กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์

กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ (อังกฤษ: Anti Trafficking In Person Division; อักษรย่อ: บก.ปคม.) เป็นหน่วยงานทางการป้องกันและปราบปรามค้ามนุษย์ของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ทั่วราชอาณาจักร ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2548 จัดตั้งขึ้นระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548

กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์
ตรากองบังคับการ
อักษรย่อบก.ปคม.
คำขวัญต่อต้านการค้ามนุษย์ พิทักษ์เด็ก เยาวชนและสตรี นำความผาสุกสู่ประชาชน และความมั่นคงสู่ประเทศ
ข้อมูลองค์กร
ก่อตั้ง30 มิถุนายน, พ.ศ. 2548 (18 ปี 94 วัน)
โครงสร้างเขตอำนาจ
เขตอำนาจในการปฏิบัติการประเทศไทย
สำนักงานใหญ่แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

ผู้บริหารหน่วยงาน
  • พลตำรวจตรี ศารุติ แขวงโสภา, ผู้บังคับการ
หน่วยงานปกครอง กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
บทบาทการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
เขตอำนาจปกครอง ● 9 กองกำกับการ
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานี7 แห่ง
เว็บไซต์
www.atpdpolice.com

กองบังคับการประกอบด้วย 6 กองกำกับการ ฝ่ายอำนวยการ และงานสืบสวน ปัจจุบัน ผู้บังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ คือ พลตำรวจตรี ศารุติ แขวงโสภา

ประวัติ แก้ไข

กองบังคับการปรามปรามการค้ามนุษย์ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2548 จัดตั้งขึ้นระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548 โดยมีชื่อว่า "กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็ก เยาวชน และสตรี"

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552 กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่และชื่อว่า "กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์"

และในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557 ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2557 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์"

ตำรวจปราบปรามการค้ามนุษย์สามารถจับกุมและช่วยเหลือเด็กเพื่อการค้าประเวณีและผลิตหรือแพร่สื่อลามก อย่างยุทธการลูกแกะน้อยออนไลน์ เป็นการจับกุมเครือข่ายโมเดลลิ่งขายบริการทางเพศเด็กออนไลน์ มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีเป็นเหยื่อจำนวนกว่า 40 ราย[1][2] การใช้แรงงานเด็กต่างชาติ อย่างเครือข่ายใช้แรงงานเด็กชาวกัมพูชา เพื่อทางการค้าโดยแรงงานมาเดินเร่ขายแว่นตา หรือพวงมาลัย[3] การล่อลวงเพื่อภาพอนาจารเด็ก อย่างการจับกุมเครือข่ายล่อลวงเด็กถ่ายภาพและวีดิทัศน์ลามกอนาจารแลกไอเทมเกมออนไลน์[4]

ตรากองบังคับการ แก้ไข

รูปปั้นข้าราชการตำรวจอุ้มประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บโดยมีเด็กยืนเกาะขา แสดงถึงข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ ที่มีภารกิจการให้ความช่วยเหลือ และปราบปรามการค้ามนุษย์

รูปดาวแปดแฉก 8 ดวง แสดงถึง หน่วยงานในกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ แบ่งเป็น 8 หน่วย ได้แก่ ฝ่ายอำนวยการ กองกํากับการ 1–6 งานสอบสวน

ช่อชัยพฤกษ์ แสดงถึง ความเจริญรุ่งเรืองของหน่วยงานที่จะให้ความช่วยเหลือประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อน และการสร้างชื่อเสียงให้กับหน่วยงาน

ขอบในสีธง แสดงถึง สีของธงชาติไทยเพื่อแสดงให้หน่วยงานต่างชาติทราบว่า หน่วยงานปราบปรามการค้ามนุษย์ของไทย

ภารกิจ แก้ไข

  • รักษาความสงบเรียบร้อยป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ทั่วราชอาณาจักร
  • ปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ รวมทั้งความผิดเกี่ยวกับแรงงานและการจัดระเบียบสังคม และความผิดอื่นที่เกี่ยวเนื่อง
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

ผู้บังคับการ แก้ไข

รายชื่อผู้บังคับการกองปรามปรามการค้ามนุษย์
ชื่อ ระยะเวลา
กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็ก เยาวชน และสตรี
พลตำรวจตรี คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง พ.ศ. 2548–2550
พลตำรวจตรี วิมล เปาอินทร์ พ.ศ. 2550–2551
พลตำรวจตรี วิสุทธิ์ วานิชบุตร พ.ศ. 2551
กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์
พลตำรวจตรี ชัยวัฒน์ เกตุวรชัย พ.ศ. 2551–2554
พลตำรวจตรี ชวลิต แสวงพืชน์ พ.ศ. 2554–2556
กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์
พลตำรวจตรี กิตติศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ พ.ศ. 2556–2557
พลตำรวจตรี ธิติ แสงสว่าง พ.ศ. 2557–2558
พลตำรวจตรี กรไชย คล้ายคลึง พ.ศ. 2558–2561
พลตำรวจตรี วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา พ.ศ. 2561–2562
พลตำรวจตรี สยาม บุญสม พ.ศ. 2562–2564
พลตำรวจตรี วิวัฒน์ คำชำนาญ พ.ศ. 2564–2565
พลตำรวจตรี ศารุติ แขวงโสภา พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน

อ้างอิง แก้ไข

แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข