอยู่แล้วว่าเป็นหมัน[10] ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2541 องค์การอาหารและยารับรองชุดตรวจทางบ้านที่มีชื่อว่า SpermCheck Vasectomy ที่ทำให้ผู้รับการผ่าตัดสามารถตรวจสอบยืนยันด้วยตนเอง[11] อย่างไรก็ตามอัตราการให้ความร่วมมือในการวิเคราะห์น้ำอสุจิหลังการผ่าตัดก็ยังคงต่ำ 

เหตุการณ์การล้มเหลวระยะหลังหรือการตั้งครรภ์หลังท่อนำอสุจิกลับมาต่อกันเองอีกครั้งก็ได้รับการบันทึกไว้เช่นกัน[12] Royal College of Obstetricians and Gynaecologists กล่าวว่าอัตราการล้มเหลวของการตัดท่อนำอสุจิอยู่ที่ 1 ในการผ่าตัด 2000 ครั้ง ซึ่งดีกว่าการผูกท่อนำไข่ซึ่งมีอัตราการล้มเหลวอยู่ที่ 1 ใน 200 ถึง 300 ครั้ง[13] รายงานจาก พ.ศ. 2548 รวมอัตราการล้มเหลวทั้งในระยะแรกและระยะหลังจำนวนทั้งหมด 183 ครั้งที่ท่อนำอสุจิกลับมาต่อกันเอง จากการตัดท่อนำอสุจิทั้งหมด 43,642 ครั้ง (0.4%) และเกิดการตั้งครรภ์ 60 ครั้งหลังการตัดท่อนำอสุจิ 92,184 ครั้ง (0.07%)[14]

ความแพร่หลาย แก้

อัตราการตัดท่อนำอสุจิแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ[15] การทำหมันหญิงเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมทั่วโลก โดยมีผู้หญิงจำนวน 223 ล้านคนที่พึ่งการทำหมันหญิง ทว่ามีผู้หญิงเพียง 28 ล้านคนที่พึ่งการทำหมันชายของคู่เพื่อคุมกำเนิด[16] ใน 69 ประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดในโลกโดยเฉลี่ยมีเพียง 0.1% ของผู้ชายเท่านั้นที่ทำหมัน จากทั้ง 54 ประเทศในทวีปแอฟริกามีเพียงสิบประเทศเท่านั้นที่มีรายงานการใช้การตัดท่อนำอสุจิที่สามารถวัดได้ และมีเพียงในประเทศสวาซิแลนด์ ประเทศบอตสวานา และประเทศแอฟริกาใต้เท่านั้นที่ความแพร่หลายมากกว่า 0·1% ตารางแสดงอัตราของผู้หญิงทั้งหมดที่พึ่งพาการตัดท่อนำอสุจิเพื่อคุมกำเนิดในแต่ละประเทศ

ประเทศ การใช้การตัดท่อนำอสุจิ
แคนาดา 22%
สหราชอาณาจักร 17% - 21%
นิวซีแลนด์ 17% - 21%
เกาหลีใต้ 17% - 21%
ออสเตรเลีย ~10%
เบลเยียม ~10%
เดนมาร์ก ~10%
สเปน ~10%
สวิตเซอร์แลนด์ ~10%
สวาซิแลนด์ 0.3%
บอตสวานา 0.4%
แอฟริกาใต้ 0.7%

