กองความมั่นคงและข่าวกรอง

หน่วยข่าวกรองสิงคโปร์

กองความมั่นคงและข่าวกรอง (อังกฤษ: Security and Intelligence Division: SID) เป็นหน่วยข่าวกรองต่างประเทศของสิงคโปร์ภายใต้ขอบเขตของกระทรวงกลาโหม (MINDEF) ซึ่งได้รับมอบหมายให้รวบรวม ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลจากทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติและผลประโยชน์ของชาติสิงคโปร์[2]

กองความมั่นคงและข่าวกรอง
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509; 58 ปีก่อน (2509-02-17)
เขตอำนาจรัฐบาลสิงคโปร์
บุคลากรชั้นความลับ
รัฐมนตรี
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ชั้นความลับ, ผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดหน่วยงานกระทรวงกลาโหม[1]
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

แม้ว่ากองความมั่นคงและข่าวกรอง (SID) จะตกอยู่ภายใต้ขอบเขตการดูแลของกระทรวงกลาโหม (MINDEF) แต่ก็มีความเป็นอิสระจากภายในกระทรวง[3] กองความมั่นคงและข่าวกรองยังมีความลับอย่างมาก บุคลากรส่วนใหญ่เป็นที่รู้จักของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศเท่านั้น[4]

กองความมั่นคงและข่าวกรอง (SID) นำโดยผู้อำนวยการซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่าปลัดกระทรวง และรายงานตรงต่อสำนักนายกรัฐมนตรี (PMO)[5] ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1970 ผู้อำนวยการจะต้องรายงานตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

เบื้องหลัง แก้

กองความมั่นคงและข่าวกรอง (SID) มีภูมิหลังคล้ายคลึงกับหน่วยงานภายในประเทศ นั่นคือกรมความมั่นคงภายใน (ISD)

หลังเหตุการณ์กบฏสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2458 เพื่อรวบรวมข้อมูลทางการเมือง การจารกรรม และการสอดแนมการบ่อนทำลายที่อาจเกิดขึ้น[6] มีการจัดตั้งสำนักข่าวกรองทางการเมืองขึ้นในสิงคโปร์ภายใต้การบังคับบัญชาและการควบคุมโดยตรงของ พลตรี ดัดลีย์ ฮาวเวิร์ด ไรเอาท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดสิงคโปร์[7] ซึ่งในที่สุดก็กลายเป็นหน่วยสันติบาลในปี พ.ศ. 2462[6]

ก่อนปี พ.ศ. 2508 หน่วยข่าวกรองหลักของสิงคโปร์คือหน่วยสันติบาลมาเลเซีย หลังจากที่สิงคโปร์ได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2508 กระทรวงมหาดไทยและกลาโหม (MID) ได้รับคำสั่งให้จัดระเบียบใหม่และรวบรวมความสามารถด้านข่าวกรองทั้งหมดในเดือนมกราคม พ.ศ. 2509 ต่อมากองความมั่นคงและข่าวกรอง (SID) ได้รับการจัดตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 โดยมี เทย์ โซว ฮวา เป็นผู้อำนวยการคนแรก[8]

ในปี พ.ศ. 2517 เอส.อาร์. นาธาน ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองความมั่นคงและข่าวกรอง (SID) ได้นำทีมเจรจาเพื่อช่วยแก้ไขวิกฤตตัวประกันลาจู[9]

