คณะกรรมการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่

(เปลี่ยนทางจาก Joint POW/MIA Accounting Command)

คณะกรรมการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่ (อังกฤษ: Joint POW/MIA Accounting Command; อักษรย่อ: JPAC) เป็นกองกำลังเฉพาะกิจร่วมภายในกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (DoD) ซึ่งมีภารกิจในการค้นหาสำหรับชาวอเมริกันที่ถูกระบุว่าเป็นเชลยศึก (POW) หรือสูญหายในการปฏิบัติหน้าที่ (MIA) จากสงครามและความขัดแย้งในอดีตทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้ร่วมกันกับปัญหาเชลยศึกและผู้สูญหายของสงครามเวียดนาม ภารกิจของคณะกรรมการร่วมค้นหานี้ คือการบรรลุการค้นหาอย่างเต็มที่ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้สำหรับชาวอเมริกันทุกคนที่หายไปอันเป็นผลมาจากความขัดแย้งในอดีตของประเทศดังกล่าว[1] โดยมีคำขวัญคือ "จนกว่าพวกเขาจะกลับบ้าน"

เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2015 คณะกรรมการร่วมค้นหาดังกล่าวได้ถูกยับยั้งอย่างเป็นทางการโดยกระทรวงกลาโหม ความพยายามปฏิรูปของกระทรวงกลาโหมเกิดขึ้นหลังจากเรื่องอื้อฉาวที่น่าอับอายหลายครั้ง รวมถึงการเปิดเผยที่น่าอับอายในรายงานและคำให้การก่อนที่รัฐสภาจะเริ่มใน ค.ศ. 2013 เกี่ยวกับความล้มเหลวในการพยายามระบุผู้ที่เสียชีวิตจากสงครามที่หายไป ซึ่งคณะกรรมการร่วมค้นหา, สำนักงานเชลยศึกและกำลังพลผู้สูญหายของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (DPMO) และหน้าที่บางอย่างของห้องปฏิบัติการอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ชีวภาพของกองทัพอากาศสหรัฐ ได้ถูกรวมเข้ากับสำนักงานค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายของกระทรวงกลาโหมสหรัฐแห่งใหม่ทั้งหมด

โครงสร้าง แก้

คณะกรรมการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยรายงานโดยตรงที่ประจำอยู่ในหน่วยบัญชาการแปซิฟิกสหรัฐ ซึ่งมีกองบัญชาการตั้งอยู่ที่ฐานร่วมเพิร์ลฮาร์เบอร์–ฮิกแคม ในรัฐฮาวาย

คณะกรรมการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่รักษากองทหารถาวรในต่างประเทศสามกอง, กองทหารเฉพาะแห่งสองกอง, ดิแอนเนกซ์, ฐานทัพอากาศออฟัต รัฐเนแบรสกา และสำนักงานประสานงานของยุโรปซึ่งตั้งอยู่ที่คลังสรรพาวุธมีเซา ประเทศเยอรมนี โดยทั้งหมดทุ่มเทให้แก่ภารกิจต่อเนื่องของการค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งกองทหารแต่ละกองอยู่ภายใต้คำสั่งของนายทหารระดับสนามของกองทัพสหรัฐ

  • หน่วยเฉพาะกิจที่ 1 – กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย)[2]
  • หน่วยเฉพาะกิจที่ 2 – ฮานอย ประเทศเวียดนาม[3]
  • หน่วยเฉพาะกิจที่ 3 – เวียงจันทน์ ประเทศลาว
  • กองสืบสวนและส่งกลับ – ฐานร่วมเพิร์ลฮาร์เบอร์–ฮิกแคม เกาะโอวาฮู รัฐฮาวาย; กองนี้เป็นฐานหลักของทีมส่งกลับเมื่อไม่ได้กรีธาพล
  • กองบัญชาการ – เดอะเพนตากอน อาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย
  • คณะกรรมการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่ แอนเนกซ์ – ฐานทัพอากาศออฟัต รัฐเนแบรสกา; คณะกรรมการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่ แอนเนกซ์ ได้ทำการวิเคราะห์ทางมานุษยวิทยาและทันตกรรมจัดฟันเป็นประจำเพื่อระบุสมาชิกราชการที่หายไป
  • สำนักงานประสานงานของยุโรป – คลังสรรพาวุธมีเซา ประเทศเยอรมนี; ช่วยอำนวยความสะดวกในการวางแผน, การดำเนินการ, การสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุง และการบริหารสำหรับการปฏิบัติงานของคณะกรรมการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่ทั้งหมด ในพื้นที่รับผิดชอบของกองบัญชาการยุโรป
  • ส่วนห้องปฏิบัติการของคณะกรรมการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่เรียกว่าห้องปฏิบัติการพิสูจน์รูปพรรณกลาง (CIL)

