ขยะเข้าขยะออก

(เปลี่ยนทางจาก GIGO)

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ ขยะเข้าขยะออก (อังกฤษ: garbage in, garbage out ย่อว่า GIGO หรือ rubbish in, rubbish out ย่อว่า RIRO) เป็นหลักการที่ว่าหากข้อมูลป้อนเข้าเป็นข้อมูลที่ผิดพลาดหรือไร้ความหมาย (เป็นขยะ) การประมวลผลก็จะนำมาซึ่งข้อมูลส่งออกที่ปราศจากความหมายเช่นกัน GIGO พบได้บ่อยกว่า RIRO ซึ่งให้ความหมายเดียวกัน[1][2][3]

ประวัติ แก้

สำนวนนี้เป็นที่นิยมตั้งแต่ช่วงแรกของยุคคอมพิวเตอร์ การใช้ในครั้งแรกพบได้ในบทความหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับนักคณิตศาสตร์ในกองทัพบกสหรัฐและงานของพวกเขาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ยุคแรกเมื่อ ค.ศ. 1957[4] ในบทความดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญของกองทัพบกสหรัฐนามว่า William D. Mellin อธิบายว่าคอมพิวเตอร์ไม่สามารถคิดเองได้ และข้อมูลป้อนเข้าที่โปรแกรมไว้อย่างงุ่มง่ามก็จะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้องในที่สุด หลักการพื้นฐานดังกล่าวนี้ได้ถูกบันทึกไว้โดยผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ชนิดที่เขียนโปรแกรมได้เครื่องแรกของโลกดังนี้:

On two occasions I have been asked, "Pray, Mr. Babbage, if you put into the machine wrong figures, will the right answers come out?" ... I am not able rightly to apprehend the kind of confusion of ideas that could provoke such a question.

— Charles Babbage, Passages from the Life of a Philosopher[5]

การนำไปใช้ แก้

สำนวนนี้สามารถใช้อธิบายคุณภาพของเสียงหรือวีดิทัศน์ในไฟล์ดิจิทัลที่ต่ำได้ แม้ว่ากระบวนการแปลงสื่อให้เป็นรูปแบบดิจิทัลจะเป็นขั้นแรกเพื่อการเพิ่มคุณภาพสัญญาณ แต่ว่ากระบวนการแปลงเป็นดิจิทัลเองนั้นมิได้เพิ่มคุณภาพ ข้อบกพร่องที่มีอยู่เดินในสัญญาณแบบอะนาล็อกจะถูกบันทึกอย่างเที่ยงตรง แต่อาจถูกกำจัดออกไปในขั้นตอนต่อมาคือการประมวลผลสัญญาณดิจิทัล

GIGO ใช้อธิบายความผิดพลาดในการตัดสินใจของมนุษย์ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ไม่ครบถ้วน หรือไม่แม่นยำ

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Demming, Anna (2019-06-30). "Machine learning collaborations accelerate materials discovery". Physics World (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-09-18.
  2. Adair, John (2009-02-03). The Art of Creative Thinking: How to be Innovative and Develop Great Ideas (ภาษาอังกฤษ). Kogan Page Publishers. ISBN 9780749460082.
  3. Fortey, Richard (2011-09-01). Survivors: The Animals and Plants that Time has Left Behind (Text Only) (ภาษาอังกฤษ). HarperCollins UK. pp. 23, 24. ISBN 9780007441389.
  4. "Work With New Electronic 'Brains' Opens Field For Army Math Experts". The Hammond Times. 10 November 1957. p. 65. สืบค้นเมื่อ March 20, 2016 – โดยทาง Newspapers.com.
  5. Babbage, Charles (1864). Passages from the Life of a Philosopher. Longman and Co. p. 67. OCLC 258982.