ปุซเกิซมัซ

(เปลี่ยนทางจาก Puskesmas)

ปุซเกิซมัซ (อินโดนีเซีย: Puskesmas, ย่อมาจาก ปูซัตเกอเซฮาตันมาชารากัต - Pusat Kesehatan Masyarakat แปลว่า ศูนย์สุขภาพชุมชน) หมายถึงคลินิกชุมชนที่รัฐบาลมอบอำนาจดำเนินการซึ่งตั้งอยู่กระจายทั่วประเทศอินโดนีเซีย ดูแลโดยกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย และให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนในระดับตำบล (sub-district level) แนวคิดนี้ออกแบบเริ่มต้นโดยเก.อา. ซีวาเบ็ซซี (G.A. Siwabessy) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนแรก โปรแกรมสุขภาพชุมชนและสุขภาพแบบป้องกัน (preventive) เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนบริการสุขภาพในประเทศอินโดนีเซีย[1] ในปี ค.ศ. 2014 ทั่วประเทศอินโดนีเซียมีปุซเกิซมัซอยู่ 9,718 แห่งทั่วประเทศ[2]

ปุซเกิซมัซซุมเบอร์ (Puskesmas Sumber) ในจีเรอบน จังหวัดชวาตะวันตก

บริการสุขภาพชุมชนในประเทศอินโดนีเซียนั้นบริหารจัดการด้วยระบบสามระดับ (three-tier system) โดยมีปุซเกิซมัซเป็นระดับบนสุด มีเจ้าหน้าที่และแพทย์ประจำการ และให้บริการสุขภาพมารดาและบุตร, การรักษาผู้ป่วยนอกทั่วไป และบริการสุขภาพแบบป้องกัน, บริการก่อนและหลังคลอด, การสร้างภูมิคุ้มกัน และการควบคุมโรคติดต่อ บริการทางคลินิกเฉพาะทางนั้นมักมีบริการในศูนย์แพทย์ที่มีขนาดใหญ่กว่านี้

ปุซเกิซมัซมีอยู่ด้วยกันสองประเภท คือประเภทที่มีเตียงกับไม่มีเตียง ปุซเกิซมัซที่ไม่มีเตียงมักเป็นศูนย์รักษาผู้ป่วยนอกสาธารณะในระดับทั่วไป และมักปิดบริการหลังช่วงเที่ยง และมีแนวโน้มจะไม่เปิดหรือไม่พร้อมรับมือเหตุฉุกเฉินนอกเวลาคลินิก ศูนย์รูปแบบนี้มักมีเพียง บีดัน (bidan) คือพยาบาล และแพทย์ทั่วไปซึ่งให้บริการการแพทย์ป้องกันและรักษาทั่วไป 18 ประการ อันรวมถึงการแพทย์ก่อนคลอด (Antenatal) และการวางแผนครอบครัว อย่างไรก็ตามปุซเกิซมัซรูปแบบนี้มักมีปัญหามากมาย เนื่องด้วยมักส่งต่อผู้ป่วยไปยังศูนย์แพทย์ที่สูงกว่าและมีความพร้อมกว่าแทน หากมีผู้ป่วยฉุกเฉิน เจ้าหน้ามีแนวโน้มจะส่งต่อไปยังศูนย์แพทย์ระดับสูงกว่าเลยทันทีโดยไม่แม้แต่จะพยายามให้การปฐมพยาบาลหรือเตรียมผู้ป่วยสำหรับการส่งต่อ[3]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

Wasisto, Broto; และคณะ (2009). Sejarah Pembangunan Kesehatan Indonesia 1973-2009. Kementrian Kesehatan Republik Indonesia. ISBN 9799254922.

  1. "Indonesia - HEALTH". countrystudies.us.
  2. Daftar Puskesmas di Indonesia: Kondisi Juni 2014 [List of Puskesmas in Indonesia: June 2014 Conditions] (PDF) (ภาษาอินโดนีเซีย), Kementerian Kesehatan [Ministry of Health], คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 September 2015, สืบค้นเมื่อ 4 September 2015
  3. External Assessment of Canadian CIDA-Supported Safe Motherhood Programme (PDF) (Report). April 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-06-07 – โดยทาง www.unicef.org.