ปรัชญาภาพยนตร์ เป็นสาขาหนึ่งของสุนทรียศาสตร์ ภายใต้กฎระเบียบทางปรัชญาที่แสวงหาความเข้าใจปัญหาพื้นฐานที่สุดเกี่ยวกับภาพยนตร์ ปรัชญาภาพยนตร์มีความคาบเกี่ยวกันกับทฤษฎีภาพยนตร์อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของภาพยนตร์ศึกษา

ประวัติศาสตร์ แก้

บุคคลแรกสุดที่แสวงหาปัญหาเชิงปรัชญาเกี่ยวกับภาพยนตร์คือ ฮิวโก้ มุนสเตอร์แบก (Hugo Munsterberg) ในยุคภาพยนตร์เงียบ เขาแสวงหาความเข้าใจว่าภาพยนตร์มีแนวคิดที่แตกต่างจากโรงภาพยนตร์ เขาสรุปว่าการใช้ภาพโคลสอัพ แฟลชแบ็ค และการแก้ไขต่างๆ นั้นมีลักษณะเฉพาะในภาพยนตร์ที่ประกอบขึ้นจากธรรมชาติ

ในยุคแรกเริ่มของภาพยนตร์เสียง รูดอล์ฟ อาร์นฮาย (Rudolph Arnheim) โด้แย้งว่ายุคภาพยนตร์เงียบนั้นมีความเหนือชั้นกว่า "ภาพยนตร์เสียง" ในแง่สุนทรียภาพ เขาถือว่าการเพิ่มเสียงให้กับภาพเคลื่อนไหวเงียบ ทำให้สถานะของภาพยนตร์ที่มีเอกลักษณ์ได้ถูกลดทอนลง แทนที่จะทำให้เป็นรูปแบบทางศิลปะที่มีเอกลักษณ์ซึ่งเน้นความสามารถในการศึกษาร่างกายอย่างละเอียด ภาพยนตร์จึงกลายเป็นเพียงแค่การผสมผสานระหว่างรูปแบบทางศิลปะสองรูปแบบ

อังเดร บาซีน (Andre Bazin) มีแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับอาร์นฮาย เขาถือว่าภาพยนตร์ไม่ว่าจะมีเสียงหรือไม่นั้นเป็นการพูดที่ไม่ตรงประเด็น เขาเชื่อว่าภาพยนตร์มีพื้นฐานในความสัมพันธ์กับการถ่ายภาพซึ่งมีลักษณะที่สมจริงเป็นหลัก เขาแย้งว่าภาพยนตร์มีความสามารถในการจับภาพโลกแห่งความเป็นจริง ภาพยนตร์เรื่อง Waking Life แสดงให้เห็นถึงการอภิปรายเกี่ยวกับปรัชญาภาพยนตร์ที่เน้นทฤษฎีของบาซีน ตัวละครในเรื่องมีการไขปริศนาทางปรัชญาซึ่งทุกช่วงเวลาของภาพยนตร์ได้แสดงให้เห็นถึงแง่มุมของพระเจ้า

Noël Carroll นักปรัชญาชาวอเมริกัน ได้แย้งว่าลักษณะของภาพยนตร์ในยุคแรกสร้างขึ้นโดยนักปรัชญาซึ่งได้นิยามธรรมชาติของภาพยนตร์แคบเกินไป และพวกเขา ผสมผสานแนวคิดของภาพยนตร์ในแต่ละประเภทกับภาพยนตร์โดยทั่วไปอย่างไม่ถูกต้อง

แนวคิดในทฤษฎีความจริงของบาซีน ได้รับการยอมรับจากนักปรัชญา ถึงแม้ว่าจะมีคำวิจารณ์จากแครอล วิทยานิพนธ์เรื่องความโปร่งใส (The transparency thesis) ได้กล่าวว่าภาพยนตร์เป็นตัวกลางที่โปร่งใสอันนำไปสู่ความเป็นจริงแท้ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการยอมรับจาก Kendall Walton

หนังสือ แก้

  • Pierre-Alexandre Fradet, Philosopher à travers le cinéma québécois. Xavier Dolan, Denis Côté, Stéphane Lafleur et autres cineastes, Paris, Éditions Hermann, 2018, 274 p.

ดูเพิ่มเติม แก้

  • ภาพยนตร์ 1: ภาพเคลื่อนไหว
  • ทฤษฎีภาพยนตร์เชิงภาษาศาสตร์

อ้างอิง แก้

อ่านเพิ่มเติม แก้

  • Thomas Wartenberg and Angela Curran (eds.), The Philosophy of Film: Introductory Text and Readings, Wiley-Blackwell, 2005.
  • Noël Carroll, The Philosophy of Motion Pictures, Blackwell, 2008.
  • Robert Sinnerbrink, New Philosophies of Film: Thinking Images, Continuum, 2011.
  • Enrico Terrone, Filosofia del film, Carocci, 2014
  • The Routledge Encyclopedia of Film Theory, edited by Edward Branigan, Warren Buckland, Routledge, 2015. [The book includes several entries related to the philosophy of film.]