บริการสุขภาพในประเทศอินโดนีเซีย

บริการสุขภาพในประเทศอินโดนีเซียถือว่าได้พัฒนาขึ้นอย่างมากในทศวรรษที่ผ่านมา งบประมาณด้านบริการสุขภาพของรัฐบาลคิดเป็น 3.1% ของจีดีพีรวมในปี 2018[1]

โรงพยาบาล ดร. จิปโต มังงูนกูซูโม (Dr. Cipto Mangunkusumo Hospital) โรงพยาบาลแห่งชาติของรัฐบาลและโรงพยาบาลฝึกสอนของมหาวิทยาลัยอินโดนีเซียในจาการ์ตา

การจัดการ แก้

ข้อมูลจากปี 2019 ระบุว่าปัจจุบันมีโรงพยาบาล 2,813 แห่งในประเทศอินโดนีเซีย ในจำนวนนี้ 63.5% เป็นโรงพยาบาลที่บริหารงานโดยเอกชน[2] ในปี 2012 ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย ระบุว่าประเทศอินโดนีเซียมีโรงพยาบาลจำนวน 2,454 แห่งทั่วประเทศ และจำนวนเตียง 305,242 เตียง หรือคิดเป็น 0.9 เตียงต่อประชากร 1,000 คน และโรงพยาบาลส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตเมือง (urban areas)[3][4] ข้อมูลจากธนาคารโลกเมื่อปี 2012 ระบุว่ามีจำนวนแพทย์ 0.2 คนต่อประชากร 1,000 คน และพยาบาลหรือผู้ผดุงครรภ์ (midwives) 1.2 คนต่อประชากร 1,000 คนในประเทศอินโดนีเซีย[4] จากจำนวนโรงพยาบาล 2,454 แห่งทั่วประเทศ มีโรงพยาบาล 20 แห่งที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการร่วมรับรองมาตรฐานสถานพยาบาลสากล (Joint Commission International - JCI) ในปี 2015[5] นอกจากโรงพยาบาลแล้ว ยังมีปูสเกสมาส (Puskesmas) หรือศูนย์สุขภาพชุมชนจำนวน 9,718 แห่งของรัฐบาลที่ดูแลโดยกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถครอบคุลมบริการสุขภาพและการให้วัคซีนแก่ประชาชนในระดับตำบล (sub-district level) ซึ่งมีทั้งบริการทางการแพทย์แบบสมัยใหม่และแบบดั้งเดิม

ระบบสุขภาพชุมชนของประเทศอินโดนีเซียนั้นบริหารโดยแบ่งออกเป็นสามระดับ โดยมีปูสเกสมาส (Puskesmas) หรือศูนย์สุขภาพชุมชนอยู่ระดับบนสุด, รองลงมาในระดับที่สองคือ ศูนย์สุขภาพขนาดย่อม (Health Sub-Centres) และมีจุดบริการร่วมระดับหมู่บ้าน (Village-Level Integrated Posts) เป็นบริการในระดับสาม[6]

ประกันสุขภาพถ้วนหน้า แก้

 
ปูสเกสมาส (Puskesmas) หรือสถานพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก

ในปี 2010 ประชากรอินโดนีเซียประมาณ 56% ที่มีประกันสุขภาพคุ้มครอง ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการของรัฐ, ผู้มีรายได้ต่ำ และผู้ทำประกันสุขภาพกับบริษัทเอกชนด้วยตนเอง มีการตั้งเป้าที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 100% ของประชากรภายในปี 2019 ด้วยการดำเนินระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (universal social health insurance coverage) ซึ่งเริ่มต้นในปี 2014 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การบริการทางการแพทย์โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในโณงพยาบาลระดับ 3[7]

