กองทุนราษฎรประสงค์

กองทุนราษฎรประสงค์ เป็นกองทุนช่วยเหลือเงินประกันตัวผู้ต้องหาคดีทางการเมือง ก่อตั้งในชื่อนี้เมื่อ พ.ศ. 2564 โดยไอดา อรุณวงศ์ และชลิตา บัณฑุวงศ์ โดยเป็นการรวบรวมเงินตั้งต้นมาจากกองทุนช่วยเหลือเงินประกันตัวคดีการเมือง 2 กองทุนหลังเกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557[2] อันได้แก่กองทุนประกันคดีการเมืองในศาลทหาร ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2557 และกองทุนคดี "คนอยากเลือกตั้ง" ในศาลพลเรือน ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2561[3] ต่อมาในวันที่ 25 มีนาคม 2565 ผู้ก่อตั้งกองทุนทั้งสองได้ยื่นเรื่องจัดตั้งมูลนิธิสิทธิอิสราขึ้นมาเพื่อดูแลบัญชีกองทุนแทน[4][5]

พริษฐ์ ชิวารักษ์ หนึ่งในบุคคลที่ได้รับการปล่อยตัวโดยความช่วยเหลือจากกองทุนราษฎรประสงค์เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2565[1]

เหตุการณ์สำคัญ แก้

วันที่ 28 มีนาคม 2564 ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล เจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุมนุมหมู่บ้านทะลุฟ้า[6] มีผู้ชุมนุมจำนวน 99 คนถูกควบคุมตัวไปที่สโมสรตำรวจ โดยกองทุนราษฎรประสงค์ต้องระดมเงินภายในคืนวันนั้นเพื่อวางประกันในวงเงินคนละ 20,000 บาท หรือ 1,980,000 บาทสำหรับทั้ง 99 คน ที่จะถูกนำตัวไปฝากขังที่ศาลแขวงดุสิตในวันรุ่งขึ้น[7] ต่อมาในวันที่ 29 มีนาคม 2564 เวลา 6.46 น. กองทุนราษฎรประสงค์ได้ประกาศยอดเงินระดมทุนทางเพจเฟซบุ๊ก ว่าผลการระดมทุนทำให้ขณะนั้นยอดเงินในบัญชีมีสูงถึงกว่า 6 ล้านบาท เพียงพอสำหรับการวางประกันผู้ต้องหาทุกคน[8]

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 เกิดเหตุการณ์ระดมเงินครั้งใหญ่ครั้งที่สองของกองทุนราษฎรประสงค์ โดยมีประกาศระดมเงินทางเพจเฟซบุ๊กของกองทุนราษฎรประสงค์ว่าต้องใช้เงิน 2,800,000 บาทภายในหนึ่งชั่วโมงข้างหน้า เพื่อวางประกันอานนท์ นำภา และพริษฐ์ ชิวารักษ์[9][10] และได้รับยอดเงินบริจาคกว่า 10 ล้านบาทภายใน 3 ชั่วโมง[11]

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ศาลอาญามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยจำนวนสามคนโดยใช้เงินประกันจากกองทุนราษฎรประสงค์ โดยระบุว่านายประกันและเงินประกันไม่เกี่ยวข้องกับผู้กำกับดูแล ทนายความจึงได้ยื่นคำร้องใหม่โดยใช้เงินส่วนตัวของผู้เสนอตัวเป็นผู้กำกับดูแลเอง ศาลถึงได้อนุญาตให้ประกัน[12]

อ้างอิง แก้

  1. ""เพนกวิน" ได้ประกันตัว พร้อม 6 เงื่อนไข ให้โอกาสออกไปเรียน 3 เดือน". ไทยรัฐ. 2022-02-24. สืบค้นเมื่อ 2022-02-25.
  2. "กองทุนราษฎรประสงค์: ถ้าประเทศเป็นประชาธิปไตย การประกันตัวจะเป็นสิทธิ เงินประกันจะเป็นสวัสดิการ". The MATTER. 2021-09-23.
  3. "ที่มาและหลักการ – มูลนิธิสิทธิอิสรา".
  4. "ย้าย 9 ล้าน 'กองทุนราษฎรฯ' จดทะเบียน 'มูลนิธิสิทธิอิสรา' สานการต่อสู้ระยะยาว". มติชน. 2022-04-26. สืบค้นเมื่อ 2022-07-11.
  5. "เกี่ยวกับเรา – มูลนิธิสิทธิอิสรา".
  6. "หมู่บ้านทะลุฟ้า", วิกิพีเดีย, 2022-10-24, สืบค้นเมื่อ 2022-11-05
  7. "สรุปคดีหมู่บ้านทะลุฟ้า จับมากสุดเป็นสถิติ 99 คน แจ้ง 5 ข้อหา ก่อนได้ประกันตัวทั้งหมด | ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน". 2021-03-29.
  8. กองทุนราษฎรประสงค์ ที่เฟซบุ๊ก
  9. "ทนายความเผย ศาลอนุญาตให้ประกัน เพนกวิน-อานนท์ แล้ว แต่หลักทรัพย์ไม่เพียงพอวางประกัน". The Standard. 2022-02-22. สืบค้นเมื่อ 2022-02-23.
  10. กองทุนราษฎรประสงค์ ที่เฟซบุ๊ก
  11. "3 ชม. พุ่ง 10 ล้าน! แห่โอนช่วย อานนท์-เพนกวิน ทะลักกองทุนราษฎรประสงค์". มติชน. 2022-02-22. สืบค้นเมื่อ 2022-02-23.
  12. "ศาลให้เปลี่ยนผู้กำกับดูแล-เงินประกัน ก่อนให้ประกัน "แซม – แม็ก – มิกกี้บัง" วงเงินคนละ 1 แสน พร้อมให้ติด EM และอีก 4 เงื่อนไข". ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน. 2022-11-22. สืบค้นเมื่อ 2023-02-11.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้