กวิตา เทวี (นักข่าว)

(เปลี่ยนทางจาก Kavita Devi (journalist))

กวิตา เทวี (อักษรโรมัน: Kavita Devi) หรือ กวิตา พุนเทลขัณฑี (อักษรโรมัน: Kavita Bundelkhandi)[1][2] เป็นนักข่าวและผู้ประกาศข่าวชาวอินเดีย[3] บรรณาธิการบริหารและผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายเฟมินิสต์รากหญ้า ขบัร ลหริยา[2][4] เธอเป็นบุคคลจากชนชั้นล่าสุดของวรรณะ ทลิต คนแรกที่ได้เป็นสมาชิกของสหพันธ์บรรณาธิการอินเดีย (Editor's Guild of India)[3]

กวิตา พุนเทลขัณฑี
เกิดกวิตา เทวี
อำเภอจิตรกูต รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
อาชีพบรรณาธิการบริหาร และ ผู้ประกาศข่าว ขบัร ลหริยา
รางวัลรางวัลสตรีวิชาชีพสื่อโดดเด่นจาเมลี เทวี ไชนะ (เป็นหมู่คณะ)

ประวัติ แก้

กวิตา เทวี เกิดในหมู่บ้านในชนบทห่างไกลที่ชื่อกุนชันปูรวะ (Kunjan Purwa)[5] ใกล้กับเมืองบันดา รัฐอุตตรประเทศ ในครอบครัวชาวนาทลิต[2][6] เธอเป็นลูกคนโตสุดในหกคน[5] she was married off at the age of 12 and received no formal education.[7] เธอเป็นสตรีคนแรกของหมู่บ้านที่ได้เข้ารับการศึกษาในระบบ[8] เธอศึกษาต่อจนจบการศึกษาสูงสุดปริญญาโทศิลปศาสตร์ด้านวารสารศาสตร์[6]

เทวีเริ่มต้นทำงานให้กับจดหมายข่าวขนาดย่อม มหิลทยิกา (Mahila Dakiya) ถือเป็นจุดเริ่มต้นในสายงานข่าวของเธอ[3][6] ในปี 2002[8] เธอได้ร่วมก่อตั้ง ขบัร ลหริยา ร่วมกับสตรีอีกเจ็ดคน ภายในีการสนับสนุนของ NGO ชื่อนิรันตัร (Nirantar)[9] และเงินทุนสนับสนุนโดยทรัสต์โดราบจี ตาตา, มูลนิธิแห่งชาติอินเดีย (National Foundation of India) และมูลนิธิทลิต (Dalit Foundation)[10][11] ในปี 2004 คณะนักข่าวประจำ ขบัร ลหริยา ได้รับรางวัลสตรีในวิชาชีพสื่อโดดเด่นจาเมลี เทวี ไชนะ[9] ในปี 2014 สำนักข่าวมีเจ้าหน้าที่ข่าวเป็นสตรีราว 40 คน[12] สำนักข่าว ขบัร ลหริยา ได้รับการกล่าวถึงโดย บิสซิเน็สสแตนดาร์ด ว่าเป็นกระดูกสันหลังของผู้คนยากจนในภูมิภาคห่างไกลพุนเทลขัณฑ์ และ อาวาธ (Awadh) ในรัฐอุตตรประเทศ และ รัฐพิหาร[13]

เธอเคยดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในหน่วยงานอื่น ๆ เช่น เป็นบรรณาธิการให้กับบันดาเอดิชั่น (Banda edition)[14] และเป็นนักข่าวภาคสนามลุยเดี่ยว[7] นอกจากนี้เธอยังจัดรายการข่าวและวิจารณ์ชื่อว่า The Kavita Show บนโทรทัศน์นับตั้งแต่ปี 2019[6][15] ในปีเดียวกัย เธอยังมีโอกาสได้ขึ้นพูดในเท็ด ซึ่งนำให้เธอกลายมาเป็นที่สนใจมากขึ้นในวงกว้าง[16] รวมถึงได้รับการกล่าวขานจากเซเลบบริตีชาวอินเดีย ชาห์ รุข ข่าน ว่าเธอนั้นเป็น "แรงบันดาลใจให้กับเราทุกคน"[17]

อ้างอิง แก้

  1. Bhandare, Namita (2020-10-16). "A model for rooted, inclusive journalism". Hindustan Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-25.
  2. 2.0 2.1 2.2 Pande, Pooja (2020). Momspeak: The Funny, Bittersweet Story of Motherhood in India (ภาษาอังกฤษ). Penguin Books. ISBN 978-0-14-349778-3.
  3. 3.0 3.1 3.2 Murti, Aditi (2020-10-31). "Tell Me More: Talking Media Ethics and Representation With Kavita Devi". The Swaddle (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-11-24.
  4. "Kavita Devi on the jobs that will define India's future". Quartz India (ภาษาอังกฤษ). 12 February 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-11-24.
  5. 5.0 5.1 Dhamini, Ratnam (2019-11-09). "'People wouldn't think of me as a journalist': Kavita Devi, editor-in-chief, Khabar Lahariya". Hindustan Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-24.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Hazra, Nivedita (2019-11-10). "In Conversation With Kavita Devi: The Editor-In-Chief Of Khabar Lahariya". FII English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-11-26.
  7. 7.0 7.1 Kotamraju, Priyanka (27 June 2017). "A reporter's notebook". Business Line (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-24.
  8. 8.0 8.1 Gupta, Neha (2019-09-23). "Women in News panel discusses impact of 'Me Too' in Indian newsrooms". WAN-IFRA (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-11-24.
  9. 9.0 9.1 Katakam, Anupam (25 April 2008). "Making news". Frontline (ภาษาอังกฤษ). The Hindu. สืบค้นเมื่อ 2020-11-26.
  10. Gahilote, Prarthana (2 April 2004). "Khabar Lahariya: When six women started a wave". The Hoot. สืบค้นเมื่อ 2020-11-26.
  11. Chakraborty, Sanghamitra (1 November 2004). "Mother India". Outlook India. สืบค้นเมื่อ 2020-11-26.
  12. Ratnam, Dhamini (2019-11-09). "Small-town newsrooms fail to provide equal space to women". Hindustan Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-26.
  13. "Khabar Lahariya: Making rural media a force for change (Media Feature)". Business Standard India. Indo-Asian News Service. 2014-03-02. สืบค้นเมื่อ 2020-11-26.
  14. Pande, Manisha (2012-11-10). "Writing from the roots". Business Standard. สืบค้นเมื่อ 2020-11-26.
  15. "A video featuring a 'witch' goes viral with seeming complicity from the police and press in UP's Banda". Firstpost. 2018-08-14.
  16. "कविता गुनगुना रहीं बुंदेलखंडी हक की 'लहरिया'". Dainik Jagran (ภาษาฮินดี). 6 November 2019.
  17. ""Kavita Devi is an inspiration for all of us" says Shah Rukh Khan on TED Talks India Nayi Baat". Telly Chakkar (ภาษาอังกฤษ). 8 November 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-11-26.