กระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำ

กระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำ, low dead space syringe (LDSS) หรือ low dead-volume syringe เป็นกระบอกฉีดยาประเภทหนึ่งที่มีการออกแบบ ที่พยายามจำกัดขนาดช่องว่างที่ทำให้มีปริมาณยาคงค้างระหว่างด้ามเข็มที่สวมติดกับปลายกระบอกฉีดยาและเข็มต่ำ

ความแตกต่างจากกระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาสูง

แก้
 
ตัวอย่างกระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำและสูง และปริมาณของเหลวโดยเฉลี่ยที่เหลืออยู่หลังจากลูกสูบถูกกดจนสุด

ความแตกต่างระหว่างกระบอกฉีดยาชนิด high dead space syringe (HDSS) และ low dead space syringe ถูกกำหนดโดยปริมาณเฉลี่ยของของเหลวที่ไม่สามารถขับออกจากอุปกรณ์ได้ แม้ว่าจะไม่มีมาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับกระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำ แต่ก็เป็นรูปแบบเข็มฉีดยาหรือกระบอกฉีดยาที่เบี่ยงเบนไปจากการออกแบบเข็มและกระบอกฉีดยามาตรฐานโดยมีการลดพื้นที่ที่ยาสามารถคงค้างในกระบอกฉีดภายหลังการใช้งานลง[1]

เมื่อเปรียบเทียบกับ low dead space syringe กระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาสูง หมายถึงการออกแบบเข็มและกระบอกฉีดยาแบบธรรมดา คำว่า "high dead space" หมายถึงของเหลวที่เหลืออยู่ภายในเข็มและระหว่างด้ามเข็มที่สวมติดกับปลายกระบอกฉีดยากับลูกสูบ ช่องนี้ในกระบอกฉีดยาทั่วไปมีปริมาตรได้สูงถึง 84 ไมโครลิตร[2] กระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาสูงแบบธรรมดา เริ่มมีมาตั้งแต่การผลิตเข็มฉีดยาพลาสติกที่มีเข็มถอดออกได้ในปี พ.ศ. 2504[3]

ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ที่ยาคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาในกระบอกฉีดยา ได้แก่ การสิ้นเปลืองยา[4] การแพร่กระจายของโรค[2] และการให้ยาที่ไม่ถูกต้อง[5] มีข้อมูลที่บ่งชี้ว่าการแพร่กระจายของโรคสำหรับผู้ที่ฉีดยาและเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบซีสามารถลดลงได้ด้วยการใช้กระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำ[6]

ประวัติการออกแบบเข็มและกระบอกฉีดยา

แก้

นายแพทย์ อเล็กซานเดอร์ วูด (Alexander Wood) ได้เริ่มใช้เข็มฉีดยาใต้ผิวหนังเป็นครั้งแรกและทำให้มีความพยายามปรับปรุงการออกแบบในทันที จนกระทั่งปี พ.ศ. 2497 ด้วยความจำเป็นในการกระจายกระบอกฉีดยาจำนวนมากสำหรับการฉีดวัคซีนโปลิโอของโจนัส ซอร์ก (Jonas Salk) จึงได้มีการสร้างเข็มฉีดยาแบบใช้แล้วทิ้งครั้งแรก โดยเริ่มแรกกระบอกฉีดยาทำจากแก้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 มีการใช้กระบอกฉีดยาพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง[7] การพัฒนากระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำมีขึ้นครั้งแรกพร้อมกับการสร้างเข็มฉีดยาขนาด 1 มิลลิลิตรสำหรับการฉีดอินซูลิน จากนั้นท่ามกลางภาวะความหวาดกลัวเอชไอวีและความกังวลที่เพิ่มขึ้นของโรคติดต่ออื่น ๆ ที่จะเกิดกับบุคลากรทางการแพทย์ การสร้างกระบอกฉีดยาที่มีความปลอดภัยมากขึ้นจึงเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2531 ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการออกแบบใหม่โดยใช้เข็มที่มีปริมาณคงค้างต่ำสวมเข้าพอดีกับกระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างสูง ทำให้เปลี่ยนรูปแบบเป็นกระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำ งานออกแบบชิ้นหนึ่งทำโดยการสร้างลูกสูบที่มีปลายสอดเข้าไปในคอกระบอกฉีดยาเพื่อขับของเหลวออกจากตัวกระบอกฉีดยาให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ซึ่งจะช่วยลดพื้นที่ว่างภายในคอของกระบอก

การออกแบบต่าง ๆ ของกระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำ

แก้
 
เข็มมาตรฐานชนิดปริมาณคงค้างสูงกับกระบอกฉีดยาที่มีปลายลูกสูบยื่นออก
 
กระบอกฉีดอินซูลิน ขนาด 1 มิลลิลิตร
 
กระบอกฉีดยามาตรฐานชนิดปริมาณคงค้างสูงกับเข็มชนิดปริมาณคงค้างต่ำ

แนวทางขององค์การอนามัยโลกสำหรับผู้ฉีดยา

แก้

องค์การอนามัยโลกได้แนะนำสำหรับผู้ติดยาเสพติดที่ใช้เข็มฉีดยาว่า โครงการแลกเปลี่ยนเข็มจะจัดหาเข็มฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ที่ฉีดยาเนื่องจากมีหลักฐานว่าการจัดหาเข็มฉีดยาชนิดนี้จะช่วยลดการแพร่เชื้อเอชไอวี และไวรัสตับอักเสบบีและซี[8][9]

