Spike directivity เป็นเวกเตอร์ที่กำหนดความเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของประจุไฟฟ้าแบบชั่วครู่ (transient charge density) ที่เกิดเมื่อศักยะงานในเซลล์ประสาทกำลังแพร่กระจาย[1] คือ แบบจำลองการแพร่กระจายแบบเอกรูปของศักยะงานที่คล้ายกับสัญญาณดิจิทัล ดูเหมือนจะไม่เข้ากับข้อมูลทางการทดลอง นักสรีรวิทยาไฟฟ้าได้แสดงแล้วว่า รูปร่างของศักยะงานสามารถเปลี่ยนไปได้ตามเวลา เช่น งานศึกษาปี 2554 แสดงว่า ศักยะงานในนิวรอนอาจเปลี่ยนรูปคลื่นเมื่อวิ่งไปตามแอกซอนหรือเดนไดรต์ เพราะรูปร่างของนิวรอน เพราะการเปลี่ยนแปลงของการนำไอออนเฉพาะที่ ๆ และเพราะคุณสมบัติ/เหตุการณ์ทางชีวกายภาพอื่น ๆ รวมทั้งการปล่อยสารสื่อประสาท[2]

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. Aur, D; Connolly, CI; Jog, MS (2005). "Computing spike directivity with tetrodes". Journal of Neuroscience Methods. 149 (1): 57–63. doi:10.1016/j.jneumeth.2005.05.006. PMID 15978667.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. Sasaki, T; Matsuki, N; Ikegaya, Y (2011). "Action-potential modulation during axonal conduction". Science. 331 (6017): 599–601.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

ดูเพิ่ม แก้