การลงลายผิวภาพ

(เปลี่ยนทางจาก Texture mapping)

การลงลายผิวภาพ หรือ เทกซ์เจอร์แมปปิง (texture mapping)[1][2][3] เป็นเทคนิคในการใส่ลายผิวให้กับพื้นผิวของแบบจำลองสามมิติที่สร้างด้วย คอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติ คำว่า "เทกซ์เจอร์" เดิมทีหมายถึงเนื้อของผ้าหรือสิ่งทอ แต่ในที่นี้หมายถึงลวดลายของผิว

1 เป็นแบบจำลองสามมิติที่ไม่มีลายผิว2 เป็นแบบจำลองสามมิติที่มีลายผิว
ทางซ้ายคือแบบจำลองสามมิติ 4 ล้านโพลีกอน ตรงกลางลดลงเหลือ 500 โพลีกอน ส่วนด้านขวาคือแบบจำลองที่ใช้ 500 โพลีกอนโดยมีการลงลายผิวภาพ
การลงลายผิวจากภาพสองมิติลงบนแบบจำลองสามมิติ

ภาพรวม แก้

เทคนิคการลงลายผิวภาพได้รับการพัฒนาใน ปี 1974 โดยเอ็ดวิน แคตมัลและพวกที่มหาวิทยาลัยยูทาห์ ซึ่งมีส่วนร่วมในการผลิต CG จำลอง สำหรับอุตสาหกรรมให้บริษัทเอวานส์ แอนด์ ซัทเทอร์แลนด์[4]

มีการใช้ลายผิวเหมือนวอลล์เปเปอร์กับพื้นผิวของวัตถุสามมิติ ทำให้มีการปรับปรุงพื้นผิวที่เหนือกว่าแบบจำลองที่ไม่มีพื้นผิวอย่างเทียบไม่ติด ตัวอย่างเช่น หากใช้ลายผิวกับทรงหลายหน้าที่ไม่สม่ำเสมอ สามารถแสดงผิวของภูเขาหินที่เหมือนจริงได้โดยไม่ต้องใช้โพลีกอนแสดงผิวนูนเว้าจำนวนมาก เมื่อสร้างแบบจำลองสามมิติเพื่อใช้งานจริง การสร้างผิวนูนเว้าด้วยการเพิ่มโพลีกอนเป็นวิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพและกินทรัพยากร ดังนั้นการลงลายผิวภาพจึงถูกนำมาใช้ในหลาย ๆ สถานการณ์เพื่อลดจำนวนรูปหลายเหลี่ยมและปรับปรุงประสิทธิภาพ

ข้อเสียของเทคนิคการลงลายผิวภาพคือระดับของรายละเอียดเมื่อแสดงผลขึ้นอยู่กับความละเอียดของภาพพื้นผิว ดังนั้นหากความละเอียดของภาพที่ใช้เป็นผิวไม่สูงพอ รูปหลายเหลี่ยมใกล้กับมุมมองจะเผยให้เห็นพิกเซลของภาพ เมื่อพยายามเพิ่มความละเอียดของพื้นผิวเพื่อแก้ปัญหานี้ ก็จะเปลืองพื้นที่สำหรับจัดเก็บภาพพื้นผิว สิ่งนี้เทียบได้กับข้อเสียของภาพกราฟิกส์แรสเตอร์เมื่อเทียบกับภาพกราฟิกส์เวกเตอร์

อ้างอิง แก้

  1. Wang, Huamin. "Texture Mapping" (PDF). department of Computer Science and Engineering. Ohio State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2016-01-15.
  2. "Texture Mapping" (PDF). www.inf.pucrs.br. สืบค้นเมื่อ September 15, 2019.
  3. "CS 405 Texture Mapping". www.cs.uregina.ca. สืบค้นเมื่อ 22 March 2018.
  4. Catmull, E. (1974). A subdivision algorithm for computer display of curved surfaces (PDF) (วิทยานิพนธ์ PhD). University of Utah. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-11-14. สืบค้นเมื่อ 2023-05-03.