กลอนหัวเดียว
กลอนหัวเดียว เป็นกลอนชาวบ้านเช่นเดียวกับกลอนสังขลิก ลักณะเด่นอยู่ที่การส่งสัมผัสท้ายบทเป็นเสียงเดียวกันทุกบาท จึงได้ชื่อว่า กลอนหัวเดียว[1] มักพบในบทเพลงกล่อมเด็กและบทเพลงปฏิพากย์ เช่น เพลงเรือ ลำตัด เพลงอีแซว เพลงฉ่อย เป็นต้น
ลักษณะบังคับแก้ไข
กลอนหัวเดียว บังคับบาทละ 2 วรรค จำนวนคำในวรรคมีตั้งแต่ 4 - 10 คำ ถ้าจำนวนคำในวรรคมากอาจเพิ่มสัมผัสกลางวรรคอีกแห่งหนึ่งเพื่อให้เป็นจังหวะเวลาร้อง บทหนึ่งแต่งกี่บาทก็ได้ไม่จำกัด
บังคับสัมผัส 2 แห่ง คือ สัมผัสระหว่างวรรคกับสัมผัสท้ายบาท สัมผัสท้ายบาทเป็นเสียงเดียวกันทุกบาทตลอดบท ถ้าส่งสัมผัสเสียง อา เรียกว่ากลอนลา ส่งสัมผัสเสียง อี เรียกว่ากลอนลี ส่งสัมผัสเสียง ไอ เรียกว่ากลอนไล
ตัวอย่างแก้ไข
ตัวอย่างกลอนหัวเดียวส่งสัมผัสด้วยกลอนไล จากเพลงฉ่อย ของเก่าในหลักภาษาไทย ของ พระยาอุปกิตศิลปสาร[2]
นี่ต้นขานางข้างเคียงไข่เน่า | แก้วกรุ่มกันเกรากร่างไกร | |
ชมไม้เดือนหกฝนตกใบแตก | เดือนแปดชมแปลกตาไป |
ดูเขียวชอุ่มพืชพุ่มพฤกษา | กิ่งก้านสาขาสูงใหญ่ | |
ได้ชมต่างต่างต้นด้วยคามะกอก | ชมผลชมดอกชมใบ |
เกสรหอมหวลส่งสวนนาสิก | ไม้เอ๋ยหอมอีกชื่นใจ | |
ฯลฯ |