การบริหารบริการสุขภาพในประเทศอินโดนีเซียนั้นดั้งเดิมแล้วเป็นแบบแยกส่วน (fragmented) โดยมีผู้ให้บริการประกันสุขภาพของเอกชนสำหรับผู้ที่มีทุนทรัพย์ ควบคู๋ไปกับประกันสุขภาพถ้วนหน้าสาธารณะขั้นพื้นฐาน สำหรับผู้ยากไร้อนาถาในสังคม และกิจกรรมของเอ็นจีโอในพื้นที่พิเศษที่ไม่ได้รับการครอบคลุมไว้ในประกันสุขภาพของสาธารณะหรือเอกชน ในเดือนมกราคม 2014 รัฐบาลได้ริเริ่มระบบ จามินาน เกเซฮาตาน เนซันนาล (Jaminan Kesehatan Nasional; JKN) ประกันสุขภาพถ้วนหน้าของรัฐบาล เป็นที่คาดการณ์ว่าค่าใช้จ่ายส่วนการบริการสุขภาพจะเพิ่มขึ้น 12% ต่อปี และจะอยู่ที่ 46 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2019[8] ภายใต้ระบบ JKN ประชาชนอินโดนีเซียทุกคนจะได้รับการครอบคลุมค่าการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐและเอกชนบางส่วนที่เข้าร่วมโครงการ อย่างไรก็ตามโครงการนี้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากถึงความกระเสือกกระสนที่เกินจริง (over-ambitious), ขาดความสามารถในการบริหาร (lack of competency in administration) และล้มเหลวในการเข้าถึงความต้องการการปรับปรุงสาธารณูปโภคทางการแพทย์ในพื้นที่ทุรกันดาร (failure to address the need for improving healthcare infrastructure in remote areas) หน่วยงานที่บริหารโครงการนี้โดยตรง บาดาน ปันเยเลงงารา จามินาน โซเซียล เกเซฮาตาน (Badan Penyelenggara Jaminan Sosial Kesehatan; BPJS) หน่วยงานด้านประชาสังคมของประเทศระบุว่า JKN บรรลุเป้าหมายจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการที่ตั้งไว้ในปีแรก โดยในปีแรกมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมประกันสุขภาพนี้ 133.4 ล้านคน เทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 121.6 คน ในผลสำรวจอิสระพบว่าความพึงพอใจจากการได้รับบริการอยู่ที่ 81%, ความตระหนักหรือรับรู้ถึง JKN อยู๋ที่ 95% และข้อตำหนิต่าง ๆ ได้รับการแก้ไขปรับปรุงภายในหนึ่งวันครึ่งโดยเฉลี่ย JKN นั้นตั้งเป้าว่าจะบริหารงานเป็นขั้น ซึ่งขั้นเริ่มแรกได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนมกราคม 2014 ที่ซึ่งประชากร 48% ได้เข้าร่วมโครงการ ข้อมูลเมื่อเดือนเมษายน 2018 มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้ว 195 ล้านคน (75% ของประชากร)[9] เป็นที่ตั้งเป้าไว้ว่าประชากรทั้งหมดทุกคนจะอยู่ภายใต้ประกันสุขภาพนี้ภายในปี 2019[10][11]

ในปี 2016 โครงการของ BPJS ขาดทุนมากกว่าหกล้านล้านรูปียะฮ์อินโดนีเซีย และเพิ่มสูงเป็น 32 ล้านล้านในระยะเวลาเพียงสามปี[12] การรับมือต่อปัญหานี้ของรัฐบาลด้วยการปรับนโยบาย ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการผลักภาระไปยังผู้มีรายได้ปานกลางไปถึงต่ำ[13][14][15]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "WHO - Indonesia". Who.int. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
  2. "Health Minister Vows to Fast-Track Private Hospital Permits". Jakarta Globe. สืบค้นเมื่อ 6 November 2019.
  3. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-12. สืบค้นเมื่อ 2015-11-15.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-09. สืบค้นเมื่อ 2015-11-15.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  5. "JCI Indonesia". Jointcommissioninternational.org. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
  6. "Indonesia - HEALTH". Countrystudies.us. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
  7. "Analysis: Indonesia: The health of the nation". The Jakarta Post. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
  8. Britnell, Mark (2015). In Search of the Perfect Health System. London: Palgrave. p. 47. ISBN 978-1-137-49661-4.
  9. Hereyanto, Devina (7 April 2018). "Q&A BPJS Kesehatan, health for all Indonesians". Thejakartapost.com. สืบค้นเมื่อ 10 May 2018.
  10. Razavi, Lauren (15 May 2015). "Indonesia's universal health scheme: one year on, what's the verdict?". Theguardian.com. สืบค้นเมื่อ 15 May 2015.
  11. "Indonesia launches world's largest health insurance system". Christian Science Monitor. 10 March 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
  12. https://nasional.kompas.com/read/2019/09/08/22350731/tunggakan-iuran-capai-15-triliun-peserta-mandiri-bpjs-kesehatan-diharapkan?page=all
  13. https://kumparan.com/kumparannews/bpjs-watch-soal-kenaikan-iuran-bukan-solusi-justru-membebani-rakyat-1sAtBegRilG
  14. https://nasional.okezone.com/read/2019/09/07/337/2101757/kenaikan-iuran-bpjs-kesehatan-solusi-mudah-yang-membebani-rakyat
  15. https://www.suara.com/news/2019/09/06/190250/soal-bpjs-naik-gerindra-mentang-mentang-menang-sekarang-bebani-rakyat