ดาวคู่ (double star) ในทางดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ หมายถึง ดาวดาวฤกษ์ 2 ดวงที่เมื่อมองจากโลกแล้วพบว่าอยู่ใกล้กันมากในแนวสายตา จนมองด้วยตาเปล่าดูเหมือนมีดาวดวงเดียว แต่เมื่อใช้ กล้องโทรทรรศน์ส่องจึงสามารถมองออกว่าเป็นดาวคนละดวงกัน อาจแบ่งเป็น 2 แบบคือ ดาวคู่จริง (binary double star) ซึ่งมีวงโคจรสัมพันธ์กันและถูกยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วงของกันและกันเป็นระบบดาวฤกษ์ 2 ดวงที่เรียกว่า ระบบดาวคู่ และอีกแบบคือ ดาวคู่ปลอม (optical double star) ซึ่งเป็นดาวสองดวงที่อยู่ห่างกันแต่อยู่บนท้องฟ้าในทิศทางเดียวกัน ทำให้เห็นเหมือนอยู่เคียงคู่กัน[1][2]

ภาพถ่ายระบบดาวคู่ของดาวโจรถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ดาวโจรบีเป็นจุดเล็ก ๆ ด้านล่างซ้าย

ระบบดาวคู่ (ดาวคู่จริง) มีความสำคัญต่อนักดาราศาสตร์ดาวฤกษ์ เนื่องจากมวล และตัวแปรอื่น ๆ ของดาวฤกษ์สามารถคำนวณได้โดยตรงเมื่อทราบการเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1780 นักดาราศาสตร์ทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นที่ศึกษาดาวคู่ได้ใช้การสังเกตการณ์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ในการวัดระยะทางและมุมระหว่างดาวคู่เพื่อวัดการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่างดาวคู่แต่ละคู่[3] หากวัดการเคลื่อนที่สัมพัทธ์เป็นเส้นโค้งวงโคจร หรือถ้าการเคลื่อนที่สัมพัทธ์มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับ การเคลื่อนที่เฉพาะทั่วไปของดาวทั้งสองดวงเอง ก็สามารถสรุปได้ว่าดาวทั้งสองดวงไม่มีการเคลื่อนที่ในวงโคจรร่วมกัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง คู่นี้เป็นเพียงดาวคู่ปลอม[2] แม้ว่าการเคลื่อนที่ของระบบดาวฤกษ์ หลายดวงจะซับซ้อนกว่าระบบดาวคู่ แต่วิธีนี้ยังใช้สำหรับการศึกษาระบบดาวหลายดวงได้ด้วย

อ้างอิง แก้

  1. The Binary Stars, Robert Grant Aitken, New York: Dover, 1964, p. 1.
  2. 2.0 2.1 Heintz, W. D. (1978). Double Stars. D. Reidel Publishing Company, Dordrecht. p. 17. ISBN 90-277-0885-1.
  3. Heintz, W. D. (1978). Double Stars. D. Reidel Publishing Company, Dordrecht. pp. 4–10. ISBN 90-277-0885-1.