อ้างอิง แก้

  1. Popenoe P (1934). "The progress of eugenic sterilization". Journal of Heredity. 25 (1): 19.
  2. Trussell, James (2011). "Contraceptive efficacy". ใน Hatcher, Robert A.; Trussell, James; Nelson, Anita L.; Cates, Willard Jr.; Kowal, Deborah; Policar, Michael S. (eds.) (บ.ก.). Contraceptive technology (20th revised ed.). New York: Ardent Media. pp. 779–863. ISBN 978-1-59708-004-0. ISSN 0091-9721. OCLC 781956734. {{cite book}}: |editor6-first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help) Table 26–1 = Table 3–2 Percentage of women experiencing an unintended pregnancy during the first year of typical use and the first year of perfect use of contraception, and the percentage continuing use at the end of the first year. United States. เก็บถาวร 2013-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Dean A. Hendrickson; A. N. Baird (5 June 2013). Turner and McIlwraith's Techniques in Large Animal Surgery. John Wiley & Sons. p. 541. ISBN 978-1-118-68404-7.
  4. Nielsen CM, Genster HG (1980). "Male sterilization with vasectomy. The effect of the operation on sex life". Ugeskrift for Lægerer. 142 (10): 641–643. PMID 7368333.
  5. Dias, P. L. R. (1983). "The long-term effects of vasectomy on sexual behaviour". Acta Psychiatrica Scandinavica. 67 (5): 333–338. doi:10.1111/j.1600-0447.1983.tb00350.x. PMID 6869041.
  6. Hattikudur, S.; Shanta, S. RAO; Shahani, S.K.; Shastri, P.R.; Thakker, P.V.; Bordekar, A.D. (2009). "Immunological and Clinical Consequences of Vasectomy*". Andrologia. 14 (1): 15–22. doi:10.1111/j.1439-0272.1982.tb03089.x. PMID 7039414.
  7. Deshpande RB, Deshpande J, Mali BN, Kinare SG (1985). "Vasitis nodosa (a report of 7 cases)". J Postgrad Med. 31 (2): 105–8. PMID 4057111.
  8. Hirschowitz, L; Rode, J; Guillebaud, J; Bounds, W; Moss, E (1988). "Vasitis nodosa and associated clinical findings". Journal of Clinical Pathology. 41 (4): 419–423. doi:10.1136/jcp.41.4.419. PMC 1141468. PMID 3366928.
  9. Christiansen C, Sandlow J (2003). "Testicular Pain Following Vasectomy: A Review of Post vasectomy Pain Syndrome". Journal of Andrology. 24 (3): 293–8. PMID 12721203. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-06. สืบค้นเมื่อ 2018-01-21.
  10. Christensen, R. E.; Maples, D. C. (2005). "Postvasectomy Semen Analysis: Are Men Following Up?". The Journal of the American Board of Family Medicine. 18: 44–47. doi:10.3122/jabfm.18.1.44.
  11. Klotz, Kenneth L.; Coppola, Michael A.; Labrecque, Michel; Brugh Vm, Victor M.; Ramsey, Kim; Kim, Kyung-ah; Conaway, Mark R.; Howards, Stuart S.; Flickinger, Charles J.; Herr, John C. (2008). "Clinical and Consumer Trial Performance of a Sensitive Immunodiagnostic Home Test That Qualitatively Detects Low Concentrations of Sperm Following Vasectomy". The Journal of Urology. 180 (6): 2569–2576. doi:10.1016/j.juro.2008.08.045. PMC 2657845. PMID 18930494.
  12. Philp, T; Guillebaud, J; Budd, D (1984). "Late failure of vasectomy after two documented analyses showing azoospermic semen". BMJ. 289 (6437): 77–79. doi:10.1136/bmj.289.6437.77. PMC 1441962. PMID 6428685.
  13. Royal College of Obstetricians and Gynaecologists. "Sterilisation for women and men: what you need to know".
  14. Griffin, T; Tooher, R; Nowakowski, K; Lloyd, M; Maddern, G (2005). "HOW LITTLE IS ENOUGH? THE EVIDENCE FOR POST-VASECTOMY TESTING". The Journal of Urology. 174 (1): 29–36. doi:10.1097/01.ju.0000161595.82642.fc. PMID 15947571.
  15. Jacobstein, Roy (December 2015). "The kindest cut: global need to increase vasectomy availability". The Lancet. Global Health. 3 (12): e733–734. doi:10.1016/S2214-109X(15)00168-0. ISSN 2214-109X. PMID 26545447.
  16. "Contraceptive Use 2011". UN Department of Economic and Social Affairs, Population Division, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้