เนื่องจากกองความมั่นคงและข่าวกรอง (SID) เป็นองค์กรที่มีความลับสูง ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ จึงถูกเผยแพร่สู่สื่อเป็นครั้งคราวเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2544 ยับ ฉุน เว่ย นักข่าวจากเดอะสเตรตส์ไทมส์ สัมภาษณ์อดีตเจ้าหน้าที่กองความมั่นคงและข่าวกรอง (SID) เกี่ยวกับงานของหน่วยงาน เจ้าหน้าที่รายดังกล่าวซึ่งไม่เปิดเผยชื่อกล่าวว่ากองความมั่นคงและข่าวกรองทำงานในรูปแบบหลัก 3 วิธี ได้แก่ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการทูตอย่างไม่เป็นทางการ[10] นอกจากนี้กองความมั่นคงและข่าวกรอง (SID) ยังถูกกล่าวถึงในหนังสือ From Third World to First: The Singapore Story: 1965–2000 ของ ลี กวนยู ซึ่งกล่าวกันว่ามีบทบาทในการจัดหาอาวุธให้กับกองกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในสงครามกลางเมืองกัมพูชาในคริสต์ทศวรรษ 1970[11] กองความมั่นคงและข่าวกรองยังมีบทบาทในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิงคโปร์กับอินโดนีเซียขึ้นใหม่หลังจากที่การเผชิญหน้าอินโดนีเซีย–มาเลเซียสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2509[10] ทิม ฮักซ์ลีย์ เขียนประวัติโดยย่อของกองความมั่นคงและข่าวกรอง (SID) ในหนังสือของเขาเรื่อง Defending the Lion City: The Armed Forces of Singapore ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2543[12]

อดีตเจ้าหน้าที่กองความมั่นคงและข่าวกรอง (SID) ที่ให้สัมภาษณ์โดยยับกล่าวว่าเจ้าหน้าที่กองความมั่นคงและข่าวกรองไม่ค่อยได้รับรางวัลสาธารณะ เนื่องจากปัญหาด้านความปลอดภัยและการเมือง พวกเขาจะได้รับชุดเหรียญรางวัลที่เทียบเท่ากับเหรียญวันชาติแทน แต่จะไม่มีการเผยแพร่ชื่อของพวกเขา[10]

ในปี พ.ศ. 2547 สำนักเลขาธิการประสานงานความมั่นคงแห่งชาติ (NSCS) ได้รับการจัดตั้งขึ้นภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี (PMO) เพื่อจัดการกับภัยคุกคามด้านความมั่นคงและการก่อการร้าย ซึ่งหมายความว่ากองความมั่นคงและข่าวกรอง (SID) และกรมความมั่นคงภายใน (ISD) ซึ่งก่อนหน้านี้ทำงานแยกจากกัน จะต้องแบ่งปันข้อมูลเป็นครั้งแรก[13]

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 มีการกล่าวหาว่ากองความมั่นคงและข่าวกรอง (SID) ร่วมมือกับกองอำนวยการสัญญาณออสเตรเลีย เพื่อเจาะสายเคเบิลโทรคมนาคมใยแก้วนำแสงใต้ทะเลที่เชื่อมโยงเอเชีย ยุโรป และตะวันออกกลาง[14]

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 กองความมั่นคงและข่าวกรอง (SID) ได้เปิดตัวเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ เพื่อดึงดูดและคัดเลือกผู้มีความสามารถเข้าสู่ตำแหน่งของตนมากขึ้น[15]

ผู้อำนวยการ แก้

รายชื่ออดีตผู้อำนวยการกองข่าวกรองความมั่นคง ตัวตนของผู้อำนวยการจะไม่เปิดเผยต่อสาธารณะอย่างชัดเจน จนกว่าพวกเขาจะลาออกจากตำแหน่ง

