สิ่งปลูกสร้างกาลัมบอ

(เปลี่ยนทางจาก Kalambo structure)

สิ่งปลูกสร้างกาลัมบอ (อังกฤษ: Kalambo structure) เป็นสิ่งปลูกสร้างไม้สมัยยุคหินเก่าตอนล่าง ที่ซึ่งค้นพบอยู่สองชิ้นควบคู่กับเครื่องมือไม้อื่น ๆ ที่แหล่งขุดค้นทางโบราณคดีในน้ำตกกาลัมบอ ประเทศแซมเบีย ถือเป็นสิ่งปลูกสร้างไม้ที่เก่าแก่ที่สุดที่มีการค้นพบ ประมาณอายุอยู่ที่ 476,000 ปี โดยการตรวจวัดอายุโดยตรวจการเรืองแสง ซึ่งเก่าแก่กว่า Homo sapiens[1][2][3]

สิ่งปลูกสร้างกาลัมบอ
ที่ตั้งน้ำตกกาลัมบอ
ภูมิภาคทะเลสาบตังงันยีกา
ความยาว>141.3 cm
ความเป็นมา
ผู้สร้างHomo heidelbergensis?
วัสดุไม้
สร้างป. 476,000
สมัยยุคหินตอนต้น
วัฒนธรรมอะชีวเลียน
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
ขุดค้น2019
ผู้ขุดค้นBarham, L., Duller, G.A.T., Candy, I. และคณะ

สิ่งปลูกสร้างนี้และเครื่องมือไม้ที่พบร่วมด้วยขุดค้นมาได้ในปี 2019 จากแหล่ง BLB รอบแม่น้ำกาลัมบอ ในพื้นที่ BLB5 ใต้แม่น้ำ และมีความสัมพันธ์กับโบราณวัตถุอะชีวเลียน การค้นพบนี้ถือว่าผิดแปลก เนื่องจากปกติไม้มักไม่สามารถอยู่รอดมาได้ยาวนานขนาดนี้ สมาชิกคณะขุดค้นที่ค้นพบวัตถุเหล่านี้เมื่อปี 2019 เจฟ ดัลเลอร์ (Geoff Duller) ระบุว่าด้วยระดับน้ำที่สูงและการทับถมของชั้นตะกอนที่เป็นลักษณะละเอียด (fine sediment) ช่วยปกคลุมไม้ไว้ได้[1][4]

ตัวโครงสร้างไม้สร้างมาจากท่อนไม้ของพืช large-fruited bushwillow (Combretum zeyheri) สองท่อนขัดกัน เชื่อมโดยใช้รอยบาก ไม้ท่อนเล็กความยาว 141.3 ซm (55.6 in) มีปลายเรียว (tapered ends) และรอบบากรูปตัวยู (U-shaped notch) ซึ่งเชื่อมเข้ากับท่อนไม้อันยาวกว่าด้านบน[1] ดัลเลอร์ระบุว่าโครงสร้างนี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของแท่นไม้ยกพื้นสำหรับเป็นทางเดิน เพื่อใช้เก็บอาหาร ไม้แห้งสำหรับทำฟืน หรืออาจเป็นฐานอาคารที่อยู่อาศัย การค้นพบนี้สามารถระบุว่ามนุษย์โฮมินินที่เคยอาศัยอยู่ที่น้ำตกกาลัมบอมีวิถีชีวิตที่มีการตั้งรกราก ซึ่งอาจท้าทายมุมมองต่อวิถีชีวิตของยุคหินว่ามีชีวิตแบบเร่ร่อนไม่ปักหลัก[4]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Barham, L.; Duller, G. a. T.; Candy, I.; Scott, C.; Cartwright, C. R.; Peterson, J. R.; Kabukcu, C.; Chapot, M. S.; Melia, F.; Rots, V.; George, N.; Taipale, N.; Gethin, P.; Nkombwe, P. (20 September 2023). "Evidence for the earliest structural use of wood at least 476,000 years ago". Nature (ภาษาอังกฤษ): 1–5. doi:10.1038/s41586-023-06557-9. ISSN 1476-4687.
  2. Callaway, Ewen (20 September 2023). "These ancient whittled logs could be the earliest known wooden structure". Nature (ภาษาอังกฤษ). doi:10.1038/d41586-023-02928-4. สืบค้นเมื่อ 22 September 2023.
  3. Sample, Ian (20 September 2023). "'Oldest wooden structure' discovered on border of Zambia and Tanzania". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 20 September 2023.
  4. 4.0 4.1 Katie Hunt. "'Extraordinary' structure has no real parallel in the archaeological record, scientists say". CNN.