กระจูด

สปีชีส์ของพืช
กระจูด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
ไม่ได้จัดลำดับ: Commelinids
อันดับ: Poales
วงศ์: Cyperaceae
สกุล: Lepironia
สปีชีส์: L.  articalata
ชื่อทวินาม
Lepironia articulata
(Retz.) Domin
ชื่อพ้อง
  • Restio articulatus Retz
  • Chondrachne articulata (Retz.) R.Br.
  • Lepironia mucronata Rich. in C.H.Persoon
  • Scirpus coniferus Poir. in J.B.A.M.de Lamarck
  • Choricarpha aphylla Boeckeler
  • Lepironia mucronata var. capitata F.Muell.
  • Lepironia compressa Boeckeler
  • Lepironia mucronata var. compressa (Boeckeler) E.G.Camus in H.Lecomte
  • Lepironia articulata var. capitata (F.Muell.) Domin
  • Lepironia conifera (Poir.) Druce

กระจูด หรือ จูด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lepironia articalata) เป็นพันธุ์ไม้จำพวก "กก" (Sedge) ลักษณะลำต้นกลมสีเขียวอ่อน ดินสอดำ สูงประมาณ 1 - 2 เมตร ออกดอกเป็นกระจุกแน่นคล้ายดอกกระเทียมที่ข้างลำต้นใกล้ยอดกระจุกหนึ่ง แต่มีช่อดอกปลายลำต้นอีกหนึ่งช่อซึ่งมีใบเล็กประกอบช่อด้วย กระจูดชอบขึ้นในพื้นที่น้ำขังซึ่งเรียกว่าโพระหรือพรุ มีถิ่นกำเนิดจากทางเกาะมาดากัสการ์ มอริเซียส ลังกา สุมาตรา แหลมมาลายู และหมู่เกาะต่าง ๆ ในแหลมมาลายู อินโดจีนตอนริมฝั่งทะเล ฮ่องกง บอร์เนียว ตลอดถึงออสเตรเลีย ริมฝั่งตะวันออก

การใช้ประโยชน์

แก้

ต้นกระจูด นำไปฝึ่งแดดให้แห้งสนิท สามารถนำมาผลิตงานจักสานเป็น เสื่อปูรองนั่งที่เรียกกันว่า 'เสื่อกระจูด' หรือ 'สาดกระจูด' โดยการสานเสื่อกระจูดโดยทั่วไปนิยมสานลวดลายมาตรฐาน คือ ลายขัดสอง หรือลายขัดสาม และมีการพัฒนาดัดแปลงลวดลาย เช่น ลายลูกแก้ว ลายดาวล้อมเดือน ลายดอกจันทร์ ลายก้านต่อดอก ลายโคม ลายแก้วเนื่อง ลายแก้วบ้านดอน ลายตัวหนังสือ เป็นต้น และมีการทำผลิตภัณฑ์เช่น สายกระเป๋าเครื่องใช้ต่าง ๆ ใช้ทำใบเรือ ทำเชือกผูกมัด

แหล่งผลิตที่สำคัญ อยู่ที่หมู่บ้านทะเลน้อยจังหวัดพัทลุง หมู่บ้านบ่อกรัง จังหวัดสุราษฎร์ธานี หมู่บ้านสะกอม จังหวัดสงขลา หมู่บ้านทอนทอน จังหวัดนราธิวาส ปัจจุปันมีการผลิตจำหน่ายมากในตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Lepironia articulata ที่วิกิสปีชีส์