ประวัติ แก้

  • ค.ศ. 1973: กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้จัดตั้งห้องปฏิบัติการพิสูจน์รูปพรรณกลาง–ประเทศไทย เพื่อประสานงานกับความพยายามในการกู้คืนเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • ค.ศ. 1976: กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้จัดตั้งห้องปฏิบัติการพิสูจน์รูปพรรณกลาง–รัฐฮาวาย เพื่อค้นหา, กู้คืน และระบุชาวอเมริกันที่หายไปจากความขัดแย้งก่อนหน้านี้ทั้งหมด
  • ค.ศ. 1992: กองกำลังเฉพาะกิจร่วม–ค้นหาเต็มรูปแบบ (JTF-FA) ได้รับการก่อตั้งขึ้นเพื่อมุ่งเน้นการบรรลุการค้นหาของชาวอเมริกันที่หายตัวไปจากสงครามเวียดนามอย่างเต็มที่
  • ค.ศ. 2002: กระทรวงกลาโหมสหรัฐพิจารณาแล้วว่าความพยายามในการกู้คืนเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่นั้นน่าจะทำได้ดีที่สุดโดยการรวมสองห้องปฏิบัติการพิสูจน์รูปพรรณกลางและกองกำลังเฉพาะกิจร่วม
  • 1 ตุลาคม ค.ศ. 2003: คณะกรรมการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นภายใต้การอุปถัมภ์ของผู้บัญชาการทหาร กองบัญชาการแปซิฟิก (CDRUSPACOM)

ปฏิบัติการ แก้

คณะกรรมการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่แบ่งออกเป็นสี่ส่วน ได้แก่ การวิเคราะห์และการสอบสวน, การกู้คืน, การระบุบุคคล และการปิดเรื่อง

การวิเคราะห์และการสอบสวน แก้

คณะกรรมการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้ตรวจสอบนำที่เกี่ยวข้องกับชาวอเมริกันที่เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ แต่ไม่เคยนำกลับบ้าน ซึ่งกระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานสหรัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการร่วมค้นหานี้ได้ดำเนินการเจรจาทางเทคนิคและพูดคุยกับตัวแทนของรัฐบาลต่างประเทศทั่วโลกเพื่อให้แน่ใจว่ามีการรักษาหรือสร้างเงื่อนไขในประเทศในเชิงบวก สำหรับการดำเนินการสืบสวนและส่งกลับของคณะกรรมการร่วมค้นหาดังกล่าว ในทุกที่ที่ทีมงานของคณะกรรมการร่วมค้นหาได้กรีธาพลในโลกนี้ โดยหากพบหลักฐานเพียงพอ ก็จะแนะนำสถานที่สำหรับการส่งกลับ

การกู้คืน แก้

 
สมาชิกกองเกียรติยศกองบัญชาการสหประชาชาติ (UNC) รับศพจากทหารกองทัพประชาชนเกาหลี ณ พื้นที่ความมั่นคงร่วม เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ.1998
 
ชาวลาวได้รับจ้างให้ช่วยกองทหารสหรัฐโดยร่อนแล้วขนดินจำนวนมากบนภูเขาใกล้เมืองเซโปน ประเทศลาว (เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2004) ภารกิจเฉพาะนี้เกี่ยวข้องกับการค้นหาซากศพมนุษย์ของลูกเรือเอฟ-4 แฟนทอม สองนายที่ตกหลังจากการทิ้งระเบิดถล่มเวียดนาม

คณะกรรมการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่มีทีมกู้คืน 18 ทีม ซึ่งสมาชิกได้เดินทางไปทั่วโลกเพื่อส่งกลับผู้ที่หายไปจากสงครามที่ผ่านมา ทีมกู้คืนทั่วไปประกอบด้วยคน 10 ถึง 14 คน นำโดยหัวหน้าทีมและนักมานุษยวิทยานิติเวช สมาชิกคนอื่น ๆ ในทีมมักประกอบด้วยทีมสิบเอก, นักภาษาศาสตร์, เมดิค, ช่างเทคนิคช่วยชีวิต, ช่างภาพนิติเวช, ช่างเทคนิค/ผู้ปฏิบัติงานด้านการสื่อสารระบบคลื่นความถี่วิทยุ และช่างเทคนิคหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด ตลอดจนมีการเพิ่มผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมในภารกิจตามความจำเป็น เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการปีนเขาหรือนักประดาน้ำ

ทีมดังกล่าวสำรวจพื้นที่อย่างระมัดระวังและคัดกรองดินเพื่อค้นหาซากและสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด โดยในกรณีที่เครื่องบินตก สถานที่การกู้อาจมีขนาดค่อนข้างใหญ่