ชื่อ ดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ อ้างอิง
เทย์ โซว ฮวา พ.ศ. 2509–? [8]
ถัน บูน เซ็ง พ.ศ. ?–2514 [16]
เอส.อาร์. นาธาน พ.ศ. 2514–2522 [9][16]
เอ็ดดี้ ทิโอ พ.ศ. 2522–2537 [17][18]
ชอย ชิง กว๊ก พ.ศ. 2538–2548 [10][19][20][21][22]
ชี วี คิง พ.ศ. 2548–2553 [23][24][25]
อึ้ง ชี่ เคิร์น พ.ศ. 2553–2557 [26]
โจเซฟ เหลียง พ.ศ. 2557–2562 [27]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Security and Intelligence Division Launches Official Website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2021.
  2. "Reflections on Thirty-Five Years of Public Service: From Espionage to Babies" (PDF). Ethos. January 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 April 2015. สืบค้นเมื่อ 14 September 2013.
  3. "Present at the Creation" (PDF). Defence Science Organisation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 May 2006. สืบค้นเมื่อ 31 March 2011.
  4. "Our History". sid.gov.sg. สืบค้นเมื่อ 19 July 2021.
  5. "Video: Building Security Partnerships in Asia (Chee Wee Kiong)". Blip. สืบค้นเมื่อ 7 April 2014.
  6. 6.0 6.1 Ban, Kah Choon (2001). The Untold Story of Special Branch Operations in Singapore 1915-1942. Raffles.
  7. Comber, Leon (13 August 2009). "The Singapore Mutiny (1915) and the Genesis of Political Intelligence in Singapore". Intelligence and National Security. 24 (4): 529–541. doi:10.1080/02684520903069462. S2CID 154217090.
  8. 8.0 8.1 "Tay Seow Huah Book Prize". S Rajaratnam School of International Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2014. สืบค้นเมื่อ 19 January 2014.
  9. 9.0 9.1 "S. R. Nathan". National Library Board Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2013. สืบค้นเมื่อ 19 January 2014.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 Yap, Chuin Wei (19 May 2001). "Examining the world's second-oldest profession". The Straits Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2014. สืบค้นเมื่อ 19 January 2014.
  11. Lee, Kuan Yew (2000). From Third World to First: The Singapore Story: 1965-2000. HarperCollins. pp. 378–379. ISBN 0060197765.
  12. Huxley, Tim (2000). Defending the Lion City: The Armed Forces of Singapore. Australia: Allen & Unwin. pp. 89–90. ISBN 1-86508-118-3.
  13. Tor, Ching Li (21 July 2004). "United front against terror". Today. p. 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2013. สืบค้นเมื่อ 19 January 2014.
  14. Dorling, Phillip (29 August 2013). "Spy agency taps undersea cables". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 19 January 2014.
  15. Tor, Ching Li (19 July 2021). "Singapore intelligence officers open up as SID seeks to recruit more diverse talent". CNA. สืบค้นเมื่อ 19 July 2021.
  16. 16.0 16.1 "Civil service reshuffle". The Straits Times. 6 August 1971. p. 10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2014. สืบค้นเมื่อ 19 January 2014.
  17. "Mr Eddie Teo has extensive experience in public admin". AsiaOne News. 26 July 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2008. สืบค้นเมื่อ 19 January 2014.
  18. Backman, Michael (31 May 2006). "Downsides devalue Singapore Inc". theage.com.au. สืบค้นเมื่อ 19 January 2014.
  19. "Press Release: Changes in Permanent Secretary Appointments" (PDF). Public Service Division, Prime Minister's Office. 1 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 June 2012. สืบค้นเมื่อ 19 January 2014.
  20. "Defence chief heads list of 653 officers to be promoted". The Straits Times. 28 June 1996.
  21. "MAS to get new managing director". The Straits Times. 22 February 2005.
  22. "Achievers in many fields". The Straits Times. 9 August 2000.
  23. "New appointments for other permanent secretaries". The Straits Times. 13 August 2010.
  24. "Press Release: Appointment of Head of Civil Service And Permanent Secretaries" (PDF). Public Service Division, Prime Minister's Office. 12 August 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 August 2010. สืบค้นเมื่อ 19 January 2014.
  25. Goh, Chin Lian (2 May 2013). "MFA Permanent Secretary Bilahari Kausikan retires". SingaPolitics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2014. สืบค้นเมื่อ 19 January 2014.
  26. Chua, Tony (14 June 2012). "Capitamall Trust appoints Ng Chee Khern as Director". Singapore Business Review. สืบค้นเมื่อ 19 January 2014.
  27. "Joseph Leong to be appointed Permanent Secretary". Channel NewsAsia. Singapore. 28 January 2019. สืบค้นเมื่อ 13 August 2019.