กระสายยา คือ น้ำหรือของเหลวที่ใช้สำหรับละลายยา หรือรับประทานพร้อมกับยา[1] โดยกระสายยานั้นมีทั้งแบบแข็ง ตัวอย่างเช่นแป้งและน้ำตาลทราย แต่โดยส่วนมากมักเป็นของเหลวจึงเรียกว่าน้ำกระสายยา ได้จากการเตรียมแบบต้ม แช่, บีบ, ฝน, คั้น, ละลาย เป็นต้น[2] นอกจากนี้ พจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานยังให้บทนิยามของคำว่า กระสาย หรือ กระสายยา ว่า เครื่องแทรกยา เช่น น้ำ, เหล้า, น้ำผึ้ง, น้ำดอกไม้ ซึ่งในทางเภสัชกรรมแผนไทยใช้แทรกยาเพื่อช่วยให้กินยาง่ายขึ้น และ หรือเสริมฤทธิ์ของยาให้มีสรรพคุณดีขึ้น[3]

ประโยชน์ แก้

เพื่อช่วยเตรียมยาให้เป็นรูปแบบยาที่ต้องการ โดยเฉพาะยาลูกกลอนและยาแท่ง เพื่อช่วยให้กลืนได้สะดวก เพื่อช่วยให้ยานั้นแสดงฤทธิ์หรือออกฤทธิ์ได้เร็วและดีขึ้น ทั้งยังช่วยแก้ไข้ ป้องกันไข้ ป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการใช้ยาได้ นอกจากนี้ยังเสริมฤทธิ์กับตัวยาหลักอีกด้วย[4]

อ้างอิง แก้

  1. "น้ำกระสายยา". ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม. กองประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-17. สืบค้นเมื่อ 2012-08-16.
  2. "ประโยชน์การใช้น้ำกระสายยารักษาโรคแบบแผนไทย". 2007-11-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2021-09-05.
  3. รัตติกาล ศรีอำไพ (2012-04-30). "กระสายยา". เดลินิวส์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-06. สืบค้นเมื่อ 2012-08-16.
  4. "ประโยชน์ของการใช้น้ำกระสายยาในการรักษาโรคแบบแพทย์แผนไทย". ไทยโพสต์. 2013-07-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-03. สืบค้นเมื่อ 2012-08-16.