ประโยชน์ของกระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำ

แก้
  • ลดการสิ้นเปลืองยา[4]
  • เพิ่มปริมาณวัคซีน 2–19% ต่อขวด หากใช้ขวดวัคซีนสำหรับ 10 โดส ซึ่งในการรณรงค์ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ครั้งใหญ่ชี้ให้เห็นว่ามีผู้ได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้นอีกหลายพันถึงหลายล้านคน[4]
  • หาก 50% ของผู้ใช้ยาเสพติดที่ฉีดยาเปลี่ยนไปใช้กระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำ จะทำให้การติดเชื้อใหม่ของโรคติดเชื้อเอชไอวี และการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี จะลดลงได้โดยประมาณ 33%[2]
  • ลดอุบัติการณ์ของการใช้ยาเกินขนาดในเด็กและทารกที่คลอดก่อนกำหนด[5]
  • ควบคุมปริมาณสารทึบรังสีซึ่งช่วยในการถ่ายภาพด้วยเทคนิคการถ่ายภาพรังสี[10]

ข้อวิจารณ์สำหรับการแจกจ่ายกระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำ

แก้

มีการวิพากษ์วิจารณ์ผู้เสนอให้ใช้กระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำสำหรับแจกจ่ายให้กับโครงการแลกเปลี่ยนเข็ม โดยอ้างว่าไม่มีโครงการศึกษานำร่องสำหรับสถานการณ์จริงเพื่อสนับสนุนการค้นพบในห้องปฏิบัติการ ผู้เสนอบางรายชี้ไปที่กรณีในสหรัฐ ที่มีความชุกของการระบาดของเอชไอวีและไวรัสตับอักเสบต่ำในกลุ่มคนที่ฉีดยา และอ้างถึงสาเหตุของความชุกที่ต่ำเช่นนี้เกี่ยวข้องกับกระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำซึ่งเป็นเข็มฉีดยามาตรฐานในสหรัฐ และการรณรงค์ต่อต้านการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันที่ประสบความสำเร็จ นักวิจารณ์คนอื่น ๆ ให้เหตุผลว่าประเทศต่าง ๆ เช่นเวียดนาม ซึ่งก็มีการกระจายและใช้กระบอกฉีดยาชนิดนี้แต่กลับมีอัตราการติดเชื้อเอชไอวีสูงสุดในกลุ่มผู้ที่ฉีดยา อย่างไรก็ตามผู้เสนออ้างว่ากระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาต่ำยังคงเป็นเรื่องยากที่ผู้ฉีดยาในประเทศดังกล่าวจะหามาได้และหลายคนที่ใช้กระบอกฉีดยาชนิดนี้ ยังคงใช้กระบอกฉีดยาชนิดปริมาณคงค้างในหัวเข็มและปลายหลอดฉีดยาสูงร่วมด้วย ซึ่งทำให้อัตราการติดเชื้อไม่ลดลง[11][12]

อ้างอิง

แก้
  1. Bobashev, Georgiy V.; Zule, William A. (2010). Modeling the effect of high dead‐space syringes on the human immunodeficiency virus (HIV) epidemic among injecting drug users. Addiction, 105 (8). pp.1439–1447. PMID 20528817.
  2. 2.0 2.1 2.2 Bobashev (2010). Modeling the effect of high dead‐space syringes on the human immunodeficiency virus (HIV) epidemic among injecting drug users. Addiction, 105 (8). pp. 1439–1447. ISSN 0965-2140.
  3. Mary Bellis (3 มีนาคม 2019). "Why the Invention of the Syringe Was a Game Changer". ThoughtCo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ธันวาคม 2012.
  4. 4.0 4.1 4.2 Strauss K, van Zundert A, Frid A, Costigliola V. (พฤษภาคม 2006). "Pandemic influenza preparedness: the critical role of the syringe". Erembodegem-Dorp 86, European Medical Association Vaccine. 24 (22). pp. 4874–82. doi:10.1016/j.vaccine.2006.02.056.
  5. 5.0 5.1 Bhambhani (2005). Inadvertent overdosing of neonates as a result of the dead space of the syringe hub and needle. Archives of Disease in Childhood: Fetal and Neonatal Edition. 90 (5). pp. F444–5. ISSN 1359-2998.
  6. Trickey, A., May, M. T., Hope, V., Ward, Z., Desai, M., Heinsbroek, E., . . . Vickerman, P. (พฤศจิกายน 2018). Usage of low dead space syringes and association with hepatitis C prevalence amongst people who inject drugs in the UK. Drug and Alcohol Dependence, 192, 118-124. doi:10.1016/j.drugalcdep.2018.07.041.
  7. Howard-Jones, N. (Spring 1947). A Critical Study of the Origins and Early Development of Hypodermic Medication. Journal of the History of Medicine and Allied Sciences. 2 (2). pp. 201–49. doi:10.1093/jhmas/ii.2.201.
  8. "WHO, UNODC, UNAIDS technical guide for countries to set targets for universal access to HIV prevention, treatment and care for injecting drug users – 2012 revision" (PDF). WHO. 2012. ISBN 978-92-4-150437-9.
  9. "Guidance on prevention of viral hepatitis B and C among people who inject drugs" (PDF). WHO. 2012. ISBN 978-92-4-150404-1.
  10. Rannou, M. Lheureux, N. Prangere, T. Legrand, J. Huglo, D. (2012). Absorption of radiopharmaceuticals to plastic syringes: Measurement and consequences. European Journal of Nuclear Medicine and Molecular Imaging. 39. pp. S528-S529. doi:10.1007/s00259-012-2227-4.
  11. Zule, William A.; Cross, Harry E.; Stover, John; Pretorius, Carel (2013). Low dead space syringes. International Journal of Drug Policy. 24 (1). pp. 21–22. ISSN 0955-3959.
  12. Vickerman (2013). Could low dead-space syringes really reduce HIV transmission to low levels?. International Journal of Drug Policy. 24 (1). pp. 8–14. ISSN 0955-3959.