แจนิส จอปลิน

(เปลี่ยนทางจาก Janis Joplin)

แจนิส ลิน จอปลิน (อังกฤษ: Janis Lyn Joplin; 19 มกราคม ค.ศ. 1943 – 4 ตุลาคม ค.ศ. 1970) เป็นนักร้อง-นักแต่งเพลง ชาวอเมริกัน ร้องเพลงในแนวร็อก, โซล และบลูส์ เธอถือเป็นหนึ่งในร็อกสตาร์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในยุคนั้น เป็นที่รู้จักจากการมีเสียงเมซโซ-โซปราโนอันทรงพลัง[1] และการแสดงบนเวทีได้อย่างน่าตื่นเต้น[2][3][4]

แจนิส จอปลิน
แจนิส จอปลิน เมื่อปี 1970
เกิดแจนิส ลิน จอปลิน
19 มกราคม ค.ศ. 1943(1943-01-19)
พอร์ทอาร์เทอร์ รัฐเท็กซัส สหรัฐ
เสียชีวิตตุลาคม 4, 1970(1970-10-04) (27 ปี)
ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
สาเหตุเสียชีวิตเฮโรอีนเกินขนาด
สุสานเถ้ากระดูกถูกนำไปกระจายอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก
ชื่ออื่นเพิร์ล
การศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีลามาร์, มหาวิทยาลัยเท็กซัสแอทออสติน, วิทยาลัยพอร์ทอาร์เธอร์
อาชีพนักร้อง-นักแต่งเพลง
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรี
ช่วงปี1962–1970
ค่ายเพลงโคลัมเบียเรเคอดส์
เว็บไซต์janisjoplin.com
ลายมือชื่อ

ปี ค.ศ. 1967 จอปลินมีชื่อเสียงจากการปรากฏตัวในเทศกาลมอนเทอเรย์พอป ที่ตอนนั้นเธอเป็นนักร้องนำวงแนวไซเคเดลิกร็อก ที่ชื่อ บิกบราเทอร์แอนด์เดอะโฮลดิงคอมแพนีจากซานฟรานซิสโกที่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก[5][6][7] หลังจากออกอัลบัมสองชุดกับวง เธอก็ออกจากวงมาเป็นศิลปินเดี่ยว โดยมีทีแบ็กอัปของตัวเอง วงแรกชื่อ คอซมิกบลูส์ วงต่อมาชื่อ ฟูลทิลต์บูกีแบนด์ เธอปรากฏตัวในเทศกาลวูดสต็อก และ เฟสติวัลเอกซ์เพรส จอปลินมี 5 ซิงเกิลที่ติดชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 รวมถึงซิงเกิลคัฟเวอร์เพลงของคริส คริสตอฟเฟอร์สันที่ชื่อ "Me and Bobby McGee" ขึ้นอันดับ 1 เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1971[8] เพลงของเธอที่ได้รับความนิยม รวมถึงเพลงฉบับคัฟเวอร์อย่าง "Piece of My Heart", "Cry Baby", "Down on Me", "Ball and Chain" และ "Summertime" ส่วนเพลงของเธอเอง "Mercedes Benz" ถือเป็นเพลงที่บันทึกเสียงเพลงสุดท้ายของเธอ[9][10]

จอปลินเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเสพเฮโรอีนเกินขนาดเมื่อปี ค.ศ. 1970 ด้วยวัย 27 ปี หลังออกอัลบัมสามชุด ส่วนอัลบัมชุดที่ 4 Pearl ออกเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1971 สามเดือนหลังเธอเสียชีวิต สามารถขึ้นชาร์ตบิลบอร์ดที่อันดับ 1 ได้ ชื่อของเธอถูกบันทึกไว้ในหอเกียรติยศร็อกแอนด์โรลหลังจากเธอเสียชีวิต ในปี ค.ศ. 1995 นิตยสาร โรลลิงสโตน ยกให้เธออยู่อันดับ 26 ใน รายชื่อ 100 ศิลปินที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล เมื่อปี ค.ศ. 2004[11] และอยู่อันดับ 28 ของรายชื่อ 100 อันดับ นักร้องที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล เธอยังถือเป็นหนึ่งในนักดนตรีของสหรัฐที่มียอดขายสูงสุด จากข้อมูลของสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา ยืนยันยอดขายอัลบัมที่ 15.5 ล้านชุด[12]

อ้างอิง แก้

  1. Bennett, Gloria. "Vocal technique. Breaking through. From rock to opera, the basic technique of voice". สืบค้นเมื่อ September 10, 2013.
  2. Mark Kemp. "Janis Joplin Biography". rollingstone.com.
  3. Gillian G. Gaar. "Janis Joplin". {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |encyclopedia= ถูกละเว้น (help)
  4. "Janis Joplin". rockhall.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-12.
  5. "Women Who Rock: Greatest Breakthrough Moments 1967 Janis Joplin takes a piece of our heart". rollingstone.com. June 22, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-12. สืบค้นเมื่อ 2020-02-04.
  6. Jen Yamato (November 21, 2015). "The Secret Life of Janis Joplin: A Girl, Interrupted". thedailybeast.com.
  7. Wayne Robins (March 31, 2016). A Brief History of Rock, Off the Record. Routledge. pp. 111–112. ISBN 9781135923464.
  8. "Janis Joplin". billboard.com.
  9. "The 10 best Janis Joplin songs". telegraph.co.uk. September 23, 2015.
  10. Michael Gallucci. "Top 10 Janis Joplin Songs". ultimateclassicrock.com.
  11. "100 Greatest Artists of All Time". Rolling Stone. June 11, 2009. สืบค้นเมื่อ June 13, 2010.
  12. "TOP ARTISTS (ALBUMS)". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ September 6, 2015.