กรณีพิพาทกุญแจเข้ารหัสเอเอซีเอส

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 เกิดกรณีพิพาทว่าด้วยกุญแจเข้ารหัสเอเอซีเอส เมื่อสมาคมภาพยนตร์อเมริกัน (Motion Picture Association of America; MPAA) และบริษัทแอดวานซ์แอคเซสคอนเทนต์ซิสเต็มไลเซนซิงแอดมินิสเตรเตอร์ จำกัด (Advanced Access Content System Licensing Administrator, LLC; AACS LA) ออกหนังสือบอกกล่าว[2] เว็บไซต์ที่เผยแพร่ชุดตัวเลข 09 F9 11 02 9D 74 E3 5B D8 41 56 C5 63 56 88 C0[3][4] (เรียกย่อ ๆ ว่า 09 F9[5][6]) ซึ่งเป็นชุดตัวเลขขนาด 128 บิต (16 ไบต์) ที่อยู่ในรูปเลขฐานสิบหก และเป็นกุญแจเข้ารหัสสำหรับเอชดีดีวีดีและบลูเรย์เรียกร้องให้มีการนำชุดตัวเลขดังกล่าวและสิ่งใด ๆ ที่เชื่อมโยงกับชุดตัวเลขนั้นออก โดยอ้างบทบัญญัติในรัฐบัญญัติลิขสิทธิ์แห่งสหัสวรรษดิจิทัลว่าด้วยการห้ามเผยแพร่วิธีการหลบเลี่ยงระบบควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเริ่มเผยแพร่รูปภาพที่เรียกว่า "ธงแห่งเสรีภาพในการพูด"นี้ ในบล็อกโพสต์ของเว็บไซต์จำนวนมาก ซ้ำยังมีการนำไปใช้เป็นรูปแสดงตัวของผู้ใช้ในกระดานสนทนาเช่นดิกก์ ตัวเลขสิบห้าไบต์แรกของกุญแจเข้ารหัส 09 F9 เป็นตัวเลขที่ปรากฏในรูปของสีในระบบสี RGB โดยแต่ละสีในธงประกอบด้วยตัวเลขสามไบต์ตามลำดับ สำหรับตัวเลขไบต์สุดท้าย C0 ปรากฏเป็นตัวหนังสืออยู่ที่มุมขวาล่าง[1]

เพื่อเป็นการตอบโต้การเผยแพร่กุญแจเข้ารหัสดังกล่าวบนอินเทอร์เน็ต บริษัทเอเอซีเอสแอลเอออกแถลงการณ์หลายฉบับชื่นชมเว็บไซต์ที่ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องว่าได้ปฏิบัติอย่างมีความรับผิดชอบ ทั้งยังเตือนด้วยว่าจะนำมาตราการทางกฎหมายและทางเทคนิคมาบังคับใช้กับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อเรียกร้อง

กรณีพิพาทดังกล่าวก่อให้เกิดประเด็นพิพาทมากขึ้นในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมของปีเดียวกัน เมื่อดิกก์ เว็บไซต์เชื่อมโยงข่าวและสังคมออนไลน์ได้รับหนังสือแจ้งให้หยุดการเผยแพร่กุญแจเข้ารหัสดังกล่าว และได้ลบบทความหลายบทความที่เกี่ยวกับกรณีพิพาท รวมถึงระงับการใช้งานผู้ใช้ที่เผยแพร่ข้อมูลนี้ซ้ำ[7] กรณีดังกล่าวก่อให้เกิดสิ่งที่มีผู้เรียกว่าเป็นการปฏิบัติวงการดิจิทัล[8] หรือเรียกว่าเป็นกบฏไซเบอร์[9] เนื่องจากผู้ใช้ได้โพสต์ข้อมูล เผยแพร่กุญแจเข้ารหัสนี้บนดิกก์และบนอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่าปรากฏการณ์สไตรแซนด์ ต่อมาบริษัทเอเอซีเอสแอลเอได้บรรยายถึงสถานการณ์ดังกล่าวว่า "เป็นสถานการณ์บิดผันแนวใหม่ที่น่าสนใจ"[10]

ประวัติ แก้

เลขฐานสิบหกเป็นระบบเลขที่อยู่ในฐานสิบหก ใช้ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และในวงการคณิตศาสตร์ กุญแจเข้ารหัสชุดดังกล่าวเป็นที่รู้จักมากที่สุดในรูปของเลขฐานสิบหก ทั้งนี้หากเขียนเป็นเลขฐานสิบ เลขดังกล่าวจะมีค่าเท่ากับ 13,256,278,887,989,457,651,018,865,901,401,704,640.[11]

อ้างอิง แก้

  1. John Marcotte (1 May 2007). "Free Speech Flag". Badmouth.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-04. สืบค้นเมื่อ 2007-05-03.
  2. "AACS licensor complains of posted key". Chilling Effects. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-05. สืบค้นเมื่อ 2007-05-04.
  3. Rupert Goodwins (11 May 2007). "An interesting sales tactic". ZDNet UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-12. สืบค้นเมื่อ 2007-05-18.
  4. Nick Farrell (2 May 2007). "09 f9 [...] is the number they tried to ban". The Inquirer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-29. สืบค้นเมื่อ 2007-05-03.
  5. Fred von Lohmann (2 May 2007). "09 f9: A Legal Primer". EFF. สืบค้นเมื่อ 2007-05-18.
  6. Frederick Lane (5 May 2007). "09 F9: An Unlikely Star Is Born Thanks to Digg.com". Sci-Tech Today. สืบค้นเมื่อ 2007-05-18.
  7. David Utter (2 May 2007). "Digg Embroiled In HD DVD Controversy". WebProNews. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-06. สืบค้นเมื่อ 2007-05-18.
  8. "Digg revolt over HD DVD codes". news.com.au. 2 May 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-03. สืบค้นเมื่อ 2007-05-20.
  9. Michael S. Malone (3 May 2007). "The First Amendment vs. Patents in Web 2.0". 6abc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-05. สืบค้นเมื่อ 2007-05-20.
  10. Darren Waters (4 May 2007). "DRM group vows to fight bloggers". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-07. สืบค้นเมื่อ 2007-05-04.
  11. อ่านว่า สิบสามล้านล้านล้านล้านล้านล้าน สองแสนห้าหมื่นหกพันสองร้อยเจ็ดสิบแปดล้านล้านล้านล้านล้าน แปดแสนแปดหมื่นเจ็ดพันเก้าร้อยแปดสิบเก้าล้านล้านล้านล้าน สีแสนห้าหมื่นเจ็ดพันหกร้อยห้าสิบเอ็ดล้านล้านล้าน หนึ่งหมื่นแปดพันแปดร้อยหกสิบห้าล้านล้าน เก้าแสนหนึ่งพันสี่ร้อยเอ็ดล้าน เจ็ดแสนสี่พันหกร้อยสี่สิบ

แหล่งข้อมูลอื่น แก้