การซื้ออะแลสกา
การซื้ออะแลสกา (อังกฤษ: Alaska Purchase; รัสเซีย: продажа Аляски) เป็นการที่สหรัฐอเมริกาได้มาซึ่งรัชเชียนอเมริกาจากจักรวรรดิรัสเซีย ใน ค.ศ. 1867 โดยสนธิสัญญาซึ่งวุฒิสภาสหรัฐอนุมัติ
รัสเซีย: Высочайше ратифицированная конвенція объ уступкѣ Сѣверо-Американскимъ Соединеннымъ Штатамъ Россійскихъ Сѣверо-Американскихъ Колоній[a] | |
---|---|
เช็ค 7.2 ล้านดอลลาร์ที่ใช้ซื้ออะแลสกา (คิดเป็น 140 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามค่าเงินในปี 2021)[1] | |
วันลงนาม | 30 มีนาคม ค.ศ. 1867 |
ที่ลงนาม | วอชิงตัน ดี.ซี., สหรัฐ |
วันให้สัตยาบัน | 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1867 |
วันมีผล | 18 ตุลาคม ค.ศ. 1867 |
ผู้ลงนาม | |
ภาษา |
|
รัสเซียต้องการขยายดินแดนอะแลสกา ด้วยเกรงว่าดินแดนดังกล่าวอาจถูกยึดหากเกิดสงครามกับอังกฤษ กิจกรรมหลักของรัสเซียในดินแดนดังกล่าวคือการค้าขนสัตว์และงานสอนศาสนาในหมู่ชนพื้นเมืองอะแลสกา สหรัฐอเมริกาได้ดินแดนเพิ่มขึ้นมา 1,518,800 ตารางกิโลเมตรจากการซื้ออะแลสกา ปฏิกิริยาต่อการซื้ออะแลสกาในสหรัฐอเมริกานั้นผสมกัน โดยผู้คัดค้านเรียกว่า "ความเขลาของซูเวิร์ด" ด้วยรู้สึกว่า วิลเลียม เอช. ซูเวิร์ด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ผู้เจรจาหลักฝ่ายอเมริกา ได้รับข้อต่อรองที่เลวที่สุด
อะแลสกามีการจัดการการปกครองในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ Department of Alaska (ค.ศ. 1867-1884), เขตอะแลสกา (ค.ศ. 1884-1912), ดินแดนอะแลสกา (ค.ศ. 1912-1959) และรัฐอะแลสกา โดยเข้าร่วมเป็นรัฐที่ 50 ของสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 1959
ประวัติ
แก้ในขณะที่รัสเซียอยู่ในสถานะทางการเงินที่ค่อนข้างแย่ และเกรงการสูญเสียอาณานิคมอเมริการัสเซียโดยปราศจากการชดเชยในความขัดแย้งในอนาคต โดยเฉพาะกับประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ต่อสู้ในสงครามไครเมีย (ค.ศ. 1853-1856) ขณะที่อะแลสกาเริ่มดึงดูดความสนใจของผู้คนในเวลานั้น จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ใกล้อาณาเขตรัฐบริติชโคลัมเบีย แคนาดา เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ปีหลังจากการสู้รบจบลง นอกจากนี้การตื่นทอง (Gold rush) ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นการกระตุ้นการขยายอาณานิคมของอังกฤษในเกาะแวนคูเวอร์ (Vancouver Island) ที่ซึ่งกองทัพเรือฝรั่งเศสและอังกฤษล่าถอยไปแล้วหลังการสู้รบที่ Petropavlovsk ในเขตรัสเซียตะวันออกไกล รัสเซียตัดสินใจว่าในอนาคตการสู้รบกับอังกฤษนั้นยากที่จะป้องกันดินแดนอะแลสกาไว้ได้ ซึ่งอาจจะเป็นเป้าหมายหลักและถูกครอบครองอย่างง่ายๆ ด้วยเหตุนี้จักรพรรดิซาร์อะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซียตัดสินพระทัยที่จะขายดินแดน โดยมีการเริ่มประมูลทั้งประเทศอังกฤษและอเมริกา อังกฤษแสดงออกถึงความสนใจเล็กน้อยในการซื้ออะแลสกา ใน ค.ศ. 1859 รัสเซียเสนอที่จะขายดินแดนแก่สหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามการซื้อดินแดนต้องหยุดชะงักลงเนื่องจากสงครามกลางเมืองอเมริกัน
หลังจากการติดตามชัยชนะของฝ่ายเหนือในสงครามกลางเมือง พระเจ้าซาร์ชี้นำให้รัฐมนตรีรัสเซียนามว่า Eduard de Stoeckl เดินทางไปสหรัฐอเมริกา เพื่อที่จะเจรจาต่อรองกับวิลเลียม เอช. ซูเวิร์ด ในช่วงเดือนมีนาคม ค.ศ. 1867 การเจรจาดำเนินไปตลอดคืนและจบลงด้วยการลงนามสนธิสัญญาเมื่อเวลาตี 4 ของวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1867 ด้วยการซื้อดินแดนอะแลสกาในราคา 7.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราคาประมาณ 2 เซนต์ ต่อเอเคอร์ (4.74 ดอลลาร์ ต่อตารางกิโลเมตร)
หมายเหตุ
แก้- ↑ Highly ratified convention on giving up the Russian North American Colonies to the North American United States
อ้างอิง
แก้- ↑ 1634–1699: McCusker, J. J. (1997). How Much Is That in Real Money? A Historical Price Index for Use as a Deflator of Money Values in the Economy of the United States: Addenda et Corrigenda (PDF). American Antiquarian Society. 1700–1799: McCusker, J. J. (1992). How Much Is That in Real Money? A Historical Price Index for Use as a Deflator of Money Values in the Economy of the United States (PDF). American Antiquarian Society. 1800–present: Federal Reserve Bank of Minneapolis. "Consumer Price Index (estimate) 1800–". สืบค้นเมื่อ 1 January 2020.