กล้องโทรทรรศน์แบบผสม
กล้องโทรทรรศน์แบบผสม หรือ กล้องโทรทรรศน์คาตาไดออปตริก (Catadioptric Telescope) เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ทั้งเลนส์และกระจกเงาทำงานงานร่วมกัน กล้องโทรทรรศน์แบบผสมใช้กระจกเงาโค้งทำหน้าที่รวมแสงในลักษณะเดียวกับกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง และให้เลนส์ปรับแก้ภาพ (Corrector Plate) ที่หน้ากล้องเพื่อแก้ไขความคลาดทรงกลมของกระจกเงาปฐมภูมิ
- กล้องโทรทรรศน์แบบผสมชนิดชมิท–กัสแกร็ง (Schmidt–Cassegrain) ซี่งมีความยาวโฟกัสค่อนข้างยาว ในขณะที่มีลำกล้องสั้นกะทัดรัด เนื่องจากได้รับการออกแบบให้ลำแสงจะสะท้อนกลับไปมาหลายครั้งในกล้อง กล้องโทรทรรศน์แบบนี้เป็นกล้องที่ใช้ในหอดูดาวส่วนใหญ่ในประเทศ
- กล้องโทรทรรศน์แบบผสมชนิดมัคซูตอฟ–กัสแกร็ง (Maksutov–Cassegrain) ซึ่งมีความยาวโฟกัสยาวมาก และมีความคมชัดในระดับที่เทียบได้กับกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงที่มีขนาดเท่ากัน มักใช้สำหรับสังเกตดาวเคราะห์และวัตถุที่ต้องการความคมชัดสูง เช่น ดาวคู่
อ้างอิง
แก้- วิภู รุโจปการ. เอกภพเพื่อความเข้าใจในธรรมชาติของจักรวาล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ บริษัทนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั้นส์ จำกัด. 2546