เมื่อการกู้คืนเสร็จสิ้น ทีมงานก็กลับไปที่รัฐฮาวาย โดยซากและสิ่งประดิษฐ์ทั้งหมดที่พบในระหว่างปฏิบัติการกู้คืนได้รับการส่งจากเครื่องบินทหารของสหรัฐ หรือสายการบินส่วนตัวไปยังห้องปฏิบัติการพิสูจน์รูปพรรณกลางของคณะกรรมการร่วมค้นหา ซึ่งใช้เวลาเฉลี่ย 18 เดือนในการระบุตัวตน โดยบ่อยครั้งที่อ้างถึงสถิติของ 11 ปี รวมถึงวัสดุที่ได้รับการยอมรับอย่างเอาจริงเอาจัง (โดยเจตนา) จากการหมุนเวียนของกองทัพประชาชนเกาหลีในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 เมื่อไม่นานมานี้ วัสดุเหล่านี้ได้เริ่มรับการระบุโดยใช้เทคนิคดีเอ็นเอที่แตกต่างกันเท่านั้น

การระบุบุคคล แก้

เมื่อมาถึงที่ห้องปฏิบัติการ ซากและสิ่งประดิษฐ์ทั้งหมดที่กู้คืนจากสถานที่เกิดเหตุได้รับการลงนามในการดูแลของห้องปฏิบัติการพิสูจน์รูปพรรณกลาง และเก็บไว้ในพื้นที่ที่ปลอดภัย นักมานุษยวิทยานิติเวชจะวิเคราะห์ซากและสิ่งประดิษฐ์ทั้งหมดอย่างละเอียดถี่ถ้วนเพื่อระบุเพศ, เชื้อชาติ, อายุเมื่อเสียชีวิต และรูปร่างของบุคคล นักมานุษยวิทยายังวิเคราะห์การบาดเจ็บในเวลาที่เกิดขึ้นหรือใกล้เวลาที่เสียชีวิต และสภาพทางพยาธิวิทยาของกระดูก เช่น โรคข้ออักเสบหรือการพักรักษาตัวครั้งก่อน นักวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการระบุตัวตนชาวอเมริกันที่สูญหาย รวมถึงการวิเคราะห์โครงกระดูกและฟัน, การสุ่มตัวอย่างดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรีย (mtDNA) และการวิเคราะห์หลักฐานที่เป็นวัตถุ, ของใช้ส่วนตัว, อุปกรณ์ช่วยชีวิตสำหรับการบิน (อุปกรณ์ที่ใช้โดยลูกเรือ ได้แก่ หมวกกันน็อก, หน้ากากออกซิเจน, สายรัด ฯลฯ) หรืออุปกรณ์ทางทหารอื่น ๆ

บ่อยครั้ง สิ่งประดิษฐ์ทางการทหารและยุทโธปกรณ์ที่กู้คืนมาจะได้รับการส่งต่อไปยังห้องปฏิบัติการเครื่องมือชีววิทยาศาสตร์ (อักษรย่อ: LSEL; ซึ่งตั้งอยู่ที่ฐานทัพอากาศไรต์-แพตเตอร์สัน ในเดย์ตัน รัฐโอไฮโอ) ของกองทัพอากาศสหรัฐ เพื่อการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์และประวัติศาสตร์ขั้นสูง โดยห้องปฏิบัติการเครื่องมือชีววิทยาศาสตร์ (สถานที่อำนวยความสะดวกทางวิทยาศาสตร์ลักษณะเฉพาะในสหรัฐและทั่วโลก) มีคุณสมบัติเฉพาะตัวในการศึกษาสิ่งประดิษฐ์ยุทโธปกรณ์ที่กู้คืนมาได้ทางวิทยาศาสตร์ และกำหนดลักษณะทางนิติวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ซึ่งรวมถึง แต่ไม่จำกัดเพียงจำนวนกำลังพลที่ยังไม่ได้รับการรายงาน ณ จุดเกิดเหตุ (เช่น นักบิน 2 นาย), เหล่าของการรับราชการทหารที่เป็นตัวแทน (เช่น กองทัพเรือ), ประเภทยานพาหนะที่เป็นตัวแทน (เช่น รูปแบบอากาศยานเอฟ-4), กรอบเวลาที่แสดง (เช่น ค.ศ. 1967) และการแสดงระดับของการไม่อยู่รอดหรือความอยู่รอด (เช่น หลักฐานใด ๆ ของสถานะการเสียชีวิต หรือไม่ถึงตาย) ซึ่งบ่อยครั้ง ห้องปฏิบัติการเครื่องมือชีววิทยาศาสตร์สามารถให้การพิจารณากรณีที่สำคัญ (ผ่านการวิเคราะห์สิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ที่กู้คืน) เมื่อหลักฐานที่สำคัญอื่น ๆ (เช่น ซากศพมนุษย์ อย่างกระดูกหรือฟัน) ไม่ได้รับการกู้คืนหรือหาได้ และ/หรือไม่ได้ให้ข้อสรุปที่สำคัญใด ๆ จากการพิสูจน์ (เช่น การตรวจดีเอ็นเอ)

