กลุ่มอุตสาหกรรมทหาร

กลุ่มอุตสาหกรรมทหาร (อังกฤษ: military–industrial complex, ย่อ MIC) เป็นพันธมิตรอย่างไม่เป็นทางการระหว่างกองทัพและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศซึ่งสนองแก่กองทัพของประเทศหนึ่ง ซึ่งถูกมองว่ามีผลประโยชน์ร่วมกันซึ่งมีอิทธิพลต่อนโยบายสาธารณะ[1][2][3][4] ปัจจัยขับเคลื่อนเบื้องหลังความสัมพันธ์นี้ระหว่างรัฐบาลและบรรษัทฝักใฝ่การป้องกันประเทศคือทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์ คือ ฝ่ายหนึ่งได้อาวุธสงคราม และอีกฝ่ายหนึ่งได้รับค่าจ้างจากการสนองอาวุธนั้น[5] คำนี้มักใช้พาดพิงระบบเบื้องหลังกองทัพสหรัฐมากที่สุด ซึ่งเป็นประเทศที่แพร่หลายที่สุด[6] และได้รับความนิยมหลังมีการใช้คำนี้ในสุนทรพจน์อำลาตำแหน่งของประธานาธิบดีดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 1961[7][8] ในปี 2011 ในแง่จำนวนสัมบูรณ์ สหรัฐใช้งบประมาณด้านกองทัพมากกว่าประเทศที่ใช้งบประมาณลำดับรองลงมา 13 ประเทศรวมกัน[9]

ในบริบทสหรัฐ บางทีการเรียกชื่อขยายรวมเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมทหาร–รัฐสภา (military–industrial–congressional complex, ย่อ: MICC) โดยเพิ่มรัฐสภาสหรัฐเป็นความสัมพันธ์สามเส้าซึ่งได้ชื่อว่า สามเหลี่ยมเหล็ก[10] ความสัมพันธ์นี้รวมการบริจาคทางการเมือง ความเห็นชอบทางการเมืองสำหรับรายจ่ายทางทหาร การวิ่งเต้นเพื่อสนับสนุนระบบข้าราชการประจำ และการควบคุมดูแลอุตสาหกรรมทหาร หรืออาจรวมถึงเครือข่ายสัญญาและการไหลของเงินและทรัพยากรในหมู่ปัจเจกบุคคลตลอดจนบรรษัทและสถาบันผู้รับเหมาป้องกันประเทศ ผู้รับเหมาทหารเอกชน กระทรวงกลาโหม รัฐสภาและฝ่ายบริหาร[11]

อ้างอิง แก้

  1. "military industrial complex". American Heritage Dictionary. Houghton Mifflin Harcourt. 2015. สืบค้นเมื่อ 3 March 2016.
  2. "definition of military-industrial complex (American English)". OxfordDictionaries.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 3 March 2016.
  3. "Definition of Military–industrial complex". Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ 3 March 2016.
  4. Roland, Alex (2009-06-22). "The Military-Industrial Complex: lobby and trope". ใน Bacevich, Andrew J. (บ.ก.). The Long War: A New History of U.S. National Security Policy Since World War II. Columbia University Press. pp. 335–70. ISBN 9780231131599. สืบค้นเมื่อ 3 March 2016.
  5. "What is the Military-Industrial Complex?" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-02-05.
  6. "SIPRI Year Book 2008; Armaments, Disarmaments and International Security" Oxford University Press 2008 ISBN 9780199548958 pp. 255–56 view on google books
  7. "The Military–Industrial Complex; The Farewell Address of Presidente Eisenhower" Basements publications 2006 ISBN 0976642395
  8. Held, David; McGrew, Anthony G.; Goldblatt, David (1999). "The expanding reach of organized violence". ใน Perraton, Jonathan (บ.ก.). Global Transformations: Politics, Economics and Culture. Stanford University Press. p. 108. ISBN 9780804736275. สืบค้นเมื่อ 3 March 2016.
  9. Plumer, Brad (January 7, 2013), "America's staggering defense budget, in charts", The Washington Post {{citation}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  10. Higgs, Robert (2006-05-25). Depression, War, and Cold War : Studies in Political Economy: Studies in Political Economy. Oxford University Press, USA. pp. ix, 138. ISBN 9780195346084. สืบค้นเมื่อ 3 March 2016.
  11. "Long-term Historical Reflection on the Rise of Military-Industrial, Managerial Statism or "Military-Industrial Complexes"". Kimball Files. University of Oregon. สืบค้นเมื่อ 21 June 2014.