การปิดเรื่อง แก้

กระบวนการกู้คืนและระบุตัวตนอาจใช้เวลาหลายปีกว่าจะเสร็จสมบูรณ์ เวลาระบุโดยเฉลี่ยของห้องปฏิบัติการพิสูจน์รูปพรรณกลางของคณะกรรมการร่วมค้นหาคือ 18 เดือน โดยไม่รวมเศษซากที่ปะปนอยู่จำนวนมากที่เกาหลีเหนือได้ส่งไป หลังจากที่ศพมาถึงห้องปฏิบัติการ หลักฐานแต่ละสายแยกได้รับการตรวจสอบที่ห้องปฏิบัติการพิสูจน์รูปพรรณกลาง (หลักฐานกระดูก, ฟัน และวัสดุ) และสัมพันธ์กับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งหมด รายงานทั้งหมดผ่านกระบวนการตรวจสอบโดยผู้รู้เสมอกันที่ละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบจากภายนอกโดยผู้เชี่ยวชาญอิสระ นอกจากนี้ หากดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรียเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ การค้นหาตัวอย่างอ้างอิงครอบครัวสำหรับการเปรียบเทียบดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรียจะเพิ่มเวลาอย่างมากในกระบวนการระบุตัวตน เนื่องจากการสร้างฐานข้อมูลดีเอ็นเอไม่ใช่ขอบเขตของคณะกรรมการร่วมค้นหา ส่วนเคสที่เสร็จสิ้นแล้วถูกส่งไปยังสำนักงานการศพที่เหมาะสม ซึ่งสมาชิกได้แจ้งให้สมาชิกในครอบครัวที่เป็นญาติสนิททราบเป็นการส่วนตัว

ความพยายามที่ยังดำเนินอยู่ แก้

 
พลเรือตรีหญิง ดอนนา คริสป์ แห่งกองทัพเรือ ผู้บัญชาการคณะกรรมการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ขณะพูดคุยกับประธานาธิบดี แคลโคต แมทัสเคเลเคเล แห่งประเทศวานูวาตูในพิธีส่งตัวกลับประเทศเมื่อ ค.ศ. 2009

คณะกรรมการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้ดำเนินการหลายภารกิจในแต่ละปีด้วยความพยายามอย่างต่อเนื่อง ซึ่งภารกิจต่อปีสำหรับบุคคลที่หายไปในสงครามแต่ละครั้ง ได้แก่:

ใน ค.ศ. 2007 ทีมคณะกรรมการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่ซึ่งนำโดยพันตรี ฌอน สตินชอน ได้ไปเยือนอิโอ โท (เดิมชื่ออิโวะจิมะ)[4] เพื่อตามล่าหาศพของนายจ่านาวิกโยธิน บิล เจอเนาต์ เขาเป็นช่างภาพการรบของนาวิกโยธิน (ตากล้องภาพเคลื่อนไหว) ซึ่งยืนอยู่ข้างโจ โรเซนธัล ผู้ถ่ายทำการปักธงที่อิโวะจิมะระหว่างการบุกครองเกาะในสงครามโลกครั้งที่สอง ทางทีมได้ระบุทางเข้าถ้ำที่เป็นไปได้สองทางที่อาจมีศพของเจอเนาต์ โดยทีมคณะกรรมการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่หวังที่จะกลับมาและค้นหาอุโมงค์อย่างถูกต้องเพื่อค้นหาศพของนายจ่าเจอเนาต์ รวมถึงของบรรดาทหารนาวิกโยธินที่ยังไม่ได้รับการระบุ[5]

อ้างอิง แก้

  1. "JPAC mission statement". Joint POW/MIA Accounting Command. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2006.
  2. "Joint POW/MIA Accounting Command (JPAC)". Embassy of the United States: Bangkok, Thailand. U.S. Department of State. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 December 2012. สืบค้นเมื่อ 14 December 2012.
  3. "Joint POW/MIA Accounting Command". Embassy of the United States: Hanoi, Vietnam. U.S. Department of State. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2008. สืบค้นเมื่อ 14 December 2012.
  4. "'Until They are Home:' Iwo Jima search latest in U.S. effort to account for all MIAs". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 9 July 2007.
  5. Lucas, Dean. "Famous Pictures Magazine – Iwo Jima". สืบค้นเมื่อ 9 July 2013.

แหล่งที่มา แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้